General

ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินฯ วาง 8 มาตรการ รับมือไวรัส COVID-19 ระบาดวงกว้าง

วาง 8 มาตรการด้านการแพทย์ และสาธารณสุข รับมือไวรัส COVID-19 ระบาดวงกว้าง เดือนเมษายน เตรียมพร้อมเตียงจากรพ.ทุกสังกัด และรพ.เอกชนที่ร่วมมือ หารือสมาคมโรงแรม หอพัก สำรองที่พักฟื้น หากมีผู้ป่วยหลักพันคนต่อวัน โฟกัสพื้นที่กทม.เหตุมีผู้ป่วย 80-90% 

vidah9w7dlc88kk08c 2

วันนี้ ( 17 มี.ค.) ที่ศูนย์ปฏิบ้ติการฉุกเฉินด้านการแพทย์ และสาธารณสุข โดยนพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ระบุถึงหลายๆมาตรการ ที่บ่งบอกถึงการเตรียมรับมือสถานการณ์การระบาดวงกว้างของไวรัส COVID-19  ในช่วงปลายเดือนนี้ไปจนถึงเดือนเมษายน เพราะเคสสนามมวย และผับ ที่ติดกันเป็นโดมิโน และอีก 22 คน รอผลยืนยันทางห้องปฏิบัติการ และบางส่วน ยังตามตัวไม่ครบ ทำให้ระยะ 3 วัน หลังมีผู้ป่วยเพิ่มหลักสามสิบรายติดต่อกัน ล่าสุด ณ วันนี้ มีผู้ป่วยเพิ่มอีก 30 ราย สะสมแล้ว 177 ราย

9 2 e1582865781905 ตัด

โดยนพ.สุขุม ย้ำว่า จากการประมวลภาพผู้ป่วย พบว่า 80-90% อยู่ในเขตกทม. เราจึงต้องเตรียมรับมือการแพร่ระบาดในกทม.และปริมณฑล เป็นหลักในตอนนี้  

โดยเราได้ประมวลภาพการรับมือของกระทรวงสาธารณสุขล่าสุด ( 17 มี.ค.) ดังนี้

1.เตรียมเตียงสำรองเพิ่มได้แล้ว 234 เตียง และกำลังเพิ่มอีก จากรพ.ต่างๆ อาทิ สถาบันโรคทรวงอก รพ.ราชวิถี รพ.บางบัวทอง 2 รพ.เลิศสิน รพ.ในสังกัดกรมสุขภาพจิต อาทิ รพ.ศรีธัญญา สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา รวมถึง รพ.บางขุนเทียน รพ.ทุ่งสีกัน รพ.รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ศาลายา เป็นต้น

โดยจะมีการประชุมวันที่ 20 มีนาคม เพื่อสรุปยอดเตียงทั้งหมด กับรพ.ทุกสังกัด ทั้งสังกัด 3 เหล่าทัพ กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และกองทัพบก รวมถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รพ.สังกัดมหาวิทยาลัย สังกัดกทม. รวมถึงสังกัด กระทรวงสาธารณสุข ที่ได้เข้ามาบูรณาการการทำงานด้วยกันแล้ว เพื่อดูแลผู้ป่วยให้ครอบคลุม รวมถึงล่าสุดมีรพ.เอกชน พร้อมให้ความร่วมมือ ตัวเลขล่าสุดวันนี้ เฉพาะสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และกทม.มีเตียงรองรับผู้ป่วยไวรัส COVID-19 แล้ว  6,063 เตียง

bedroom 1285156 640

2. หารือกับสมาคมโรงแรม และหอพัก ที่เหมาะสม ใช้เป็นที่พักผู้ป่วย

3. แพทย์ และบุคลากร 4 แสนคน พร้อม

4. สำรวจเครื่องช่วยหายใจในรพ.ต่างๆ

5. ขยายแล๊ปตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19 จาก 40 แห่ง กำลังขยายเป็น 60 แห่ง เพิ่มศักยภาพตรวจได้ 10,000 ตัวอย่างต่อวัน จากปัจจุบัน 4,000-5,000 ตัวอย่างต่อวัน

6. ร่วมกับบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ ผลิตชุดตรวจ เชื้อไวรัส COVID-19 เองในประเทศ กำลังผลิต 1 ล้านชุดตรวจ จากเดิมต้องนำเข้า

7. พัฒนาวิธีการตรวจให้ง่ายและรู้ผลเร็วขึ้น

8. นำเข้า “ยาฟิพิราเวียร์” จากญี่ปุ่น มาเพิ่ม 40,000 เม็ด รองรับผู้ป่วยได้ 600-700 ราย

“เราไม่อยากให้ถึงจุดที่ต้องเลือกให้ใครอยู่ หรือตาย ทุกคนต้องช่วยกัน กระทรวงสาธารณสุข จึงต้องเตรียมแผนรองรับ ทั้งเตียง ยา และระบบส่งต่อ ให้ผู้ป่วยไม่ลำบาก และเตรียมหมอพยาบาล และบุคลากรให้พร้อมปรับเปลี่ยนไปสู่การดูแลผู้ป่วยไวรัส COVID-19 ขอย้ำว่า ให้คิดเสมอว่า การป่วยต้องอยู่ที่เราคนเดียว ไม่ไปต่อ ทุกคนจะรอด ” 

S 43933702

ด้านนพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบายว่า เราได้เตรียมมาตรการล่วงหน้า มาหลายเรื่องแล้ว ตั้งแต่การให้รับยาที่ร้านขายา ให้ทุกรพ.เปิดคลินิกไข้หวัด ทั้งนี้เพื่อลดความแออัดในรพ. และแยกการคัดกรอง  และหากมีผู้ป่วยมากขึ้นต่อวัน เช่น อาจเป็นพันคนต่อวัน ก็ได้หารือกับผู้ประกอบการโรงแรม หรือหอพักไว้ล่วงหน้า  หลักการคือ เมื่อผู้ป่วย ตรวจผลเป็นบวก หรือติดเชื้อ ผู้ที่มีอาการไม่หนักมาก นอนรพ. 2 วัน หรือ 48 ชม. หลังการประเมินไม่มีไข้ อาการดีขั้น แต่ต้องเฝ้าดูอาการ ก็จะใช้ โรงแรม และหอพัก ที่เหมาะสมดำเนินการ ซึ่งจะต้องมีการสำรวจต่อไป 

อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นนี้ รพ.ในสังกัดต่างๆ ก็มีความพร้อมรองรับผู้ป่วยที่อาจเพิ่มขึ้นหลายที่ และพร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ขอให้ทุกหน่วยงานองค์กร ทำความเข้าใจกับประชาชน เพราะบางพื้นที่  เช่น รพ.บางบัวทอง 2 ก็พบว่ามีประชาชนบางส่วนประท้วง ไม่อยากให้มีคนป่วยมาอยู่ใกล้ ขอให้ทุกภาคส่วนทำความเข้าใจ และให้ความรู้ประชาชน ว่า โรคนี้ติดต่อกันจากสารคัดหลั่งเท่านั้น หมายถึงต้องสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยระยะใกล้ ขอย้ำว่า หากเราทุกคนช่วยกัน เราจึงจะชนะโรคไวรัส COVID-19 

 

Avatar photo