COVID-19

ดูบทเรียน ‘สิงคโปร์’ ก่อนคลายล็อคดาวน์ ประเทศไทย

ศบค.ถอดบทเรียน “สิงคโปร์” ยอดผู้ติดเชื้อใหม่พุ่ง 1,400 ราย หลังมี Super Spreader เป็นแรงงานต่างด้าว ย้ำพิจารณาสถานการณ์สิงคโปร์ ก่อนตัดสินใจคลายล็อคดาวน์ในไทย

กรณีเสียงเรียกร้องให้คลายล็อคดาวน์ ยิ่งตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ลดลงเหลือ 19 รายวันนี้ ( 21 เม.ย.)  เสียงยิ่งดังขึ้น ขณะที่วงการแพทย์และสาธารณสุข เห็นว่า “ยังวางใจไม่ได้” นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ต้องยกสิงคโปร์มาเปรียบเทียบ เหตุว่าล่าสุด  21 เมษายน มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มถึง 1,426 ราย รวมผู้ป่วยทั้งหมด 8,014 ราย จนขึ้นมาเป็นลำดับ 32 ของประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ นำหน้าไทยที่อยู่อันดับ 55 ไปหลายวา จากก่อนหน้านี้ผู้ป่วยเกิดใหม่รายวันน้อยมาก

Singapore Worker 01

นพ.ทวีศิลป์ เล่าว่า ก่อนหน้านี้สิงคโปร์มีผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่เกิดน้อยมาก สาเหตุเกิดจาก Super Spreader 4 คนเท่านั้น เป็นแรงงานต่างด้าว ที่ไปทำงานสิงคโปร์ ซึ่งมีจำนวนมากถึง 3.2 แสนคน ความเป็นอยู่ของแรงงานเหล่านี้ จะไปอยู่ตามหอพัก 43 แห่ง อย่างหอพักขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า Megadome มีแรงงานอยู่รวมกันเป็นพันคนต่อหอพัก หรือ 1 ห้องอยู่กันถึง 12-20 คน แรงงานต่างด้าวที่ติดโควิด-19 เป็นชาวบังคลาเทศ เหตุเกิดที่ตึก S11 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม และจากนั้นผู้ติดเชื้อ 4 คน ก็กลายเป็นพันคน ในเวลาอันรวดเร็ว เป็น Super Spreader ที่ทำให้สิงคโปร์ไต่ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 32

ปัจจุบันสิงคโปร์จึงต้อง ล็อคดาวน์หอพักแรงงานต่างด้าวเกือบทุกแห่ง และ ตั้ง Interagency Task Force ดูแลแรงงาน เป็น Circuit Breaker เพื่อหยุดการแพร่ระบาด โดยไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายแรงานต่างด้าวระหว่างหอพักเลย เพื่อป้องกันการระบาดวงกว้าง แต่แรงงานได้รับค่าจ้าง และจัดทีมแพทย์และสาธารณสุขเข้าไปดูแล

มีการคัดแยกคนป่วยและคนไม่ป่วยออกจากกัน และเคลื่อนย้ายแรงงานที่ป่วย แต่หายดี และมีติดเชื้อเป็นผลลบราว 2,000 คน ให้ไปอยู่บนเรือซุปเปอร์สตาร์ ที่ลอยอยู่กลางทะเล เพราะสถานที่มีจำกัด เพื่อให้การระบาดถูกควบคุม

report02 7 ปก 1

สำหรับไทยเราต้องเรียนรู้ เพราะแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยก็มี โดยปัจจุบันกรมอนามัยก็เข้าไปดูแล ขณะเดียวกันท้องถิ่นเองก็ต้องสแกนในพื้นที่ด้วย ว่ามีแรงงานต่างด้าว มีความเป็นอยู่อย่างไร และเข้าไปดูแล รักษาความสะอาด ให้มีระยะห่าง เพราะการดูแลเขาอย่างดี จะได้ปลอดภัย ซึ่งตอนนี้มีหลายจังหวัด มีการตั้งอาสาสมัคร ทำหน้าที่คล้ายอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทำหน้าที่ไปให้ความรู้ต่างๆกับแรงงานต่างด้าว

Avatar photo