Business

แง้ม!! ‘แผนฟื้นฟูการบินไทย’ หยุดขาดทุน-ลดพนักงาน-รื้อค่าตอบแทน-เลิกแบกจ่ายภาษีให้!

เปิดแผนฟื้นฟูบินไทย “กลยุทธ์หดตัวเพื่อเติบโตต่อ” เน้นหารายได้เพิ่ม  พร้อมแผนปรับลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงาน และค่าตอบแทน ระยะเร่งด่วนต้องการเงินเสริมสภาพคล่อง

รายงานข่าวจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI  เปิดเผยถึงการจัดทำแผนฟื้นฟูของการบินไทย ว่าขณะนี้ยังไม่ผ่านการอนุมัติจากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังไม่ผ่านการอนุมัติ โดยแผนฟื้นฟูที่เสนอไปนั้น มีการกำหนด กลยุทธ์หดตัวเพื่อเติบโตต่อ (Shrink to Grow )

ขั้นที่ 1 : หยุดขาดทุน “Stop the Bleeding” ลดการขาดทุนให้ได้โดยเร็ว เร่งสร้างรายได้เพิ่มจากการดำเนินงานทางยุทธวิธี  ส่วนวิธีการ จะต้องเร่งยกเลิกเส้นทางที่ขาดทุนอย่างต่อเนื่องและไม่มีศักยภาพในการทำกำไร ลดความถี่ของเที่ยวบิน หรือเปลี่ยนขนาดเครื่องบิน สำหรับเส้นทางที่มีศักยภาพในการทำกำไร แต่จำนวนที่นั่งในการรองรับผู้โดยสารเกินความต้องการ

ขั้นที่ 2 : สร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขัน “Build Competitive Strength” ต้องสร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขัน ทบทวนกลยุทธ์และกำหนดจุดยืนของธุรกิจให้ชัดเจน ปรับปรุงประสิทธิภาพในการหารายได้ การบริหารต้นทุนและกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง

ขั้นที่ 3 : เติบโตอย่างมีกำไรในระยะยาว “Grow” ต้องเติบโตจากธุรกิจหลักที่มีความแข็งแรง ขยายธุรกิจเมื่อสามารถกลับมาทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง ใช้จุดแข็งขององค์กรเป็นหลักในการเติบโต วางแผนเส้นทางบินและฝูงบินในอีก 5 ปีข้างหน้าให้ครบวงจร

โลดก้การบินไทย

กลยุทธ์ด้านการพาณิชย์ (Commercial Strategy)

ตัวแทนจำหน่ายและช่องทางการขาย จะเปลี่ยนค่าตอบแทนของตัวแทนจำหน่ายเป็นการให้ Commission แทนการลดราคาตั้งแต่แรก พร้อมทบทวนเงื่อนไขและวิธีการขายบัตรโดยสาร เร่งปรับปรุงช่องทางการสำรองที่นั่ง เพื่อให้ลูกค้าสำรองที่นั่งได้โดยตรงช่องทาง Online ได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การตั้งราคาและเงื่อนไข ปรับปรุงระเบียบการกำหนดค่าดดยสารให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันและวิธีการปฎิบัติของสายการบินอื่น โดยจัดให้มีการรวมศูนย์การกำหนดราคาและให้ราคา(Simplify and Centralize Fare) ปรับกฎเกณฑ์ของการจองบัตรโดยสารแบบกลุ่ม (Group Fare) เพื่อลดอัตราการยกเลิกบัตรโดยสาร ปรับปรุงวิธีการปล่อยที่นั่งให้เกิดประสิทธิภาพในการขายสูงสุด

รายได้เสริม เพิ่มการหารายได้เสริมอื่นๆ ที่สามารถดำเนินกาไรด้อย่างรวดเร็ว เช่น เพิ่มการขายที่นั่งแบบ Preferred Seat

กลุ่มลูกค้าที่มีคุณค่าสูงสุด เร่งจัดทำกลยุทธ์สำหรับกลุ่มลุกค้าองค์กรที่สามารถสร้างรายได้ให้บริษัทได้สูง (Corporate Account)โดยให้ข้อเสนอการบริการที่สอดคล้องกับความต้องการและสร้าง Brand Loyalty กับบริษัทชั้นนำของไทยและบริษัทข้ามชาติ

ความภักดีของลูกค้า เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของ Royal Orchid Plus (ROP)ทั้งการหาพันธมิตร เงื่อนไขในการใช้ไมล์ เพิ่มช่องทางในการได้รับ (Earn) และใช้ไมล์(Burn) ปรับและ นำเสนอบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าอย่างเแพาะเจาะจง (Tailored Offering)

ขณะที่ กลยุทธ์การปรับปรุงโครงสร้างองค์กประกอบด้วย การปรับกระบวนการทำงานปัจจุบัน  ปรับลดกิจกรรมที่ซ้ำซ้อน ล่าช้า ไม่จำเป็น  ควบรวมหน่วยงานที่มีงานซ้ำซ้อน /เพิ่มกระบวนการทำงานที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ  กำหนดงานที่สามารถทดแทนด้วยการ Outjob และมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า

ศึกษาและกำหนดช่วงการควบคุม (Span of Control)

ปรับปรุงโครงสร้างอค์กรรูปแบบใหม่ให้สอดคล้องกับกระบวนการทำงาน 

พิจารณาความเป็นไปได้ ในการแยกธุรกิจเพื่อหารายได้อย่าเต็มรูปแบบ ได้แก่ ฝ่ายครัวการบิน ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณีย์ภัณฑ์ ฝ่ายช่าง

การบินไทย17 e1587057932402

ปรับลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงาน ตามกำลังการผลิตและปรับสิทธิประโยชน์ และค่าตอบแทน

ปรับจำนวนพนักงานให้สอดคล้องกับจำนวนฝูงบินที่ลดลงและเปรียบเทียบ Productivity กับสายการบินชั้นนำ

ลดจำนวนพนักงานด้วยความสมัครใจ ตามเกณฑ์ที่กำหนด

ลดจำนวนพนักงานด้วยเกณฑ์ที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพการปฎิบัติงานของพนักงาน

วิเคราะห์อัตรากำลังที่เหมาะสมภายหลังการปรับโครงสร้างองค์กร โดยลดจำนวนพนักงาน รับพนักงานใหม่มาทดแทนในสัดส่วนที่เหมาะสมตามมาตรฐานอุตสาหกรรม

ปรับประสิทธิภาพและค่าตอบแทน

ให้พนักงานที่มีรายได้ทั้งหมดรับภาระภาษีเงินได้เอง  ทบทวนเกณฑ์และวิธีการคำนวณจ่ายค่าล่วงเวลา (Overtime) ทบทวนเกณฑ์และอัตรค่ายานพาหนะ/ค่าพาหนะเหมาจ่าย ทบทวนสิทธิบัตรผู้โดยสารพนักงานโดยเทียบเคียงกับสายการบินอื่น กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราเงินประจำตำแหน่ง ทบทวนวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดพักผ่อนประจำปีและการสะสม ทบทวนประเภทและอัตราเงินเพิ่มพิเศษต่างๆ อาทิ License และอื่นๆ ทบทวนสิทธิประโยชน์สำหรับพนักงานที่ปฎิบัติหน้าที่ประจำต่างประเทศ (Expatriate Staff ) ทบทวนสิทธิประโยชน์พนักงานเกษียณอายุ

สิ่งที่ปรากฎข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟูที่การบินไทยเสนอไปแล้ว แต่ยังไม่ผ่านการพิจารณา เนื่องจากมองว่าแผนโดยรวม ยังขาดทิศทางและความชัดเจนว่าในอนาคตจะดำเนินการอย่างไร   รูปแบบธุรกิจก็ยังไม่ชัดเจนจึงให้ทีมจัดทำแผนฟื้นฟูกลับไปทำใหม่

ส่วนของแผนการกู้เงินเพิ่มเสริมสภาพคล่องให้การบินไทย มีข้อตกลงเบื้องต้นตามแผนจะใส่เงินเข้าไปประมาณ 80,000 ล้านบาท โดยการกู้เงิน เริ่มแรกจะใส่เข้าไปก่อน 50,000 ล้านบาท จากนั้นก็จะเพิ่มให้อีก 30,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นข้อตกลงก่อนหน้านี้

ในช่วงเร่งด่วนภายในเดือนพฤษภาคมนี้ การบินไทยต้องหาเงินเร่งด่วนก่อนอย่างน้อย 12,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้รวมทั้งเงินเดือนพนักงาน จากปกติการบินไทยจะมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนประมาณ 15,000 ล้านบาท แต่หลังจากหยุดทำการบิน และลดเงินเดือนพนักงานบางส่วนไป

ภาพปก:เฟซบุ๊กThai Airways

Avatar photo