World News

นักวิจัยจีน ‘เพาะแยก’ ไวรัสโควิด-19 ในห้องแล็บ เอื้อคิดวัคซีนป้องกัน

นักวิจัยจีน “เพาะแยก” และ “เลี้ยง” ไวรัสโควิด-19 ในห้องแล็บ หวังต่อยอดคิดวัคซีนป้องกัน พัฒนาการตรวจคัดกรอง

9 2 e1582865781905

การเพาะแยกไวรัส (isolation) ในไวรัสโควิด-19 ของผู้เชี่ยวชาญชาวจีนที่ประสบความสำเร็จในก่อนหน้านี้ ได้นำไปสู่การสร้างแม่แบบที่มีประโยชน์ต่อการคิดค้นวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งเกิดจากไวรัสดังกล่าว

งานวิจัยนี้ ซึ่งนำโดยสถาบันชีววิทยาจุลินทรีย์ก่อโรค (Institute of Pathogen Biology) สังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์จีนได้มอบทรัพยากรที่สำคัญให้กับการวิจัยต่อยอดในอนาคต อันรวมถึงการตรวจคัดกรองยาและการประเมินผลวัคซีน

เริ่นลี่ลี่  รองผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการเพื่อการวินิจัยเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคของสถาบันกล่าวว่า ในการเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยเพื่อให้ได้มาซึ่งไวรัสนั้น ไม่เพียงแต่จำเป็นต้องเพาะแยกเชื้อไวรัสเท่านั้น แต่ยังต้องช่วยให้เชื้อไวรัสสามารถเติบโตและแพร่พันธุ์ได้อย่างเสถียรด้วย “ดังนั้นเราจึงมีแนวโน้มที่จะใช้คำว่า ‘เลี้ยง‘ (taming) ไวรัสเอาไว้มากกว่าคำว่าเพาะแยก” ธออธิบาย

เริ่นกล่าวว่า ตัวอย่างทางคลินิกของผู้ป่วยต้องสงสัยได้ถูกนำมาใช้ในหน่วยไมโครลิตร และทุกครั้งของการใช้งานมันจะไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก พร้อมระบุว่า ถ้าไวรัสสามารถแพร่พันธุ์ (passage) ได้อย่างเสถียร หลังจากการเพาะแยก มันจะกลายเป็นเชื้อที่ มีชีวิต ซึ่งจะเป็นทรัพยากรการวิจัยที่ยั่งยืน และการวิจัยเพื่อติดตามผลจะเกิดขึ้นได้ด้วยการทำให้ไวรัสเติบโตและแพร่พันธุ์ในห้องปฏิบัติการ

ตัวอย่างที่เราได้มามักผ่านการถูกแช่แข็งและละลายมาแล้วหลายครั้ง ก่อนจะมาถึงห้องปฏิบัติการ จึงมีผลกระทบอย่างมากต่อความสมบูรณ์ของอนุภาคไวรัสและประสิทธิภาพของไวรัสในการบุกเข้าสู่เซลล์ และส่งผลกระทบต่อการเพาะแยกไวรัส” เริ่นระบุ

การถูกแช่แข็งและละลายซ้ำไปมา ทำให้ไวรัสเพิ่มจำนวนได้ยาก เราต้องดำเนินงานภายใต้หลักความปลอดภัยทางชีวภาพระดับที่ 3 ด้วยหลอดแบบเอียง (inclined tubes) ที่ใช้เป็นการพิเศษเพื่อลดปริมาณการให้เชื้อ (inoculation) และใช้หลอดทดลองแบบแยกเดี่ยวเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อข้ามในตัวอย่าง”

XxjpbeE007778 20200313 PEPFN0A001 scaled 1

เธอกล่าวว่าไม่กี่วันหลังจากเซลล์ตัวอย่างได้รับเชื้อ เซลล์จะแสดงผลทางพยาธิวิทยา ซึ่งบ่งชี้ว่าไวรัสได้เริ่มกระบวนการทำซ้ำในเซลล์แล้ว กล่าวอย่างง่ายก็คือเราเริ่มเลี้ยงมันได้แล้ว

ทีมวิจัยของเริ่นยังพยายามปรับปรุงวิธีการตรวจหาเชื้อไวรัสอย่างต่อเนื่อง รวมถึงติดตามการผันแปรของไวรัส พวกเขาใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมในการทำให้แอนติเจนของไวรัสมีความบริสุทธิ์ และพัฒนาน้ำยาตรวจหาแอนติบอดีในซีรัม (serum) โดยนำวิธีเคมีลูมิเนสเซน (Chemiluminescence) มาช่วยในการวินิจฉัยทางคลินิก

เริ่นกล่าวด้วยว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้จะถูกเก็บรักษาไว้เพื่อให้องค์กรหรือนักวิทยาศาสตร์สามารถใช้มันได้อีกในอนาคต สถาบันการเก็บรักษาไวรัส ที่ได้รับการยอมรับจากประชาคมนักวิชาการระหว่างประเทศ จะทำการขึ้นทะเบียนให้เชื้อไวรัสนี้อย่างระมัดระวัง ซึ่งจะระบุอย่างละเอียด ทั้งชื่อลักษณะจีโนมค่าไตเตอร์ (Titer) หรือความเข้มข้นของไวรัส รวมถึงวิธีการเพาะเลี้ยงไวรัส

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ ถูกเพาะแยกครั้งแรกโดยผู้เชี่ยวชาญชาวจีน และเราสามารถใช้มันเป็นแม่แบบเพื่อทำให้กระบวนการสร้างมาตรฐานสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น” เริ่นทิ้งท้าย

ที่มา สำนักข่าวซินหัว

Avatar photo