COVID-19

คุ้มสุดๆ ! ใส่หน้ากาก 1 คน ลดการสูญเสียได้อย่างน้อย 1 แสนบาท

คุ้มสุดๆ ! หน้ากาก ช่วยลดการระบาดของ COVID-19 แถมคุ้มค่าทางเศรษฐกิจสูง นักวิจัยจาก Yale คำนวณผล ใส่หน้ากาก 1  คน ลดความสูญเสียเป็นตัวเงินได้อย่างน้อย  1 แสนบาท 

Screenshot 20200415 155353 com.facebook.katana1

นพ.มานพ พิทักษ์ภากร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล โพสเฟซบุ๊ก ถึงความคุ้มค่าในการใช้หน้ากาก ซึ่งไทยรณรงค์ให้ประชาชน ใส่เป็นประเทศแรกๆของโลก ก่อนมีการระบาดหนัก ซึ่งทุกวันนี้ได้พิสูจน์แล้วว่า มาตรการของไทยมาถูกทาง ทำให้การแพร่ระบาดของไทยไม่พุ่ง มีผู้ป่วยรายใหม่หลักสิบ ขณะที่หลายประเทศ เพิ่งรณรงค์หลังแพร่ระบาดไปแล้ว และเอาไม่อยู่

นพ.มานพ เปรียบเทียบการใส่หน้ากาก กับความคุ้มค่าทางเศษฐกิจว่า หลายคนยังคงจำได้ว่า ถ้าย้อนกลับไปราว 2 เดือนก่อนมีประเด็นถกเถียง และปัญหาของการใช้หน้ากาก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และแพร่ระบาดของ COVID-19 ในขณะที่การใส่หน้ากาก ในที่สาธารณะ เป็นเรื่องปกติในประเทศแถบเอเชีย การทำอย่างเดียวกันในประเทศแถบยุโรป และอเมริกา กลับตกเป็นเป้าของความเกลียดชัง หรือโดนทำร้าย

อีกทั้ง WHO (องค์การอนามัยโลก) และ C.D.C (ศูนย์ควบคุม และป้องกันโรคของสหรัฐ ) ได้ออกประกาศ  “ไม่แนะนำ” ให้ประชาชนทั่วไปใส่หน้ากาก เพราะไม่ช่วยอะไร จนกระทั่งกลับลำใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยรณรงค์ให้ประชาชนใส่หน้ากาก เมื่อออกนอกบ้าน แถมยังมีการสอนทำหน้ากากผ้าใช้เองอีกด้วย

คุณหมอ ระบุว่า ปัญหาสำคัญของความแตกต่างในช่วงต้นอันหนึ่ง คือ การขาดข้อมูลใหม่ที่รวดเร็ว ประเทศตะวันตก ยังยึดโยงกับข้อมูล และผลการศึกษาในอดีต ทั้งการศึกษาผลของหน้ากาก ในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ แบบแผนการติดเชื้อ ระยะฟักตัว การแพร่กระจายเชื้อของโรคที่ติดต่อทางหายใจอื่น ๆ เช่นไข้หวัดใหญ่ หรือ SARS และ MERS เป็นต้น

จนกระทั่งข้อมูลผู้ติดเชื้อ SARS-CoV-2 ที่ไม่มีอาการ (undocumented infection) จาก “อู่ฮั่น” ได้รับการเผยแพร่ใน “Science” เมื่อ 16 มีนาคม พบว่าผู้ติดเชื้อกลุ่มนี้ มีสูงถึง 86% และเป็นต้นเหตุสำคัญของการแพร่ระบาดในชุมชน (https://science.sciencemag.org/content/early/2020/03/24/science.abb3221.abstract)

ร่วมกับข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอื่น ๆ เช่น การพบว่าผู้ที่ไม่มีอาการมีปริมาณเชื้อสูงมาก ไม่ต่างกับผู้ป่วยที่มีอาการ และผลการศึกษาที่พบว่าหน้ากากลดปริมาณเชื้อที่ปล่อยออกมาจากละอองฝอย (droplets และ aerosols) ได้จริง (https://www.facebook.com/CAPrecisionMed/posts/3107550539263392/)

ต้องเรียกว่าเปลี่ยนความเชื่อที่ผ่านมาเกี่ยวกับ หน้ากากทั้งหมดแบบหน้ามือเป็นหลังมือ 2 วันก่อน ทีมนักวิจัย data science จากหลายสถาบันทั้งในอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ตีพิมพ์ผลงานวิจัยใน preprint ทำการรีวิวข้อมูล ที่มีทั้งหมดเกี่ยวกับการใช้หน้ากากในการระบาดของ COVID-19 หนนี้

93244842 10159621948273448 4472264619720704000 n

พร้อมกับเปรียบเทียบข้อมูลการระบาดของ 4 ประเทศ เทียบระหว่างเกาหลีใต้ และ อิตาลี ที่มีการระบาดในวงกว้างเหมือนกัน และสาธารณรัฐเช็ค (Czechia) และ ออสเตรีย ที่อยู่ติดกัน ระบาดพร้อม ๆ กัน และออกมาตรการ social distancing ในวันเดียวกัน ต่างกันตรงที่ เช็ค ให้ประชาชนใส่หน้ากากเป็นวงกว้าง เทียบกับออสเตรีย ที่ไม่มีการประกาศใช้ในช่วงแรก แต่หันมาใช้บ้างหลังจากนั้นราว 20 วัน

92960353 10159621948113448 6450686011214135296 n

นอกจากนี้ยังคำนวณค่า R0 (reproductive number) ของเชื้อ (การแพร่เชื้อจากคนสู่คน) เมื่อใช้หน้ากากมากน้อยต่างกัน พบว่าประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งกระจายหน้ากากให้ประชาชนในพื้นที่ระบาดอย่างกว้างขวาง สามารถหยุดการระบาดได้เร็วกว่าอิตาลี ในกรณีนี้ อาจมีคนแย้งว่าไม่เหมือนกันซะทีเดียว

92946411 10159621948318448 4662079011445276672 n

ก็น่าจะหันมาดูออสเตรียและเช็ค ที่ทำทุกอย่างแทบจะเหมือนกัน ต่างกันที่หน้ากาก มีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อต่างกันอย่างชัดเจน การคำนวณพบว่า เมื่อประชากรมีการใส่หน้ากากเกิน 60% และหน้ากากมีประสิทธิภาพกันได้ซัก 60% ก็เพียงพอที่จะกด R0 ให้น้อยกว่า 1 ได้

ในด้านเศรษฐกิจ ถามว่าใส่หน้ากากคุ้มไหม ทีมนักวิจัยจาก Yale คำนวณผล ของการใส่หน้ากากตั้งแต่แรก ควรจะลดอัตราผู้ติดเชื้อ และเสียชีวิตจาก COVID-19 ลงได้

โดยทีมนักวิจัยคำนวณแบบ conservative คือ ขอให้ลดการเพิ่มของผู้ป่วยติดเชื้อต่อวันแค่ 8% พบว่าประชาชนใส่หน้ากาก 1 คนจะช่วยลดความสูญเสีย เป็นตัวเงินอย่างน้อย 3,000 เหรียญสหรัฐ หรือราว ๆ 1 แสนบาท 

มาถึงวันนี้ คงไม่มีใครสงสัยในประโยชน์ของหน้ากากกับการระบาดครั้งนี้ครับ วิธีง่าย ๆ แต่มีประสิทธิภาพสูง และคุ้มค่าสุด ๆ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
https://www.preprints.org/manuscript/202004.0203/v1
https://www.fast.ai/2020/04/13/masks-summary/
https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3567438

 

Avatar photo