World News

IMF เตือนเศรษฐกิจโลกจะตกต่ำรุนแรง ‘ประเทศกำลังพัฒนา’ โดนหนักสุด

IMF เตือนไวรัสโควิด-19 นำโลกเข้าสู่ “เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่สุด” นับจากยุค Great Depression “ตลาดเกิดใหม่-ประเทศกำลังพัฒนา” กระทบหนักสุด คาดต้องการวงเงินช่วยเหลือจากต่างชาตินับล้านล้านดอลลาร์

kris

นางคริสตาลินา กอร์เกียว่า (Kristalina Georgieva) กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกมาเตือนว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกพลิกกลับเป็นติดลบอย่างรุนแรงในปีนี้ ทั่วโลกจะต้องเจอกับวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุด นับจากเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) ในยุค 1930

เนื่องจากการล็อกดาวน์ที่ดำเนินการโดยรัฐบาลต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้บริษัทจำนวนมากต้องปิดตัวและปลดพนักงาน โดยเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งประเทศเหล่านี้จะต้องการวงเงินช่วยเหลือจากต่างชาติในระดับหลายล้านล้านดอลลาร์

“เมื่อ 3 เดือนก่อน เราเพิ่งมีคาดการณ์ที่ดีว่า รายได้ต่อหัวประชากรของสมาชิกมากกว่า 160 ประเทศ จากทั้งหมด 2020 ประเทศ จะเติบโต แต่วันนี้ตัวเลขพลิกกลับ ตอนนี้เราคาดการณ์กว่าประเทศกว่า 170 แห่งจะมีรายได้ต่อหัวลดลงในปีนี้ จริงๆ แล้ว เรากำลังจะเดินทางเข้าสู่ยุคที่เศรษฐกิจเลวร้ายที่สุด นับตั้งแต่ Great Depression”

ทั้งนี้ หากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผ่อนคลายลงช่วงครึ่งหลังของปีนี้ IMF ก็คาดว่าจะเห็นการฟื้นตัวบางส่วนในปีหน้า แต่นางกอร์เกียก็เตือนว่า สถานการณ์ยังมีโอกาสจะแย่ลง เพราะมองไปข้างหน้ายังเห็นปัจจัยต่างๆ ที่มีความไม่แน่นอนสูง รวมถึงปัจจัยเรื่องระยะเวลาการแพร่ระบาดของไวรัส

000 1LO999

ด้านอ็อกแฟม (OXFAM) ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีฐานในสหราชอาณาจักรก็มาออกเตือนว่า เศรษฐกิจตกต่ำจากไวรัสโควิด-19 จะผลักให้ประชากรมากกว่า 500 ล้านคนเข้าสู่ความยากจน เมื่อการแพร่ระบาดจบลง ครึ่งหนึ่งของประชากรโลกที่มีจำนวน 7.8 พันล้านคน อาจจะต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างยากจน

ส่วนในสหรัฐอเมริกา จำนวนผู้ลงทะเบียนขอรับสวัสดิการการว่างงานก็พุ่งสูงขึ้นติดกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 โดยสัปดาห์ที่แล้วมีผู้ลงทะเบียนถึง 6.6 ล้านคน ส่งผลให้ตัวเลขผู้ลงทะเบียนว่างงานใน 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมอยู่ที่ 16 ล้านคน โดยล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐประกาศจะกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวงเงิน 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อเยียวยาภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ

ที่มาสำนักข่าวบีบีซี

Avatar photo