Business

‘เรือด่วนเจ้าพระยา-คลองแสนแสบ’ หยุดวิ่่งชั่วคราว เพื่อความปลอดภัยผู้โดยสาร

“เรือด่วนเจ้าพระยา-เรือโดยสารคลองแสนแสบ” ประกาศหยุดให้บริการชั่วคราว เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด

939FB66F 96D8 4A7B B8EC 8C6A9207E348

วันนี้ (26 มี.ค.) เพจเฟซบุ๊ก กลุ่มผู้โดยสารเรือคลองแสนแสบ ได้โพสต์ภาพประกาศของบริษัท ครอบครัวขนส่ง (2002) จำกัด ผู้ให้บริการเรือโดยสารในคลองแสนแสบ เส้นทางผ่านฟ้าลีลาศ-วัดศรีบุญเรือง ที่แจ้งการหยุดเดินเรือต่อผู้โดยสาร โดยมีข้อใจความหลักดังนี้

เนื่องจากขณะนี้เกิดสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19 บริษัทจึงขอหยุดเดินเรือชั่วคราวตั้งแต่พรุ่งนี้ (27 มี.ค.) เป็นต้นไป เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร เมื่อสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ จึงเริ่มเดินเรืออีกครั้ง โดยการหยุดเดินเรือชั่วคราวในครั้งนี้เพื่อประโยชน์ของสาธารณะและประเทศชาติ

90807503 3017514981670225 1120446848859897856 n
ขอบคุณภาพจากเพจเฟซบุ๊ก กลุ่มผู้โดยสารเรือ คลองแสนแสบ

นายเจริญพร เจริญธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ผู้ให้บริการเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยา เส้นทางปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี-ราษฎร์บูรณะ เปิดเผยว่า บริษัทขอแจ้งหยุดให้บริการเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยาทุกธงเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2563 ถึงวันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2563 เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร และเพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์การแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 ยุติลงได้โดยเร็ว

“การหยุดให้บริการชั่วคราวดังกล่าวถือเป็นการส่งเสริมมาตรการของรัฐบาลให้ประชาชนอยู่บ้าน แต่หากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 คลี่คลายลงเร็ว ทางบริษัทก็จะกลับมาเปิดให้บริการเร็วกว่าที่กำหนดไว้ แต่หากสถานการณ์ยังยืดเยื้อ และจำเป็นต้องหยุดให้บริการออกไปอีกทางบริษัทก็จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทันที” นายเจริญพรกล่าว

นายเจริญพร กล่าวต่อว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อจำนวนผู้โดยสารของเรือด่วนเจ้าพระยาอย่างมาก ล่าสุดมีผู้ใช้บริการเหลืออยู่เพียง 20 % หรือประมาณ 8,000 คนต่อวันเท่านั้น จากปกติอยู่ที่ 34,000 คนต่อวัน ทำให้รายได้ของบริษัทลดลงจากประมาณวันละกว่า 5 แสนบาท เหลือเพียงประมาณกว่า 1 แสนบาทต่อวัน

เรือด่วนเจ้าพระยา

นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่รัฐบาลนำมาตรการเว้นระยะห่างทางสัมคม (Social Distancing) มาใช้ในระบบขนส่งสาธารณะ เรือด่วนเจ้าพระยาก็ได้นำมาปรับใช้ภายในเรือด้วย โดยพบว่าทำให้เรือบรรทุกผู้โดยสารได้เพียงเที่ยวละ 20 คน จากเดิมบรรทุกได้ 80 คน ประกอบกับปัญหาการแพร่ระบาดยังทำให้ปริมาณผู้โดยสารลดลงอย่างมาก และภาครัฐยังมีการออกประกาศพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพื่อลดการเคลื่อนย้ายคน เรือด่วนเจ้าพระยาจึงตัดสินใจประกาศหยุดให้บริการในที่สุด

Avatar photo