Business

เปิดมาตรการเอาตัวรอด ‘สายการบิน’ ฝ่าวิกฤติไวรัส

87172392 1131887860475806 1234826719920128000 n
สนามบินดอนเมือง กรุงเทพฯ วันที่ 19 ก.พ. 63

สนามบินที่ว่างเปล่า สะท้อนภาพอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกที่กำลังถูก “ไวรัสโควิด-19” เล่นงานอย่างหนัก โดยสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) พยากรณ์ว่า “ปีนี้จะกลายเป็นปีที่ยากลำบากอย่างมากสำหรับสายการบิน” ความต้องการเดินทางทางอากาศในปีนี้จะลดลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี และสายการบินในภูมิภาคแอเชียแปซิฟิคจะมีรายได้หายไป 27,800 ล้านดอลลาร์

สำหรับสายการบินสัญชาติไทย ซึ่งประสบปัญหาธุรกิจขาลงตั้งแต่ปีที่แล้ว ก็ออกอาการซวนเซอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เนื่องจากสายการบินทุกแห่งต้องปรับลดความถี่ของเที่ยวบิน จนถึงปิดเส้นทางเป็นการชั่วคราว โดยเฉพาะเส้นทางประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดหลัก

ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา สายการบินหลักหลายแห่งจึงเริ่มประกาศมาตรการลดผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 เพื่อรักษากระแสเงินสด (Cash Flow) ให้สายการบินสามารถรอดจากวิกฤติในครั้งนี้

fig 15 08 2019 04 33 43

“การบินไทย” ลดค่าใช้จ่าย ลดเที่ยวบิน

สายการบินไทย ในฐานะสายการบินแห่งชาติ (Flag carrier) ที่มีปริมาณการขนส่งผู้โดยสารมากถึงปีละ 24 ล้านคน ออกอาการซวนเซมาหลายปี และในปี 2562 อาการก็ทรุดหนักมากขึ้น ขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท

แต่โชคร้ายของการบินไทยก็ยังไม่หมด เมื่อไวรัสโควิด-19 เริ่มระบาดช่วงปลายปี 2562 และรุนแรงมากขึ้นในต้นปี 2563 ส่งผลให้การบินไทยต้องลดเที่ยวบินจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเส้นทางหลักที่สร้างกำไร

การบินไทยจึงต้องออกมาตรการรับมือวิกฤตไวรัสโควิด-19 (Covid-19 Readiness Condition: CoCon) จำนวน 5 ระดับ ไล่จากระดับที่ 5 เบาสุด ไปถึงระดับที่ 1 หนักที่สุด โดยระดับ 5 คือการจับตาดูสถานการณ์ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 และปัจจุบันได้ยกความเข้มข้นขึ้นสู่ระดับ 4 คือ ลดค่าใช้จ่ายและลดเที่ยวบิน

Airline P01 01

สำหรับแนวทางหลักของมาตรการระดับ 4 ได้แก่ การปรับลดเงินเดือนผู้บริหารระดับกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (DD) ในอัตรา 25%, ปรับลดเงินเดือนรองกรรมการผู้จัดการผู้อำนวยการใหญ่ (EVP) ในอัตรา 20%, ปรับลดเงินเดือนผู้อำนวยการใหญ่ (VP) หรือ กรรมการผู้จัดการ (MD) ระดับผู้อำนวยการใหญ่ในอัตรา 15% และปรับลดค่าพาหนะเหมาจ่ายของผู้บริหารตามตำแหน่ง ระดับรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ปรับลดเหมาจ่ายในอัตรา 30%, ระดับผู้อำนวยการใหญ่ หรือ กรรมการผู้จัดการ ระดับผู้อำนวยการใหญ่ ปรับลดในอัตรา 20%

ปรับลดงบประมาณสำหรับการเดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานลง 30% ยกเว้นพนักงานที่ปฏิบัติงานบนเครื่องบิน โดยให้รองกรรมการผู้จัดการผู้อำนวยการใหญ่ หรือ กรรมการผู้จัดการต้นสังกัด ควบคุมการส่งพนักงานไปปฏิบัติหน้าที่เท่าที่จำเป็นต่อบริษัทเท่านั้น รวมถึงปรับลดจำนวนพนักงานที่จะส่งไปปฏิบัติหน้าที่และจำนวนวันในการปฏิบัติหน้าที่

