Finance

สงครามเดือด!! แบงก์เปิดศึกฟรีค่าธรรมเนียม

ฟรีค่าธรรมเนียม

การที่ธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ ต่างประกาศหั่นค่าธรรมเนียม (ค่าฟี) ในระบบออนไลน์กันอย่างคึกคักสะท้อนให้เห็นว่าสงครามค่าฟีปะทุอย่างดุเดือด และไม่เพียงผลกระทบจะเกิดขึ้นกับสถาบันการเงินเท่านั้น ยังกระทบวงกว้างไปยังบริษัทจดทะเบียนบางแห่ง โดยเฉพาะบริษัทดำเนินธุรกิจประเภทเป็นผู้ให้บริการรับชำรำะเงินค่าสินค้าและบริการ ผ่าน counter service อีกด้วย

นักวิเคราะห์ ประเมินผลกระทบความสามารถในการทำกำไรธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเชื่อว่าจำทำให้ประมาณการกำไรปีนี้ ลดลง 3-5% รวมทั้งบริษัทจดทะเบียนที่จะได้รับผลกระทบในครั้งนี้ด้วย เช่น บริษัทซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL และ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ FSMART ซึ่งเป็นผู้ให้บริการออนไลน์ เนื่องจากลูกค้าจะให้ความสนใจบริการออนไลน์ของแบงก์มากขึ้น และนักวิเคราะห์คาดว่าจะกระทบกับกำไรปีนี้ราว 5%

บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) เชื่อว่ากรณีฟรีค่าธรรมเนียมเป็นลบระยะสั้นต่อกลุ่มธนาคาร แต่จะดีในระยะยาว ซึ่ง 3 เหตุผลที่มีมุมมองเป็น “ลบช่วงสั้น” ต่อการประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียมธุรกรรมทางการเงินของ SCB, KBANK และ KTB ผ่าน Mobile application เพราะ

1) โปรแกรมดังกล่าวได้จำกัดวงเงินโอนข้ามธนาคาร และกำหนดกรอบเวลาโครงการจนถึงสิ้นปีนี้เท่านั้น

2) กรณีฐาน หากคงรายได้ค่าธรรมเนียมทรงตัวจากปีก่อนหน้า กระทบต่อประมาณการกำไรปี 2561 เพียง 3% แต่

3) ระยะยาวเรามองเป็นบวก เพราะแนวทางดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนสาขา ต้นทุนจัดการเงินสด และป้องกันภัยคุกคามจาก E-wallet และ National e-payment

4) ธนาคารสามารถเรียนรู้พฤติกรรมลูกค้าจากรายการดังกล่าว เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการ เพื่อสร้างรายได้ค่าธรรมอื่นมาชดเชยค่าธรรมเนียมส่วนนี้ได้

ฝ่ายวิจัย มีมุมมองเชิงลบต่อประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมธุรกรรมทางการเงิน (Transactional fees) เพราะส่งผลกระทบต่อรายได้ค่าธรรมเนียมบริการ (Net Fees and service income) ภายใต้สมมติฐานเบื้องต้นประเมินรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกรรมทางการเงินเป็นสัดส่วน 10% ของรายได้ค่าธรรมเนียมบริการทั้งหมด ผลกระทบนี้แบ่งเป็น 2 กรณี

กรณี 1 (กรณีฐาน) :รายได้ค่าธรรมเนียมบริการในปี 2561 ทำได้เพียงทรงตัวจากปีก่อนหน้า (เทียบกับสมมติฐานปัจจุบัน คาดรายได้ค่าธรรมเนียมเติบโต 5% จากปีก่อน) ส่งผลกระทบต่อประมาณการกำไรปี 2561 ของ KTB, KBANK และ SCB ราว 3% และราคาเป้าหมายของหุ้น KTB ลดลง 0.06 บาท, KBANK ลดลง 1.00 บาท และSCB ลดลง 0.50 บาท

กรณี 2 (กรณีเลวร้ายสุด) : หากธุรกรรมธนาคารถูกทำผ่าน Mobile application ทั้งหมด และธนาคารไม่สามารถเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวได้ทั้งจำนวน ส่งผลกระทบต่อประมาณการกำไรปี 2561 ของ KTB และ KBANK ราว 10% ส่วน SCB กระทบราว 8% และราคาเป้าหมายของ KTB ลดลง 0.20 บาท, KBANK 3.00 บาท และ SCB 1.50 บาท

ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยได้ให้นำหนักต่อ กรณีที่ 1 เป็นสำคัญ เพราะการใช้งาน Mobile application ณ ปัจจุบันกระจุกตัวในลูกค้าบางกลุ่ม อีกทั้งลูกค้าบางกลุ่มยังมีข้อจำกัดการใช้งาน หรือกังวลต่อความปลอดภัย Mobile application อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยมองว่าการยกเว้นค่าธรรมเนียมธุรกรรมเป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าหันไปใช้งาน Mobile application มากขึ้น ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานของธนาคารทางอ้อม โปรแกรมนี้มองว่า SCB จะได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเพราะก่อนหน้านี้ได้ทยอยยกเลิกค่าธรรมเนียมบางธุรกรรมไปบ้างแล้

 

