Politics

เปิดภาพน้ำท่วมคลี่คลายแล้ว 20 จังหวัด ปภ.เร่งช่วยผู้ประสบภัย

นายชยพล ธิติศักดิ์
นายชยพล ธิติศักดิ์

สถานภาาณ์น้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “เซินติญ” และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม – 10 สิงหาคม 2561 ตามการรายงานของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) พบว่า สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 20 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 10 จังหวัด ได้แก่ นครพนม อุบลราชธานี บึงกาฬ สกลนคร กาฬสินธุ์ ยโสธร เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย และระนอง ซึ่ง ปภ. ได้ร่วมกับหน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงแจกจ่ายถุงยังชีพและเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแล้ว

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า อิทธิพลของพายุโซนร้อน “เซินติญ” และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม – 10 สิงหาคม 2561 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มใน 30 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ตาก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พิจิตร นครสวรรค์ ตราด แพร่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง เพชรบุรี ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ อำนาจเจริญ พะเยา เชียงราย กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี บึงกาฬ สกลนคร ร้อยเอ็ด ยโสธร หนองคาย พังงา และสุราษฎร์ธานี รวม 98 อำเภอ 353 ตำบล 2,141 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 47,418 ครัวเรือน 129,898 คน ผู้เสียชีวิต 1 ราย สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 20 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 10 จังหวัด รวม 37 อำเภอ 182 ตำบล 1,308 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 25,631 ครัวเรือน 63,850 คน ได้แก่

น้ำท่วม
สถานการณ์น้ำท่วม
  • นครพนม น้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอปลาปาก อำเภอท่าอุเทน อำเภอโพนสวรรค์ อำเภอ ธาตุพนม อำเภอบ้านแพง อำเภอนาแก อำเภอวังยาง อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาหว้า และอำเภอนาทม รวม 94 ตำบล 898 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 17,019 ครัวเรือน 37,540 คน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
  • อุบลราชธานี ยังคงมีสถานการณ์ น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเขื่องใน รวม 5 ตำบล 23 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 509 ครัวเรือน 1,758 คน ปัจจุบันระดับน้ำในแม่น้ำชีมีแนวโน้มลดลง
  • บึงกาฬ น้ำในแม่น้ำโขงล้นตลิ่งในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอโซ่พิสัย อำเภอปากคาด และอำเภอศรีวิไล รวม 23 ตำบล 126 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,604 ครัวเรือน 8,736 คน ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
  • สกลนคร ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วม 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโพนนาแก้ว และอำเภอนิคมน้ำอูน รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1 ครัวเรือน 3 คน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
  • กาฬสินธุ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอกมลาไสย อำเภอฆ้องชัย อำเภอดอนจาน และอำเภอร่องคำ รวม 17 ตำบล 71 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 833 ครัวเรือน 1,588 คน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
  • ยโสธร น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองยโสธร อำเภอไทยเจริญ อำเภอป่าติ้ว อำเภอกุดชุม และอำเภอคำเขื่อนแก้ว รวม 24 ตำบล 105 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,451 ครัวเรือน 8,972 คน ปัจจุบันระดับน้ำในลุ่มน้ำเซบายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนระดับน้ำในลุ่มน้ำชีมีแนวโน้มลดลง
  • เพชรบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแก่งกระจาน และอำเภอท่ายาง รวม 6 ตำบล 27 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 396 ครัวเรือน 1,714 คน ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
  • สุราษฎร์ธานี น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพนม อำเภอพระแสง และอำเภอชัยบุรี รวม 8 ตำบล 46 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 741 ครัวเรือน 3,331 คน ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
  • หนองคาย น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอโพนพิสัย รวม 1 ตำบล 6 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 50 ครัวเรือน 128 คน ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
  • ระนอง น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกะเปอร์ และอำเภอกระบุรี รวม 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 27 ครัวเรือน 80 คน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง

ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระบุว่า ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงแจกจ่ายถุงยังชีพและเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแล้ว

อย่างไรก็ดี หากพื้นที่ใดยังได้รับความเดือดร้อน สามารถสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight