General

ป่วยหนักแนวโน้มเพิ่ม! 4 รายต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ-เฝ้าระวังใกล้ชิด ‘เซียนมวย’ ดับแล้ว 1

ย้ำอาการผู้ป่วยหนักไวรัส COVID-19 จำนวน 4 ราย ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด ด้านผู้เสียชีวิต 1 ใน 3 เป็นเซียนมวย อายุ 79 โรคประจำตัวหลายโรค ชี้แนวโน้มผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มแน่นอน  หมอ-พยาบาล-เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 4 รายติดเชื้อด้วย อยู่ใน 3 จังหวัด ยะลา บุรีรัมย์ และนครปฐม เหตุผู้ป่วยไม่แจ้งประวัติ  ประกาศ! ผู้มีประวัติไปสถานที่ 25 แห่ง ใน 7 จังหวัด รายงานตัวด่วน! ให้ติดตามที่เพจ “ไทยรู้ สู้โควิด”

ANN 1070

วันนี้ ( 24 มี.ค.)  ที่ศูนย์แถลงข่าวมาตรการแก้ไขปัญหาโรคโควิด-19 ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์โรคไวรัส COVID-19 ประจำวันที่ 24 มีนาคม ว่า ยอดผู้ป่วยรายใหม่วันนี้เพิ่ม 106 ราย ยอดสะสม 827 ราย ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่ม 3 ราย รวม เสียชีวิต 4 ราย และมีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อด้วย 4 ราย กลับบ้าน 5 ราย สะสมกลับบ้าน 57 ราย รักษาตัวในรพ. 766 ราย มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังสอบสวนโรคสะสมตั้งแต่ วันที่ 3 มกราคม – 23 มีนาคม 2563 รวม 11,807 ราย

สำหรับกลุ่มผู้ติดเชื้อรายใหม่ เกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้  25 ราย

  • กลุ่มสนามมวย 5 ราย จากสนามมวยลุมพินี ราชดำเนิน เป็นผู้ชม เซียนมวย จากกรุงเทพ นครปฐม สมุทรสาคร อุบลราชธานี
  • กลุ่มสถานบันเทิง 6 ราย จากย่านทองหล่อ RCA นานา เป็นนักท่องเที่ยว พนักงานเสิร์ฟ จากจังหวัด สระบุรี กรุงเทพ บุรีรัมย์ ชลบุรี
  • กลุ่มสัมผัสใกล้ชิด ผู้ป่วยที่มีการรายงานมาแล้ว  12 ราย เป็นพนักงานขายเสื้อผ้า เซียนมวย พนักงานบริการ ทำงานราชการ ประวัติกินข้าวกับผู้ป่วย กินเลี้ยง ดื่มสุรา ที่สถานบันเทิง และใกล้ชิดกับผู้ป่วยจากสนามมวย อีกกลุ่มเป็นผู้ร่วมพิธีกิจกรรมทางศาสนาอีก 2 ราย ในจังหวัดปัตตานี

กลุ่ม 2 จำนวน 34 ราย กลับมาจากต่างประเทศ เป็นชาวต่างชาติ 20 ราย คนไทย 8 ราย เป็พนักงานต้อนรับบนเครื่อง นักศึกษา พนักงานที่ทำงานในร้านที่ปอยเปต ต่างชาติ 12 ราย เป็นชาว ฝรั่งเศส สวีเดน ปากีสถาน อังกฤษ นิวซีแลนด์ และอีกกลุ่ม ทำงานในสถานที่แออัด ใกล้ชิดผู้ป่วย และใกล้ชิดชาวต่างชาติ เกี่ยวโยงกับรปภ. พนักงานรับรถ พนักงนขับรถส่งนักท่องเที่ยว แท็กซี่ พนักงานเสิร์ฟ มักคุเทศก์ ทำงานในสถานบันเทิง ที่กรุงเทพ จันทบุรี  บุรีรัมย์ อุบลราชธานี  ภูเก็ต นครราชสีมา

