CEO INSIGHT

ย้อนรอยการเติบโต ‘ปตท.’ ภายใต้ 4 ขุนพลใหญ่ กับอนาคตที่ท้าทายต่อจากนี้ ?

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT  คือ หนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในไทย ด้วยมูลค่ากิจการที่สูงถึงหลักล้านล้านบาท ทำให้การขยับตัวของปตท. แต่ละครั้ง ถือว่ามีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ร่วมกันเป็นจำนวนมาก  

ดังนั้น ผู้ที่เข้ามารับหน้าที่เป็นหัวเรือใหญ่ของอาณาจักธุรกิจแห่งนี้ จึงเสมือนกับการแบกกับภารกิจ และความคาดหวังที่หนักอึ้งเอาไว้มากทีเดียว 

วันนี้เลยอยากจะพาย้อนชมผลงานของอดีต 4 CEO ปตท. คนสำคัญ รวมถึงอนาคตต่อไปของ CEO ใหม่ของธุรกิจแห่งนี้กัน

1. ประเสริฐ บุญ​สัมพันธ์ 

ระหว่างกันยายน 2546 – กันยายน 2554

เป็นผู้ว่าปตท. ที่นั่งอยู่ในตำแหน่งยาวถึง 8 ปีด้วยกัน โดยเข้ามารับตำแหน่งหลังจากการที่ ปตท. แปลงสภาพเป็นมหาชน จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียง 2 ปี 

ทว่าเป็นช่วงเวลาที่บริษัทเติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะก่อนที่เขาจะเข้ามานั่งตำแหน่งนี้ กลุ่มปตท. มีรายได้รวม 409,334 ล้านบาท แต่เพียง 8 ปี ปตท. สามารถมีรายได้ทะลุ 1.94 ล้าน​ล้าน​บาท ซึ่งเติบโตเกือบ 4 เท่าตัว แถมในช่วงที่สุดท้ายยังพา ปตท. มีกำไรทะลุแสนล้านบาทได้อีกด้วย

ptt

ptt1
2. ไพรินทร์ ชูโชติถาวร 

ระหว่างกันยายนปี 2554 – กันยายน 2558

เข้ามารับไม้ต่อจาก ประเสริฐ บุญ​สัมพันธ์ ในช่วงปลายปี 2554 ซึ่งจะเห็นว่า ประเสริฐ บุญ​สัมพันธ์ สามารถสร้างรายได้ให้ปตท. ยืนอยู่ในระดับเกินกว่า 2 ล้านล้านบาท ได้ติดต่อกันหลายปีเลย 

แต่ในแง่ของกำไรนี่เป็นช่วงที่บริษัทกำลังประสบปัญหากำไรลดลงติดต่อกันถึง 3 ปี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบตลาดโลกลดลง จากกำลังการผลิตที่มากเกินไป นอกจากนี้ ในปี 2557 บริษัทยังมีการขาดทุนด้อยค่าสินทรัพย์ของโครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเชียและมาเรียนาออยล์ แซนด์ ในแคนาดา

ptt3

3. เทวินทร์ วงศ์วานิช 

ระหว่างเดือนกันยายน 2558 – สิงหาคม 2561 

ปีแรกของ เทวินทร์ วงศ์วานิช ต้องบอกว่ายากลำบากทีเดียว เพราะต้องเจอกับภาวะราคาน้ำมันตกต่ำต่อเนื่อง ซึ่งลงมาต่ำกว่า 40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แถมยังมีการด้อยค่าสินทรัพย์หลายโครงการพร้อมกัน จากธุรกิจสำรวจ-ผลิตปิโตรเลียม และธุรกิจถ่านหิน

อย่างไรก็ดี เขาสามารถพลิก ปตท. ให้กลับมามีกำไรดีขึ้นรวดเร็ว จากการขายกิจการที่ไม่ทำกำไรหลายๆ ตัวออกไป รวมถึงมุ่งเน้นธุรกิจก๊าซธรรมชาติที่สร้างความเติบโตอย่างมาก กระทั่งในปี 2560 ปตท. ก็กลับมามีกำไรหลักแสนล้านบาทอีกครั้ง 

ptt4

4. ชาญศิลป์ ตรีนุชกร 

ระหว่างเดือนสิงหาคม 2561 – พฤษภาคม 2563

เป็นช่วงเวลา 1 ปี 8 เดือน ที่อาจไม่ได้สวยหรูนักในแง่ผลประกอบการ เพราะมีกำไรที่ลดลงทุกปี ซึ่งสาเหตุหลักมาจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกลั่น รวมถึงการขาดทุนสต็อกน้ำมันด้วย

ptt5

อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ซีอีโอคนใหม่ กับอนาคตต่อจากนี้ ?

เพียงเข้ามารับตำแหน่งในปีแรกก็ต้องบอกว่าหนักอึ้งแน่ๆ ว่าจะพา ปตท. ผ่านวิกฤตรอบนี้ไปอย่างไร ? ด้วยราคาน้ำมันดิบตลาดโลก ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 18 ปี รวมถึงสถานการณ์ COVID-19 ที่ไม่มีใครรู้จุดจบ

แน่นอนว่าสิ่งที่หลายคนจับตาผลงานของ “อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์” เรื่องหลักๆ นั่นคือ ถ้าเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ Recession จริงๆ จนราคน้ำมันอยู่ในระดับต่ำจนกลายเป็นเรื่องปกติ (New Normal) เขาจะเลือกใช้กลยุทธ์แบบไหนมาประคองบริษัทให้ยังเติบโตได้ต่อไป 

ข้อมูลผลประกอบการจาก 

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ , FINNOMENA

Avatar photo