Marketing Trends

แนะ 3 กลยุทธ์แบบฉบับ ‘สหพัฒน์’ ฟื้นส่งออกไทย 2.6 แสนล้าน

ภาคการส่งออกเป็นภาคที่สำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันมูลค่าการส่งออกลดลงอย่างรุนแรง จากการเกิดวิกฤติการเงินครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยในปี 2562 ที่ผ่านมา ภาคส่งออกของไทยติดลบถึง 2.7% มีมูลค่ารวม 246,244.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นายบุญชัย โชควัฒนา ประธานหลักสูตรนักบริหารยุทธศาสตร์ธุรกิจเชิงบวก (THE MASTER) ของสถาบันยุทธศาสตร์ธุรกิจเชิงบวก หรือ iSAB เปิดเผยว่า การฝ่าฟันให้วิกฤติการส่งออกของไทยผ่านพ้นไป ต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจทั้งในภาครัฐและเอกชน

container 3857639 960 720

ทั้งนี้ หลักสูตร THE MASTER รุ่นที่ 5 ของสถาบันยุทธศาสตร์ธุรกิจเชิงบวก ได้นำนำเสนอโครงการแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการส่งออก ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มพอเพียง ภายใต้แนวคิด MOP ตามแบบฉบับของสหพัฒน์ คือ Mission, Objective และ Policy ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน เข้าใจง่ายเพียงเป้าหมายเดียว จากนั้นกำหนด Objective ว่าสิ่งที่ต้องทำนั้นจะมีอะไรบ้าง หมายถึงต้องมีการกำหนดกลยุทธ์ (Strategy) โดยแต่ละกลยุทธ์จะต้องส่งผลให้บรรลุเป้าหมายของ Mission ที่ตั้งไว้

โจทย์การแก้ไขปัญหาด้านการส่งออกที่กลุ่มพอเพียงจาก THE MASTER รุ่นที่ 5 นำเสนอ เป็นแนวทางที่จะช่วยส่งเสริมและแก้ไขปัญหาให้การส่งออกไทยเติบโตขึ้น 5% ภายในปี 2563 ด้วยมูลค่า 260,000 ล้านบาท จากในปี 2562 โดยวางวัตถุประสงค์ 3 ประการไว้ดังนี้

1. พัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย (National Digital Trade Platform : NDTP) เพื่อเชื่อมโยงภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง คาดการณ์มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นได้ 2% ประกอบด้วย

  • การวางกลยุทธ์ในการพัฒนา NDTP เป็นการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้ภาคเอกชนผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านการส่งออกทุกคนอยู่ในดิจิทัลแพลตฟอร์มเดียวกัน โดยข้อมูลสำคัญสามารถส่งไปยังเป้าหมายได้แบบเรียลไทม์ผ่านดิจิทัลเทคโนโลยี
ISAB 05
บุญชัย โชควัฒนา
  • การรื้อกฏระเบียบและกฏหมายการค้าระหว่างประเทศและในประเทศ โดยมีการศึกษากฏหมาย และกฏระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก รวมถึงดำเนินการร่วมกับภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไข เพิ่มเติม หรือยกเลิกกฏหมาย กฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  • เชื่อมต่อกับ National Single Window ของภาครัฐ เพื่อเชื่อมต่อถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวกับด้านการส่งออก 37 แห่งเข้าไว้ด้วยกัน โดยตั้งคณะทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ และดำเนินการเชื่อมต่อเมื่อ NDTP แล้วเสร็จ
  • การเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มต่างประเทศ โดยการเจรจากับแพลตฟอร์มต่างประเทศ ซึ่งในอนาคตจะทำให้เกิด ASEAN Single Window ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและลดขั้นตอนการทำงาน ทำให้รวดเร็วขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้ 2% หรือราว ๆ 5,000 ล้านบาท

2. การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้กับสินค้าและบริการของประเทศไทย คาดการณ์มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นได้ 1% ด้วยวิธีการดังนี้

ส่งออก

  • การลดต้นทุนเพื่อโอกาสในการแข่งขัน โดยการใช้เทคโนโลยีทันสมัย เช่นเทคโนโลยีในการจัดงานต่าง ๆ, ระบบที่ช่วยวางแผนและจัดการฐานข้อมูลองค์กร, เครื่องจักรต่าง ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสินค้าที่ทันสมัย เป็นต้น รวมถึงการใช้พลังงาน โดยใช้ smart energy และการใช้พลังงานทดแทน
  • การเพิ่มผลิตภาพ โดยการใช้เอไอ เช่น การใช้โรบอทในการผลิตแทนแรงงานคน ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพในการผลิต โดยที่ไม่ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลกำลังคน นอกจากนี้ยังควรมีแรงงานคุณภาพ เพื่อช่วยผลักดันให้สินค้าและบริการได้มาตรฐานสู่สากล
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผ่านการออกแบบและการวิจัยและพัฒนา  ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างมูลค่าให้สินค้าและบริการได้ โดยเสนอให้ภาคเอกชนได้นำความรู้ต่าง ๆ จากภาครัฐมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์
  • การสร้างแบรนด์สินค้าและบริการของไทย จะผ่านการสร้าง Story-Telling โดยพูดให้เชื่อมโยงกับภูมิปัญญาไทยหรือเอกลักษณ์ความเป็นไทยต่าง ๆ เพื่อให้สินค้าและบริการของไทยมีความน่าสนใจในระดับโลกมากขึ้น และใช้คอนเซ็ปต์ คุณภาพไทย มาตรฐานโลก โดยใช้ T Mark ตราสัญลักษณ์ที่มอบให้กับสินค้าที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน สามารถออกไปสู่ระดับสากล

ISAB 06

3. การหาตลาดใหม่ คาดการณ์มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นได้ 2% สามารถทำได้โดย

  • การเร่งเจรจาข้อตกลงการค้า ในกลุ่ม RCEP กลุ่ม EU และ ประเทศอังกฤษ สำหรับกลุ่ม RCEP หากอินเดียเข้ามาเป็นสมาชิกในข้อตกลงทางการค้า ก็จะช่วยทำให้การส่งออกของไทยโตขึ้นได้ เนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่ใหญ่ ส่วนกลุ่มประเทศอียู ที่ได้ทำการค้าเสรีกับประเทศเวียดนาม หากประเทศไทยโน้มน้าวให้กลุ่มนี้มาทำการค้าเสรีได้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะเวียดนามนับเป็นคู่แข่งสำคัญของการส่งออกไทย และสุดท้ายคือการเจรจาการค้ากับประเทศอังกฤษ เนื่องด้วยประเทศอังกฤษกำลังจะออกจากการเป็นสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม 2564
  • การเร่งเปิดตลาดไปยังกลุ่มที่มีศักยภาพ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศในแถบรัสเซีย และกลุ่มแอฟริกาใต้ เพื่อให้ได้มูลค่าการส่งออกที่โตขึ้น
  • การค้าชายแดน โดยเน้นในประเทศกลุ่มซีแอลเอ็มวี ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีเรื่องของเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่อยากจะให้พิจารณาเพิ่มเติมในเรื่องการลดหย่อนภาษี และในเรื่องของระเบียบข้อบังคับในเขตเศรษฐกิจพิเศษ
  • การพัฒนาสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อกลับประเทศ โดยใช้ 2 วิธี คือการนำบิ๊กดาต้ามาช่วยกำหนดยุทธศาสตร์ เช่น นำข้อมูลไปพัฒนาสินค้าเพื่อให้ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มได้ โดยสามารถหาข้อมูลได้จากการทำ Social Listening ก็คือการเข้าไปดูความนิยมต่าง ๆ ในโซเชียลเน็ตเวิร์ก และสุดท้ายคือการขอความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ เช่นกระทรวงไอซีที กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในการแชร์ข้อมูลร่วมกับภาคเอกชน

ISAB 07

หลังจากกลุ่มพอเพียงได้เสนอโครงการดังกล่าวนี้แล้ว คณะกรรมการสถาบันได้นำเสนอโครงการนี้ต่อรัฐบาล โดยสถาบันมีความเห็นว่าโครงการดังกล่าวอาจเป็นมุมมองหนึ่งจากภาคธุรกิจ และอาจเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติได้

ด้านนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเข้ารับฟังการนำเสนอโครงการ ได้ให้ความคิดเห็นว่า แนวคิดที่นำเสนอมานั้น สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งการทำ NDTP จะเป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมระหว่างเอกชนกับเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ แปลว่าต่อจากนี้เมื่อส่งออกสินค้าหรือนำเข้าเราจะใช้ระบบดิจิทัลและอิเล็กโทรนิกส์ต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้กระบวนการต่าง ๆ ง่ายขึ้น ซึ่ง ณ วันนี้แพลตฟอร์มของ ASEAN Single Window ของ 10 ประเทศ เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว

ในเรื่องของการพัฒนามูลค่าสินค้าและบริการ ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มเป้าหมายหลักเป็นเอสเอ็มอี เช่น กลุ่มโอท็อป และกลุ่มนักธุรกิจท้องถิ่น ต่อไปต้องมีที่ยืนให้กลุ่มเหล่านี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ได้แสดงศักยภาพ โดยจะเน้นกลุ่มตลาดซีแอลเอ็มวี

Avatar photo