Business

คืนเงินประกันวุ่น! ประชาชนแห่ลงทะเบียน เว็บล่ม-ข้อกังขาเพียบ 2 ไฟฟ้าเร่ง ‘เคลียร์’

วุ่นวายหนัก ! ประชาชน แห่ลงทะเบียน คืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า จนเว็บล่ม ข้อกังขาเพียบ 2 ไฟฟ้า เร่งชี้แจ้งข้อสังสัย ประกาศ ให้ทยอยลงทะเบียน โครงการไม่มีกำหนดสิ้นสุด ย้ำได้เงินคืนแล้ว สิทธิ์เหมือนเดิม “สนธิรัตน์” ช่วยเคลียร์มิเตอร์บ้านไหนเสียหาย การไฟฟ้าเปลี่ยนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เหตุตัวมิเตอร์เป็นทรัพย์สินของการไฟฟ้า   

thumbnail 56 คอป

 

thumbnail 55 คอป 1

รายงานข่าวแจ้งว่าวันนี้ (25 มี.ค.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)และการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)เปิดลงทะเบียนรับ “เงินประกันการใช้ไฟฟ้า” คืนเป็นวันแรกผ่านเว็บไซต์ pea.co.th และ mea.or.th ปรากฏว่า “เว็บล่ม” ได้มีประชาชนร้องเรียนเป็นจำนวนมากว่าทั้ง 2 เว็บไซต์ไม่สามารถดำเนินการผ่านระบบได้ เนื่องจากมีผู้ใช้งานจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้ทั้ง 2 การไฟฟ้าอยู่ระหว่างการเร่งแก้ไข โดยวันนี้วันเดียวมีผู้ลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์มากกว่า 1 ล้านคนแล้ว

โดยทั้ง 2 การไฟฟ้า ประกาศแจ้งขอความร่วมมือประชาชน ให้ประชาชนทยอยลงทะเบียน และให้มาทางออนไลน์เท่านั้น เพราะการขอคืนไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด และย้ำไม่ให้ไปยังสำนักงานสาขา ป้องกันประชาชนไปรวมตัวแออัดในสาขา เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

S 32825382

ส่วนประเด็นความเข้าใจผิดต่อสิทธิ์ผู้ขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าในสื่อโซเชียล กรณีกฟภ.ตอบคำถามประชาชนผ่านเพจ ว่า การขอคืนหลักประกันการใช้ไฟฟ้า จะถูกตัดสิทธิ์ต่าง ๆ หากขอคืนนั้น การไฟฟ้า ประกาศขออภัย เนื่องจากแอดมินเพจ เป็นบุคคลภายนอก จึงตอบชี้แจงประชาชนผิด โดยกองประชาสัมพันธ์ กฟภ.ชี้และอธิบายว่า เงินประกันการใช้ไฟฟ้า เก็บกรณีไม่จ่ายค่าไฟฟ้า หรือค่าเสียหายอื่นๆ ไม่เกี่ยวกับมิเตอร์แต่อย่างใด ผู้ที่ขอคืนหลักประกันการใช้ไฟฟ้าไปแล้ว จึงยังได้รับบริการต่าง ๆ เช่นเดิม ไม่มีการถูกตัดสิทธิ์แต่อย่างใด นอกจากนี้การงดจ่ายไฟฟ้าในปัจจุบัน ก็ไม่สามารถทำได้เลย มีกฎระเบียบและขั้นตอนมากขึ้น แม้จะมียอดค้างชำระก็ตาม 

S 2514953

โดยนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ออกโรงชี้แจงว่า ได้ติดต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง จากกระแสข่าวที่เกิดขึ้น  โดยในข้อเท็จจริงไม่ได้มีการเปลี่ยนเงื่อนไขใด ๆ จากเดิม ส่วนมิเตอร์ไฟฟ้าเป็นของการไฟฟ้าทั้งสองแห่งอยู่แล้ว

ถ้าหากผู้ใช้ไฟฟ้าได้ทำมิเตอร์ไฟฟ้าเสียหายอันเกิดจากการใช้งานของตนเอง เช่น แตก หรือใช้ไฟฟ้าเกิน ก็ต้องรับผิดชอบ ซ่อมแซม หรือต้องเปลี่ยนมิเตอร์ ไม่ว่าจะมีเงินประกัน หรือไม่มีเงินประกัน ส่วนมิเตอร์ไฟฟ้าที่มีอายุการใช้งานมานานเสื่อมสภาพ หรือเกิดจากภัยธรรมชาติ ที่ทำให้เสียหาย กรณีนี้ไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น ถือว่าเป็นเงื่อนไขเดิม

โดยขอยืนยันว่าประชาชนจะไม่มีการเสียสิทธิ์จากเดิมที่มี และไม่เกี่ยวข้องกับการไปขอรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าคืน และขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก เกิดความเข้าใจผิดเพราะนโยบายนี้คือนโนบายที่กระทรวงพลังงาน หน่วยงานด้านพลังงานต้องการช่วยพี่น้องประชาชนในเวลาที่ยากลำบากอย่างแท้จริง

ทั้งนี้จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าที่จะได้รับเงินคืนครั้งนี้ รวมประมาณ 21.5 ล้านรายทั่วประเทศ  คิดเป็นวงเงินคืน รวมประมาณ 30,000 ล้านบาท โดยกำหนดวันลงทะเบียนออนไลน์ 25 มีนาคมนี้ และเริ่มทะยอยคืนเงิน 31 มีนาคม 

Avatar photo