ฟรีค่าธรรมเนียม

บล.บัวหลวง รายงานว่า เมื่อแบงก์พาณิชย์ KTB KBANK SCB BBL ประกาศ งดค่า Transaction fee / คาดเริ่มมีผลกระทบต่อกำไรตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 นี้เป็นต้นไป ซึ่งน่าจะกระทบต่อการปรับประมาณการณ์กาไรสุทธิลงเฉลี่ย 4.5-5% อิงจากสัดส่วนรายได้ค่า Transaction fee ที่คิดเป็นประมาณ 6-7% บน Fee income แต่ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า หากลูกค้าหันมาใช้บริการผ่านระบบสังคมไร้เงินสดที่แบงก์หยิบยื่นให้ ในทุกรายการที่ลูกค้าจ่ายผ่านระบบ

ส่วนรายได้ที่เรียกเก็บจาก Vendor (เหมือนใช้ เครดิตการ์ด) จะมีต้นทุนแฝงในส่วนนี้ที่เรียกเก็บ Vendor ตกรายการละประมาณ 0.55 บ. ซึ่งจะมีผลบวกกลับเข้ามาที่ Transaction fee ในอนาคต และชดเชยรายได้ค่าบริการที่เสียใปในส่วนนี้ได้

นอกจากนี้ กลุ่มแบงก์ ยังมีปัจจัยกดดัน( Overhang) เรื่อง ค่าต๋ง (เ งินเก็บเข้ากองทุนฟื้นฟู 0.47% เป็น1%)ซึ่งตอนนี้ยังไม่ปรับขึ้น แต่อยู่ระหว่างรอการใช้ เพราะกฎหมายผ่านแล้ว (ไม่มีระยะเวลาที่ชัดเจน)ต่อเนื่องจนมาถึงการหันมาใช้บริการ Transaction fee บน Platform ของแบงก์แล้วไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

ดังนั้น หลายธนาคารประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียม e-payment ซึ่งรายได้ค่าธรรมเนียมจาก e-payment คิดเป็น 6-7% ของรายได้ค่าธรรมเนียมของ KBANK (จาก guidance ของธนาคาร) จากการประเมินหากอิงสัดส่วนเดียวกันสำหรับ SCB และ KTB คาดจะกระทบกำไรราว 5.2% และ KBANK กำไรลดลง4.4% และ SCB กำไรลง 2.3%

บล.เอเซียพลัส ประเมินผลกระทบว่าการไม่คิดค่าธรรมเนียมครั้งนี้ เป็นการเร่งให้เกิดธุรกรรมโอนเงิน Online มาแทนระบบ Oflline (เคาน์เตอร์, ตู้เติมเงิน) เร็วขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้หากพิจารณามูลค่าการชำระเงินผ่านระบบการชำระเงินและช่องทางต่าง ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ สิ้นปี 2559 มูลค่า 388 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.7% จากปี 2558 ซึ่งในจำนวนนี้พบว่าเป็นการโอนเงินข้ามธนาคารผ่านอินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์เคลื่อนที่รวมกัน 38% เพิ่มขึ้นจากปี 2558ที่ 24.9% และคาดว่าจะขึ้นในปีถัดไป

ขณะที่กระทบต่อรายได้ค่าธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งคิดเป็น 5%ของรายได้ค่าธรรมเนียม ซึ่งรายได้ค่าธรรมเนียมคิดเป็น 30% ของรายได้รับสุทธิ แต่การลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะบั่นทอนการเติบโตของค่าธรรมเนียมโดยรวมและอาจจะกดดันการเติบโตระยะยาว

ทั้งนี้ ผลกระทบของการลดค่าธรรมเนียมธุรกรรม Online มิได้กระทบเฉพาะธนาคารเท่านั้น แต่กระทบจากผู้ให้บริการรับชำรำะเงินค่าสินค้าและบริการ ผ่าน counter service เช่น ผู้ให้บริการค้าปลีก ทั้ง CPALL, BIGC, รวมถึง FSMART ซึ่งเป็นผู้บริการให้บัตรเติมเงินและปัจจุบันยังให้บริการโอนเงินหรือ banking agent รายแรกของประเทศ โดยได้รับการแต่งตั้งจาก KBANK, KTB, BBL, SCB ซึ่งเน้นลูกค้าที่มิใช่คนทำงาน อาจจะแตกต่างจากลูกค้าธนาคารพาณิชย์ แต่เชื่อว่าน่าจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากรณีนี้ รวมถึงการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการให้ non bank สามารถให้บริการธุรกรรม banking agent ได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทย หากได้รับการตอบรับจากธนาคารพาณิชย์ ระยะสั้นแนะนำชะลอการลงทุน FSMART

ขณะที่ CPALL ปัจจุบันให้บริการ counter servce จึงน่าจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้ด้วย โดยปัจจุบันดำเนินงานผ่านบริษัทย่อย Counter Services (CPALL ถือหุ้น 99.99%) แม้สัดส่วนรายได้จะอยู่ที่เพียง 1% ของรายได้รวม แต่กำไรสุทธิสูงถึงกว่า 1 พันล้านบาทต่อปี หรือราว 5% ของกำไรสุทธิ CPALL ประกอบกับจำนวนสาขาในประเทศกว่า 1.03 หมื่นแห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งในกรณีได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Banking Agent น่าจะเป็นส่วนช่วยหนุนกำไร เพิ่มขึ้นได้เฉลี่ยปีละ 1%

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK