Lifestyle

เก็บตก!! ภารกิจเชฟรอน…พาทีมหมูป่ากลับบ้าน

38055885 663880293972255 7877146436645683200 n

 “Thank you,Chevron Team ,for all you’ve done

Every effort you have brought to the site has made a difference

36579038 636958343331117 2711050899890896896 o

ถ้อยคำส่งกำลังใจมากมายไปยัง ทีมเชฟรอนผ่านเพจ “Erawan 36” ขณะพวกเขาหลายสิบชีวิตไปปฏิบัติภารกิจช่วยทีมหมูป่ากลับบ้านตลอด 17 วันของการทำงานที่ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย ถึงตอนนี้ภาพนั้นยังอยู่ในความทรงจำของหลายๆคน

Capture17

ปฏิบัติการของ ทีมเชฟรอน ประกอบด้วยบุคลากรจากหลายส่วนงานหลากพื้นที่ เช่น สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพฯ ศูนย์เศรษฐพัฒน์ หรือศูนย์ฝึกอบรมช่างเทคนิคปิโตรเลียมของเชฟรอนที่จังหวัดสงขลา รวมถึงบริษัทผู้รับเหมา

ทุกคนจากทุกสารทิศ พกความมุ่งมั่น และความรู้ความเชี่ยวชาญ ทั้งในฐานะนักธรณีวิทยา วิศวกรทุกสาขา และบุคลากรชำนาญการเฉพาะทางไปปักหลักทำงาน ร่วมแรงร่วมร่วมใจเพื่อเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือการช่วยเหลือทีมหมูป่า

ภารกิจครั้งสำคัญที่ถ้ำหลวง ที่ทีมเชฟรอนได้รับมอบหมายเป็นการผันน้ำ เพื่อเปลี่ยนทิศทาง ไม่ให้เข้าไปเพิ่มระดับน้ำในถ้ำ และยังมีพนักงานที่เป็นอดีตหน่วยซีลได้เข้าร่วมในภารกิจดำน้ำภายในถ้ำด้วย

Capture

ขณะที่ทีมเชฟรอนกรุงเทพฯ ก็ทำหน้าที่เชื่อมประสานการทำงานกับทีมในพื้นที่ สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการระดมทรัพยากรจากพื้นที่ปฏิบัติงานทั่วประเทศไปยังถ้ำหลวงให้ทันท่วงที ทั้งติดต่อกับหน่วยงานทั้งของไทยและสหรัฐ เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มกำลังความสามารถในด้านต่างๆ ทำให้วัสดุอุปกรณ์มากมายหลั่งไหลไปที่ถ้ำหลวง เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยซีล และหน่วยกู้ภัยตามความต้องการอย่างรวดเร็วทันการณ์ อาทิ ถังอัดอากาศประมาณ 200 ถัง ที่กำลังขาดแคลนในขณะนั้น ท่อน้ำแบบดัดงอได้ 2,000 เมตรเพื่อใช้ในการเบี่ยงทางน้ำ สายปรับกำลังดัน ไฟฉาย และชูชีพดำน้ำ เป็นต้น

Capture4

ตลอดระยะเวลาปฏิบัติภารกิจของ ทีมเชฟรอน ในการเป็นส่วนหนึ่งเพื่อพาทีมหมูป่ากลับบ้าน ทุกคนเอ่ยปากว่า “สุดหิน” การเดินเท้าเป็นระยะทางถึง 2-3 กิโลเมตรบนภูเขา เพื่อเฝ้าดูประสิทธิภาพการทำงานของฝายทดน้ำที่ดอยผาหมี การประสานงานกับคนกว่า 300 คน จัดการกับท่อวงขนาดยักษ์น้ำหนักหลายร้อยกิโลกรัมด้วยความยาว 2,000 เมตร บนเขาลาดชัน และต้องทำภายในเวลา 14 ชั่วโมง เพื่อผันน้ำและเปลี่ยนทิศทางน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ไม่ให้เข้าไปเพิ่มระดับน้ำในถ้ำหลวงให้มากที่สุด

การเป็นหนึ่งในทีมดำน้ำของอดีตหน่วยซีล เพื่อลำเลียง 13 ชีวิตทีมหมูป่าท่ามกลางความมืด แคบ น้ำท่วมมิดศีรษะทั้งเชี่ยวแรง และขุ่นมัว จนมองไม่เห็นทางข้างหน้า กระทั่งทั่วโลกประเมินไว้ว่าเป็นภารกิจที่ “ไม่น่าจะเป็นไปได้”

Capture20

แต่อุปสรรคต่างๆ ถูกก้าวข้ามด้วยภาพการทำงานเคียงบ่า เคียงไหล่ หามรุ่ง หามค่ำ ระหว่างพนักงานเชฟรอน เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานและองค์กรมากมาย รวมถึงชาวบ้านที่ต่างอาสามาช่วยกันคนละไม้คนละมือ จนมาถึงวันที่พบ 13 ชีวิตทีมหมูป่า และเสียง “Hooyah!!” ตามฉบับหน่วยซีลดังกึกก้องป่าเมื่อการช่วยเหลือทีมหมูป่าคนสุดท้ายออกจากถ้ำได้สำเร็จ

ความทรงจำเหล่านี้ที่ถ้ำหลวงไม่ได้สิ้นสุดลง ณ วันนั้น แต่ประสบการณ์ทั้งหมดยังสะท้อนจนถึงปัจจุบัน และมีการถอดบทเรียนอย่างต่อเนื่อง

Capture 24 1

เสียงความห่วงใยตะโกนเรียกหาทีม เพื่อเช็คว่าอยู่กันครบหรือไม่ เสียงแห่งความหวังที่จะกลับมาทำงานต่อในวันรุ่งขึ้นให้เสร็จสมบูรณ์ เสียงการให้กำลังใจ และคำขอบคุณจากก้นบึ้งหัวใจที่ให้ซึ่งกันและกันเกิดขึ้นทุกค่ำคืนเมื่อภารกิจจบลงในแต่ละวัน มาถึงเสียงโห่ร้องยินดีปรีดาปนน้ำตาแห่งความปีติเมื่อภารกิจจบลง เสียงเหล่านี้คือบทเรียนแห่งความทรงจำ

Capture9 1

เป็น “ปาฎิหารย์” ที่ไม่ได้เกิดจากความเร้นลับเหนือธรรมชาติ แต่มาจาก “ความมุ่งมั่น ตั้งใจ พยายาม และทุ่มเทแรงกายแรงใจ” อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของเหล่า “ฮีโร่” ที่อยู่เบื้องหน้า และเบื้องหลังจากทุกภาคส่วน ทั้งในและนอกประเทศที่รวมกันเป็นหนึ่ง  “ใครมีเงินลงเงิน ใครมีแรงลงแรง ใครช่วยอะไรได้ช่วยตามถนัด” ตั้งแต่ฝ่ายบริหาร ในระดับประเทศ ระดับพื้นที่ องค์กรรัฐและบริษัทเอกชน รวมถึงฝ่ายปฏิบัติการณ์จากสาขาอาชีพต่างๆ และประชาชน ทำให้การทำงานที่ว่า “สุดหิน” ประสบความสำเร็จได้ด้วยดี

Capture77

เชฟรอน แม้เป็นเพียงทีมเล็กๆ ส่วนหนึ่งของภารกิจช่วยชีวิตทีมหมูป่า แต่การได้ร่วมประสบการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ที่ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ทำให้เชฟรอนภาคภูมิใจในการได้ร่วมแรงร่วมใจกับทุกคน และทั้งหมดจะอยู่ในความทรงจำตลอดไป

ทั้งจะนำภาพดีๆเหล่านั้นถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นเกิดเป็น “วิถีของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน” ที่สามารถเอาชนะอุปสรรคทั้งปวง

Capture 22

Capture 225

Capture 99

Capture16

Capture 55

Capture 558

 

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight