General

‘COVID-19’ ติดต่อผ่านทาง ‘ดวงตา’ ได้หรือไม่ ?

จักษุแพทย์ ไขข้อข้องใจ โรคไวรัส COVID-19 ติดต่อผ่านทางดวงตาได้หรือไม่ ? หมอ เผย หาก ผู้ติดเชื้อไอจามใส่หน้าโดนตา ไหลเข้าโพรงจมูกได้ หรือ สัมผัสสารคัดหลั่ง จากตาผู้ติดเชื้อโดยตรง 

พญ.สายจินต์ อิสีประดิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบ
สายจินต์ อิสีประดิฐ

พญ.สายจินต์ อิสีประดิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์(วัดไร่ขิง) กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคที่เกิดจากไวรัส COVID-19 (โควิด-19 ) ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ มีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ มีการศึกษาวิจัยในประเทศจีน พบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 จะมีอาการตาแดงร่วมด้วยประมาณ 0.8 % เท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีรายงาน การตรวจพบเชื้อไวรัสนี้ในน้ำตา และสารคัดหลั่งเยื่อบุตาอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันเชื้อไวรัสนี้ สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คน ได้โดยได้รับสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย ที่มีเชื้อโรค ผ่านทางระบบทางเดินหายใจ

อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ มีคำถามที่ประชาชนให้ความสนใจว่า “แล้วไวรัสชนิดนี้จะติดต่อทางตาได้หรือไม่ ? “

พญ.ดวงดาว ทัศณรงค์ จักษุแพทย์เชี่ยวชาญโรงพยาบาลเมตาประชารักษ์ กล่าวชี้แจ้งว่า เนื่องจากดวงตามีทางติดต่อกับโพรงจมูกโดยมีการระบายน้ำตา และสารคัดหลั่งเยื่อบุตาผ่านท่อระบายน้ำตาเข้าสู่โพรงจมูก ดังนั้น ถ้าได้รับเชื้อเข้าสู่ดวงตาในปริมาณที่มากพอ เช่น ถูกไอ หรือ จามใส่หน้าโดยตรง และมีสารคัดหลั่ง ที่มีเชื้อไวรัสชนิดนี้เข้าสู่ดวงตา ก็อาจจะมีความเป็นไปได้ที่ สารคัดหลั่งเหล่านี้ จะถูกระบายเข้าสู่โพรงจมูก

แต่โดยทั่วไปแล้ว ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรค COVID-19 ไม่สามารถลอยอยู่ในอากาศได้ด้วยตัวมันเอง แต่จะอยู่ในน้ำมูก หรือน้ำลายของผู้ป่วย ที่ถูกไอ หรือจามออกมา

ดังนั้น ถ้าเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมปกติโดยทั่วไป โอกาสที่จะมีไวรัสลอยเข้ามาสู่ดวงตา และระบายเข้าสู่เยื่อบุโพรงจมูกนั้นเป็นไปได้ต่ำมาก และปัจจุบัน ยังไม่มีรายงานการติดเชื้อผ่านทางดวงตา

ส่วนการติดเชื้อจากการได้รับเชื้อ จากน้ำตา หรือสารคัดหลั่ง เยื่อบุตา ของผู้ป่วยนั้น เนื่องจากมีรายงานการพบเชื้อ COVID-19 ในน้ำตา และสารคัดหลั่งเยื่อบุตา ดังนั้น ถ้ามีการสัมผัส ของสารคัดหลั่งดังกล่าว จากตาผู้ติดเชื้อ และนำเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ก็อาจมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ ถ้าในสารคัดหลั่งดังกล่าวมีเชื้อไวรัสชนิดนี้อยู่

จึงควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำวิธีป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างเคร่งครัด 7 ข้อ ดังนี้

1.หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมีมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอ จาม

2.เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุก ทั้งเนื้อสัตว์ไข่ และผักสด ผลไม้

3.หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำ และสบู่นานอย่างน้อย 20 วินาที หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ลูบมือจนกว่าจะแห้ง

4.ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น

5. ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว  เนื่องจากเชื้อก่อโรคทางระบบทางเดินหายใจ สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัส สารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ

6. รักษาร่างกาย ให้อบอุ่นอยู่เสมอ

7. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

และหากมีความจำเป็นต้องเดินทางไป พื้นที่เสี่ยงต่างประเทศ เมื่อหลังเดินทางเข้าประเทศไทย ภายใน 14 วัน แนะนำให้สังเกตอาการ หากมีไข้ ร่วมกับอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอมีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้สวมหน้ากากอนามัย แล้วล้างมือ และรีบไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง

เนื่องจากมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน ปอดบวม และอาการรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

Avatar photo