World News

นักวิจัยเผย ข้อมูล ‘เอนไซม์’ ที่ช่วยโคโรนาพันธุ์ใหม่แบ่งตัว กระตุ้นความหวังพัฒนา ‘ยาต้านไวรัส’

วอชิงตัน – บทความการศึกษาซึ่งได้รับการเผยแพร่ในนิตยสารไซแอนซ์ (Science) ระบุว่าคณะนักวิจัยกลุ่มหนึ่งได้รายงานโครงสร้างพอลิเมอเรส (polymerase) หรือเอนไซม์ที่ทำหน้าที่สังเคราะห์กรดนิวคลิอิกในขั้นตอนการจำลองตัวและแบ่งตัวของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งก่อโรคโควิด-19 และพอลิเมอเรสของไวรัสนี้เป็นเป้าหมายที่สำคัญของยาต้านไวรัส เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir)

นักวิจัยอาศัย โครงสร้างของอาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส ที่พึ่งอาร์เอ็นเอ (RNA-dependent RNA polymerase — RdRp) หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าเอ็นเอสพี12 (nsp12) ในการศึกษาวิจัย และได้อภิปรายร่วมกันว่ายาเรมเดซิเวียร์เข้าไปยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสได้อย่างไร

ผลการศึกษาครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างความพยายามในการพัฒนายาต้านไวรัสได้ ขณะที่โรคโควิด-19 อยู่ในภาวะระบาดใหญ่ทั่วโลก

XxjpbeE007583 20200213 PEPFN0A001 scaled 1

การศึกษาครั้งนี้ระบุว่าพอลิเมอเรสเอ็นเอสพี12 ของไวรัส จะเร่งปฏิกิริยาการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอให้กับไวรัส ด้วยเหตุนี้จึงมีบทบาทหลักในการจำลองแบบเพื่อเพิ่มจำนวน และอาจมีเอ็นเอสพี7 (nsp7) และเอ็นเอสพี8 (nsp8) ช่วยเป็นปัจจัยร่วม

คณะนักวิจัยซึ่งนำโดย เกาเอี้ยน นักวิจัยมหาวิทยาลัยชิงหัว (Tsinghua University) และ มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เทค (ShanghaiTech University) ใช้ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบเย็นยิ่งยวด (cryo-electron microscopy) และสามารถระบุโครงสร้างของเอ็นเอสพี12 รวมถึงเอ็นเอสพี7 และเอ็นเอสพี8 ที่มีขนาด 2.9 อังสตรอม

งานวิจัยระบุว่าข้อมูลการจับของไวรัส (Binding mode) และกลไกการยับยั้งที่คณะนักวิจัยรายงานไปนั้น อาจนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนายาต้านไวรัสตัวอื่นๆ นอกเหนือจากยาเรมเดซิเวียร์ได้

ที่มา: สำนักข่าวซินหัว

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight