COVID-19

สำรวจเตียงผู้ป่วย ‘โควิด-19’ พร้อมรองรับเพิ่ม 2,700 เตียง

สธ.บูรณาการทุกเครือข่ายรพ.ในกรุงเทพ และปริมณฑล เตรียมเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ได้ 2,701 เตียง รองรับผู้ป่วยส่งต่อ รักษา ดูอาการ ส่วนเครื่องช่วยหายใจ เตรียมชนิดสูงสุด 2 เท่าของเตียงผู้ป่วยวิกฤติ มั่นใจพร้อมรองรับผู้ป่วยเพิ่ม

ANN 0920

นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงความคืบหน้าการบริหารจัดการเตียงรองรับการรักษาโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพ และปริมณฑลว่า รัฐบาลได้ระดมสรรพกำลังในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 ด้านการรักษาพยาบาล ทำให้วันนี้เริ่มเห็นตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในภารกิจด้านการรักษาและดูแลผู้ป่วย การวางแผนบริหารจัดการโรงพยาบาล และ Hospitel ทำให้ผู้ป่วยรักษาหายแล้วถึง 1,288 ราย คิดเป็น 50% สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จร่วมกันในการเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ในครั้งนี้

ข้อมูล ณ วันที่ 13 เมษายน 2563 ได้บูรณาการความร่วมมือจัดสรรเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ขณะนี้มีเตียงรองรับผู้ป่วยรวม 2,701 เตียง ดังนี้

1.เตียงในหอผู้ป่วย จำนวน 1,978 เตียง อยู่ในภาครัฐ 930 เตียง สังกัดโรงเรียนแพทย์ เหล่าทัพ ตำรวจ กรุงเทพมหานคร กระทรวงสาธารณสุข และภาคเอกชนอีก 1,048 เตียง

2.เตียงรองรับผู้ป่วยวิกฤติ (ไอซียู) จำนวน 120 เตียง เป็นของรัฐ 65 เตียง เอกชน 55 เตียง คาดว่าปลายเดือนเมษายน จะขยายเพิ่มเป็น 187 เตียง และ 292 เตียง ในเดือนพฤษภาคม

3.Hospitel จำนวน 603 เตียง รองรับผู้ป่วยรอจำหน่ายที่มีอาการดีขึ้น เป็นโรงแรม 2 แห่ง และหอพักมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1 แห่ง

สำหรับเครื่องช่วยหายใจได้จัดเตรียมชนิดขีดความสามารถสูงสุด ที่ประมวลผลการเปลี่ยนแปลงผู้ป่วยวิกฤตได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ สนับสนุนการทำงานของแพทย์ เพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่ปอดติดเชื้ออย่างรุนแรง มีเพียงพออย่างน้อย 2 เท่าของเตียงไอซียู ที่กำลังจัดเตรียมไว้ 400 เตียงทั่วประเทศ และมีอีกประมาณ 100 ในภาคเอกชนมีอีก ขณะเดียวกันก็มีแผนจัดหาเพิ่มเติมอีกประมาณ 100 เครื่อง มั่นใจว่ามีทั้งเตียง และเครื่องช่วยหายใจ รองรับเพียงพอต่อการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ณ สถานการณ์ขณะนี้อย่างแน่นอน

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีไอซียู รวมทั้งหมดประมาณ 6,000 เตียง และมีเครื่องช่วยหายใจ ที่สามารถใช้ในห้องไอซียู ประมาณ 10,000 เครื่อง แบ่งเป็นชนิดมีศักยภาพสูงสุด ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของแพทย์ ใช้งานในระดับวิกฤติสูงสุด 4,000 เครื่อง และกลุ่มขีดความสามารถสูง มีความซับซ้อนขึ้น มีระบบการวัดผลมากขึ้นแสดงผลใช้งานหลากหลายอีกประมาณ 6,000 เครื่อง

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้องค์การอนามัยโลก และรัฐบาลสหรัฐ ยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของเครื่องช่วยหายใจรุ่น PB560 ของบริษัท Puritan Bennett – Covident (ขีดความสามารถระหว่างกลุ่มที่ 2 และ 3 ใช้ในไอซียูได้) โดยให้ถอดแบบ และนำไปผลิตโดยไม่มีค่าลิขสิทธิ์ ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังร่วมมือกันทำงานชิ้นสำคัญชิ้นนี้อยู่ คาดว่าในอีก 1 ปีข้างหน้าจะสามารถใช้งานได้

xxjflbe197934 20200216 hgvfn0004 hd thumb1 e1586774070433

” ตอนนี้เรามีเตียงไอซียู ในมือมี 100 เศษ ประกอบด้วย เอกชนมี 40-50 เตียง จะพัฒนาอีก 48 เตียง หรือมากกว่า รัฐเพิ่มอีก 90 เตียงเดือนนี้และเดือนหน้า ข้อจำกัดอยู่ที่บุคลากรมากกว่า เพราะการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ต้องการบุคลากรโดยเฉพาะ สำหรับผู้ป่วยหนักจริงๆจะอยู่ไอซียู 5-21 วัน หรือโดยเฉลี่ย 10-14 วันต่อคน อย่างไรก็ตามสำคัญที่สุด คือ เราต้องลดอัตราการแพร่กระจายให้อยู่ในจำนวนที่เราสามารถจัดสรรทรัพยากรได้ ” 

อย่างไรก็ตามเรายังต้องดูแลกลุ่มผู้ป่วยอื่นๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยเรื้อรัง อาจจะต้องปรับการส่งยาไปให้ที่บ้าน และการให้คำปรึกษาทางไกล ให้เขาอยู่บ้านได้นานขึ้น ไม่ให้มาเสี่ยงรับเชื้อจากรพ.โดยขณะนี้หน่วยบริการกำลังปรับตัว เพื่อให้ทุกคนปลอดภัย ทั้งคนป่วยโควิด และคนป่วยโรคอื่นๆเพราะเราจะไม่ทิ้งกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ส่วนสต็อกยาของผู้ป่วยเรื้อรัง อาจมีบางรพ.ขาด แต่เราโยกย้ายถ่ายโอนกันได้ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะไม่ให้ขาด แต่สต็อกอาจจะสั้นลงเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากมีประเด็นเร่งด่วน สามารถนำมาประเด็นหารือกันได้ ทั้งสถานพยาบาลของรัฐ และเอกชน

 

Avatar photo