Marketing Trends

กูรูซัพพลายเชน แนะแก้ปม ‘หน้ากากอนามัย’ ไม่ให้ ‘ขาดแคลน’

จากปัญหาหน้ากากอนามัยขาดแคลน จนเกิดคำถามว่า หายไปไหน ใช้วิธีบริหารจัดการอย่างไร ซึ่งล่าสุด เฟซบุ๊กแฟนเพจ “Think Right Strategy by Akarat” โดย เอกรัตน์ รุจิรเศรษฐกุล ที่ปรึกษา วิทยากร และผู้เชี่ยวชาญด้านซัพพลายเชนมากว่า 20 ปี ได้โพสต์ถึงปัญหาการจัดการหน้ากากอนามัยของรัฐบาลไว้อย่างน่าสนใจ โดยระบุว่า

coronavirus 4914028 1280

“การ (ไม่) จัดการหน้ากากอนามัย – มุมมองการจัดการซัพพลายเชน”

ต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมา การจัดการรับมือ #covid19 ไม่ได้เป็นการบริหารการจัดการที่รวดเร็วในสภาวะฉุกเฉิน (Crisis Management) แต่รู้สึกว่าเป็นการจัดการในสภาวะปรกติ Routine Management

(ที่น่าชื่นชมมากๆ และทำให้เรามั่นใจ คือ คุณหมอ และสาธารณสุข ที่ต่อสู้ และทุ่มเทเต็ม และหมอไทยเก่งมาก แต่ที่น่าเห็นใจคือ เหมือนแก้ปัญหานี้อยู้คนเดียวทั้งที่เรื่องนี้ ต้องร่วมมือกันทุกส่วนงาน)

ตัวอย่างการขาดการบริหารในภาวะฉุกเฉิน เช่น ภาวะผู้นำ การรวมศูนย์การจัดการสั่งการ (เช่น เรื่องนี้ใครเป็นผู้ติดสินใจ final call) ขาดการสื่อสารที่ชัดเจน หรือ Townhall meeting แบบที่ บริษัทต่างๆใช้เพื่อสื่อสารเรื่องสำคัญๆ) การวางแผนรับมือสถานะการณ์ การสื่อสาร การบริหารจัดการความเสี่ยง การจัดการคนเดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยง

ถ้าพูดไปก็มีหลายประเด็นในการจัดการโรคระบาดครั้งนี้ แต่ โพสนี้จะเทียบเคียงกับการบริหารซัพพลายเชน ในภาวะฉุกเฉิน

ผมจะลองไล้ไปทีละประเด็นจากมุมมองการจัดการซัพพลายเชน

โจทย์ – หน้ากากขาดแคลน และ กำลังการผลิต ไม่สามารถไล่ตามความต้องการ และ การกักตุน

การจัดการซัพพลายเชน คือ การบริหารจัดการ สินค้าและบริการ ข้อมูล และกระแสเงินสด จากวัดถุดิบ (ต้นน้ำ) ไปจนถึง ผู้บริโถค (ปลายน้ำ)

กิจกรรมหลักๆ ถ้าเอา SCOR model มาจับ ก็คือ Plan (การวางแผน), Source (การจัดซื้อ), Make (ผลิต), Deliver (การส่งมอบ), และ Return

เอกรัตน์1
เอกรัตน์ รุจิรเศรษฐกุล

การวางแผน (Planning)

คนที่ทำงานซัพพลายเชนจะรู้ดีว่า เมื่อสินค้าขาด หรือ กำลังจะขาด ถ้าฝ่ายขาย หรือ ลูกค้ารู้ ก็จะเกิดการกักตุน สิ่งที่เราจะทำกันทันที คือ ไม่ให้ฝ่ายขายจองสินค้าให้พวกเดียว หรือลูกค้าของตัวเอง
ฝ่ายซัพพลายเชน จะเป็นผู้จัดสรรสต็อค (Stock Allocation) และจัดลำดับความสำคัญ (Prioritization) โดยปรึกษาร่วมกับฝ่ายขายและฝ่ายบริหาร เราจะไม่ยอมให้ฝ่ายขาย เปิดออร๋เดอร์ กักตุน และ ทางซัพพลายเชน ก็จะแบ่งปันให้ตามลำดับความสำคัญ เช่น จัดสรรให้กับ หน่วยงานทางสาธารณสุข

การจัดซื้อจัดหา (Sourcing)

ในกรณีหน้ากากอนามัย จะเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในระดับโลก ผู้บริหารระดับสูงจะต้องลงมา ต่อรอง เร่งรัด ให้ซัพพลายเออร์ ส่งของให้มากขึ้นเร็วขึ้น เราต้องใช้ทั้งกำลัง ความสัมพันธ์คุยกับซัพพลายเออร์ เพื่อหาวัตถุดิบให้เรา

ตรงนี้ ผมยังไม่เห็น รัฐบาลลงมาช่วยคุยในระดับ G2G (สอบตก) เพื่อหาวัตถุดิบให้เรา

การผลิต (Make)

จากข้อมูลที่มี ถ้าเราผลิตได้วันละหลายล้านชิ้น สิ่งที่ต้องทำ คือ เพิ่มกำลังการผลิต เรายังมีโรงงานไหนที่สามารถทำได้บ้าง

virus 4931227 1280

การหาสินค้าทดแทน – หน้ากากผ้า

อันนี้สอบตกซ้ำซาก จัดฝึกอบรมการทำหน้ากากอนามัยเป็นความตั้งใจที่ดี แต่การมาอบรมร่วมกัน จะเป็นการแพร่เชื้ออีกหรือเปล่า?
ที่ควรจะต้องทำ ผมว่าตอนนี้ โรงงานเย็บผ้าเราคงไม่มีงานจะทำกัน รัฐบาลน่าจะให้โรงงานผลิต ซี่งผมเชื่อได้วันละหลายล้านชิ้น เพราะ โรงงานมีเครื่องจักรและมีทักษะในการทำเร็วกว่า

การส่งมอบและการกระจาย (Deliver)

ผมเห็นการกระจายด้วยรถ และคนเข้าคิวซื้อเป็นร้อยๆคน เป็นการกระจายสินค้าที่โบราณมากๆ วันนี้ การกระจายสินค้าถึงบ้าน พัฒนาไปไกลและสะดวกมาก แต่ก็ไ่ม่เลือกใช้

เรื่องที่สอบตกสุดๆ คือ การควบคุมเพื่อกระจายจัดสรรให้ทั่วถึง เราเห็นตัวอย่างที่ดีจากญี่ปุ่นที่ให้บัตร ปชช คุมการซื้อ ทำให้ ไม่สามารถซื้อกักตุนได้ ซึ่งเราก็ไม่เลือกทำ

สิ่งที่น่าทำ คือ กระจายไปตามร้านสะดวกซื้อทั่ว ปท คุมการซื้อด้วยบัตร ปชช ก็จะมีประสิทธิภาพมากกว่ามาก

สรุป

สิ่งที่ควรจะเป็น คือ การบริหารเชิงบูรณาการ Integrated Supply Chain ที่ไม่ใช่บริหารแบบแยกแผนก แยกการตัดสินใจ ไม่มีใครฟังใคร (SILO) ฃ

ผู้บริหารระดับสูงระดับสูง ผู้อำนวยการ หัวหน้าแผนก ต้องลงมาคลุกฝุ่น มือเปื้อน ไม่ใช่เอาแต่นั่งฟังรอรายงาน

ดังนั้น การบริหารหน้ากากอนามัย ผมว่า ไม่เป็นเป็นการบริหารที่ผิดพลาด แต่น่าจะเป็น การ(ไม่)บริหารจัดการมากกว่าครับ

ข้อมูลจาก : Think Right Strategy by Akarat

Avatar photo