General

วอนคนกรุง หยุด! เคลื่อนย้ายเด็ดขาด เสี่ยงเชื้อแพร่ทั่วประเทศ เหตุสถิติภูธรพุ่งแรง

หวั่นสถิติเปลี่ยน! ยอดติดเชื้อภูธรกำลังพุ่ง ทีมหมอศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินฯ ประสานเสียง วอนคนกรุง “หยุด” เคลื่อนย้ายเด็ดขาด ป้องกันเชื้อกระจายทั่วประเทศ เหต “กรุงเทพ” เป็นพื้นที่ระบาด คนกรุงเสี่ยงสูงติดไวรัส COVID-19 เตรียมพร้อมระดับหมู่บ้าน-อำเภอรับมือแล้ว

1v22v0sar18kk00sc8 1

การที่มีผู้ป่วยไวรัส COVID-19 เพิ่มขึ้นจากหลักสิบเป็นหลักร้อยเพียงช่วงเวลาไม่กี่วัน ทำให้คนไทยอึ้ง จากไม่เคยคิดว่าจะมีการแพร่ระบาดรุนแรงในประเทศไทย คิดว่าอะไรๆ น่าจะกลับมาเป็นปกติไม่เกินมีนาคม

แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เดือนมีนาคม กลับพบยอดติดเชื้อพุ่งแรง และพบเป็นกลุ่มก้อนภายในสัปดาห์เดียว จาก 30 คน เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ไล่ทุบสถิติเรื่อยมา เป็น 35 คน 60 คน 50 คน 89 คน วันนี้  22 มีนาคม ผู้ติดเชื้อกระโดดเป็น 188 คน และเป็นที่รู้ว่ากลุ่มก้อนใหญ่ติดมาจาก สนามมวย ผับ และยังไม่หยุดง่ายๆ ยอดการแพร่ระบาดในกรุงเทพพุ่งเป็นอันดับ 1

 

ไวรัส22

มาดูสัดส่วนตัวเลขผู้ติดเชื้อกรุงเทพ/ต่างจังหวัด ณ วันที่ 19 มีนาคม สัดส่วน 213 คน/59 คน อย่างไรก็ตามสถานการณ์กำลังพลิกผัน สัดส่วนนี้กำลังเปลี่ยนแปลง เป็น 247 คน/75 คนในวันถัดมา เป็น 284 /127 คน  และสัดส่วนนี้เกือบมาเท่ากันในวันนี้ ( 22 มี.ค.) หรือสัดส่วน 363/236 หลังจากที่เซียนมวยไม่น้อย ออกจากสนามมวยลุมพินี ราชดำเนิน และจิตเมืองนนท์  กระจายตัวกันกลับบ้านต่างจังหวัด

ไม่ได้การณ์ กระจายทั่วประเทศแน่ เมื่อเห็นสัญญาณการเดินทางเคลื่อนย้าย ของคนที่มาทำงานกรุงเทพ กำลังกลับบ้านในต่างจังหวัด หลังจาก หลายหน่วยงาน และหลายองค์กรออกมาตรการทำงานที่ “บ้าน” ประกอบมาตรการปิดสถานที่หลายแห่งของกทม. ทำให้คนที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพ คิดตรงกันว่า “ไหนๆ” อยู่กรุงเทพก็ไปไหนไม่ได้ ขอกลับต่างจังหวัดไปอยู่กับพ่อแม่ปู่ย่าตายาย หรือลูกหลานเสียตอนนี้เลยจะดีกว่า และต่างกำลังเดินทางออกนับหมื่นคน

รูปการณ์เป็นแบบนี้ ตัวเลขผู้ติดเชื้อต่างจังหวัด มีโอกาสพุ่งทะยาน แซงหน้ากรุงเทพ ขณะที่ความพร้อมของสถานพยาบาลในการรับมือไวรัสตัวแสบนี้ ไม่พอรับคนป่วยไวรัส COVID-19 แน่นอน

เห็นดั่งนี้ กรมควบคุมโรค โดยคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ต้องร่อน หนังสือด่วน ลงวันที่ 21 มีนาคม 2563 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในฐานะประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ขอความร่วมมือจัดทำแผนปฏิบัติการค้นหา เฝ้าระวัง และป้องกันโรคระดับอำเภอ และหมู่บ้าน โดยให้ทุกจังหวัดดำเนินมาตรการ 4 ข้อ คือ

1.จัดตั้งทีมอาสา โควิด -19 ระดับอำเภอ และหมู่บ้าน เพื่อค้นหา และเฝ้าระวัง

2. จัดทำฐานข้อมูลของผู้เดินทางกลับจากกรุงเทพ และปริมณฑล ที่มาถึงภูมิลำเนา ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2563 เป็นต้นไป

3. ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้เดินทางกลับมาจากกรุงเทพ และปริมณฑล เพื่อแยกตัวสังเกตอาการไข้ และอาการทางเดินหายใจทุกวัน และหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้อื่น ในที่พำนักหรือที่พักอาศัยจนครบ 14 วัน นับจากวันที่เดินทางมาถึงภูมิลำเนา

4. แจ้งผู้เดินทางกลับมาจากกรุงเทพ และปริมณฑล ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ดังต่อไปนี้

  • ไม่รับประทานอาหาร และใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น
  • ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว หมอน ผ้าห่ม แก้วน้ำ ซ้อนส้อม
  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำ และสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการพูดคุย ใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง
  • หากมีไข้และอาการทางเดินหายใจ ให้สวมใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า และรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่โดยทันที

หมอชิต1

รวมถึงร่อนหนังสือถึงผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย อธิบดีกรมขนส่งทางบก คัดกรองผู้โดยสาร ที่เดินทางออกจากกรุงเทพ และปริมณฑล ให้ดำเนิน 6 มาตรการ ดังนี้

1.ทำความสะอาดสถานี ยานพาหนะก่อน และหลังเดินทาง เน้นพื้นที่สัมผัสร่วม เช่น ราวจับบันได ประตู ห้องน้ำ

2.เก็บบันทึกข้อมูลผู้เดินทาง

3.คัดกรองผู้โดยสารก่อนออกจากสถานี หากมีไข้หรือระบบทางเดินหายใจให้งดเดินทาง

4. ให้คำแนะนำผู้โดยสารเรื่องการป้องกันโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น หมั่นล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าลดความแออัดผู้โดยสาร จัดที่นั่งให้เว้นระยะห่าง

5.ให้คำแนะนำผู้โดยสารเรื่องการป้องกันโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น หมั่นล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า

6. เมื่อถึงเดินทางถึงสถานีปลายทางหากพบผู้โดยสารมีไข้ ไอ และอาการระบบทางเดินหายใจ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อรายงานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่

นพ.ชิโนรส ลี้สวัสดิ์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ย้ำว่า ตอนนี้กรุงเทพกำลังระบาดเหมือนญี่ปุ่นเมื่อเดือนก่อน จึงต้องมีการจำกัดการเดินทาง ผู้อยู่กรุงเทพไม่ควรออกไปต่างจังหวัด คนต่างจังหวัดก็ไม่ควรมากรุงเทพ เหตุผลรองรับมี 4 ข้อ ดังนี้

1.สถานการณ์ตอนนี้ของกรุงเทพ คือ ความเสี่ยงอยู่รอบตัวเรา ไม่รู้ได้เลยว่าใครติดเชื้อบ้าง 

2.หากคนกรุงเทพออกไปโดยที่ไม่ป่วย เราไม่รู้ได้เลยว่า ตอนนี้ คนที่นั่งข้างๆนั้น อาจมีเชื้อไวรัส COVID-19 หรือไม่

3.หากเรา อยู่กรุงเทพแล้วป่วย ก็จะพาเชื้อไปแพร่ให้คนอื่น ซึ่งในต่างจังหวัด ย้ำว่าสถานพยาบาล ไม่สามารถรองรับคนป่วยจำนวน มากๆได้ เพราะผู้ที่มีอาการรุนแรงทุกคนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

4. หากเราป่วย อยู่ในกรุงเทพ ไม่ออกไปต่างจังหวัด ก็จะมีรพ.และอุปกรณ์พร้อมรองรับมากกว่า หากเป็น โอกาสหายได้เร็ว ไม่เสี่ยงเสียชีวิต ดังนั้นอยู่กทม.ดีที่สุดแล้ว

ไม่เพียงเท่านี้ นพ.โสภณ์ เอี่ยมศิริถาวร ที่รับผิดชอบในเรื่องการสอบสวนโรคโดยตรง ถึงกับเอ่ยว่า ตอนนี้ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อนหน้านี้ ผู้ติดเชื้ออยู่ในกรุงเทพ ตอนนี้กำลังแพร่ออกไปต่างจังหวัดแล้ว จากการเดินทาง หากปล่อยไป ตัวเลขผู้ติดเชื้อในต่างจังหวัดจะเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ 

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกกระทรวงสาธารณสุข บอกซ้ำว่า ยอดผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ทีมสอบสวนโรค ทำงานไม่ทัน ดังนั้นเราจะไม่โฟกัสเป็นรายบุคคล แต่จะโฟกัสผู้ติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน และยกระดับกรุงเทพ เป็นพื้นที่ควบคุมป้องกันโรค ให้ถือว่าคนที่อยู่กรุงเทพ ทุกคนเป็น “กลุ่มเสี่ยง”  และป้องกันออกไปต่างจังหวัด ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ

S 17752069

Avatar photo