และกลุ่มเป็นบุคลากรทางการแพทย์ 4 ราย เป็นแทพย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในจังหวัดยะลา บุรีรัมย์ และนครปฐม  เราเป็นห่วงกลุ่มนี้ เพราะเป็นกลุ่มก้อนใหม่ ที่เราเป็นห่วงตั้งแต่แรก เกิดจากผู้ป่วยไม่แจ้งประวัติเสี่ยงมาก่อน ทำให้บุคลากรไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ และได้รับเชื้อ ส่งผลต่อการบริการสาธารสุข โดยทั้ง 4 ราย อยู่รพ.แล้ว และรอดูอาการ แต่อาการไม่น่าเป็นห่วงมาก  กลุ่ม 3 ได้รับผลตรวจเชื้อ และสอบสวนโรค  47 ราย

เพิ่มเติมวันนี้ คือ ผู้ป่วยอาการหนัก 4 ราย จาก 7 ราย อีก 3 รายเสียชีวิต อาการหนักตัวเลขยังเพิ่มขึ้น รอการรายงานจากส่วนกลางและภูมิภาค โดยทุกรายใช้ท่อช่วยหายใจ และต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

สำหรับผู้เสียชีวิตเพิ่ม 3 ราย 2 รายแรกเป็นชาวไทย อายุ 70 ปี เป็นผู้ป่วยวัณรคโรคร่วมด้วย ที่ป่วยมาก่อนหน้านี้  โดยเสียชีวิตวานนี้ อีก 1 ราย อายุ 79 ปี เป็นเซียนมวยในสนามมวย อาการหนักตั้งแต่แรกรับ เข้ารับการรักษาเมื่อ 16 มีนาคม มีโรคประจำตัวหลายโรค  ทั้ง 2 ราย รักษาที่สถาบันบำราศนราดูร อีกรายเป็นชาวไทยอายุ 45 ปี มีโรคเบาหวาน และภาวะโรคอ้วน รักษาอยู่ที่รพ.เอกชน

สำหรับการจัดงานศพ ขอย้ำว่า ไวรัส COVID-19 ติดต่อจากสารคัดหลั่งไอจาม และพูดคุย ย้ำว่ากรณีศพไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อโรคได้ ญาติพี่น้องทั้งหลาย ทำพิธีกรรมได้ตามปกติ แต่คนที่ไปร่วมงานควรกังวลมากกว่า ศพเอง ที่ต่างไปร่วมชุมนมในงานศพ ต้องมีระยะหว่าง เพราะเชื้อโรคอยู๋กับคนปกติมากกว่า

นพ.ทวีศิลป์ ระบุว่า ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำข้อมูลสถานที่ชุมนุมชน ที่มีประกาศให้ผู้เกี่ยวข้องเฝ้าระวังตนเองใน 25 แห่ง ใน 7 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี, ขอนแก่น, กทม., สงขลา, นครราชสีมา, นนทบุรี และสุรินทร์ โดยผู้ที่อยู่ในสถานที่ และช่วงเวลาตามประกาศ

ขอให้รายงานตัวต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ได้แก่ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด, ผู้ว่าราชการจังหวัด, ผอ.โรงพยาบาล, นายอำเภอ, สาธารณสุขอำเภอ, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, อสม., ผู้นำชุมชนทันที

และให้กักกันตนเองและสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วันอย่างเคร่งครัด หากมีไข้ มีอาการระบบทางเดินหายใจให้รีบพบแพทย์ทันที ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลประกาศสถานที่พบผู้ป่วยโควิด-19 ได้ที่ เว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค และเพจ “ไทยรู้ สู้โควิด”

ขอย้ำเตือนประชาชน ช่วยกันรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เว้นระยะห่างระหว่างกัน 1 -2 เมตร งดและลด การเดินทางโดยไม่จำเป็น ไม่ไปในพื้นที่แออัด แยกสำรับอาหารไม่ใช้ช้อน ถ้วย ชาม แก้วน้ำร่วมกัน หากมีอาการโรคระบบทางเดินหายใจ ไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ให้สวมหน้ากากอนามัยไปพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติเสี่ยง ขอให้ทุกคนร่วมมือกันเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไปในวงกว้าง ลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ให้มีน้อยที่สุด

สำหรับสถานการณ์ทั่วโลกใน 192 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 เรือสำราญ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 24 มีนาคม 2563 (07.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 366,866 ราย เสียชีวิต 16,098 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 81,093 ราย เสียชีวิต 3,270 ราย อิตาลีพบผู้ป่วย 63,928 ราย เสียชีวิต 6,078 ราย

increse 24Mar 01 ปก 1

005 24Mar Infections Total 01 ปกไลน

 

 

 

Avatar photo