ให้ทุกหน่วยงานบริหารจัดการกำลังพล ไม่ให้เกิดการทำงานล่วงเวลา (OT) หากมีข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานให้รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ต้นสังกัดเป็นผู้พิจารณาเป็นกรณีไป และลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานภายนอก (Outsource) ให้เหลือเท่าที่จำเป็ โดยให้สอดคล้องกับปริมาณงานที่ลดลง ทั้งนี้ในภาพรวมของแต่ละหน่วย ต้องปรับลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานภายนอกลงไม่น้อยกว่า 20%

รวมถึงปรับลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการ และความปลอดภัยให้เหลือเท่าที่จำเป็เช่น ชอะลอการจ้างบุคลากร ชะลอการลงทุน ลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดจ้าง ลดวัสดุอุปกรณ์สิ้นเปลือง ชะลอการแจกเครื่องแบบพนักงาน และลดการเบิกครุภัณฑ์ ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม มาตรการระดับที่ 4 อาจจะไม่เพียงพอต่อการรับมือไวรัสโควิด-19 เพราะสถานการณ์ของการบินไทยในตอนนี้ ใกล้เข้าสู่มาตรการ CoCon ระดับที่ 3 ซึ่งต้องตัดลดค่าใช้จ่ายเต็มรูปแบบ โดยจะส่งผลต่อพนักงานและผู้บริหารทุกคน ตั้งแต่ระดับบนถึงระดับล่าง

Airline P03 01

“บางกอกแอร์เวย์ส” ลดเงินเดือน-สวัสดิการ

ด้านสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ก็ประสบปัญหาจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่ต่างกัน จึงได้ประกาศมาตรการปรับลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการบินและค่าใช้จ่ายด้านบุคคลากร ดังนี้

  • ปรับลดความถี่ของเที่ยวบิน ตลอดจนพิจารณายกเลิกเส้นทางบินในบางเส้นทาง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการในการเดินทางของผู้โดยสาร ณ ปัจจุบัน
  • ปรับลดเงินเดือนของประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กรรมการ/รองผู้อำนวยการใหญ่สายงานบริหารกลาง และรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสสายงานการเงินและบัญชีลง 50%
  • ยกเลิกการปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี 2563 ของผู้บริหารสูงสุดของฝ่าย
  • ปรับลดสวัสดิการของผู้บริหารและพนักงาน
  • ให้นายสถานีและรองนายสถานีที่ประจำอยู่ ณ สถานีต่างประเทศและสถานีอื่นๆ ในประเทศ ทำการโยกย้ายกลับมาประจำการที่สถานีกรุงเทพฯ
  • ขอความร่วมมือจากผู้บริหารและพนักงานในการลางานโดยไม่รับค่าจ้าง (Leave without pay) จำนวน 10-30 วัน

Airline P02 01

“แอร์เอเชีย” ลดค่าใช้จ่ายยาว 7 เดือน

สายการบินไทยแอร์เอเชีย ไม่มีนโยบายเลิกจ้างพนักงานที่มีอยู่หลายพันคน แต่ก็ต้องปรับตัวลดค่าใช้จ่ายสู้กับการท่องเที่ยวภาพรวมที่ชะลอตัวลง เนื่องจากไวรัสโควิด-19

โดยไทยแอร์เอเชียประกาศลดค่าตอบแทนผู้บริหารระดับสูงทุกคน ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไป รวมทั้งขอความร่วมมือจากนักบิน วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน เเละพนักงานระดับผู้จัดการขึ้นไปของแผนกต่างๆ สมัครใจใช้สิทธิ์ลางานอย่างน้อย 2- 5 วันต่อเดือน โดยไม่รับค่าตอบเเทน (Leave Without Pay)

“มาตรการทั้งหมดมีผลระยะสั้นเป็นเวลา 7 เดือน ตั้งแต่มีนาคม-กันยายน 2563 เพื่อลดต้นทุน และรักษาสภาพคล่องของกระแสเงินสด รวมทั้งปรับกลยุทธ์ในการบริหารจัดการต้นทุนต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้สายการบินสามารถให้บริการผู้โดยสารทุกคนได้ และดูแลพนักงานทุกคนให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด”

ขณะเดียวกันสายการบินแอร์เอเชียก็ได้ออกโปรโมชั่น The AirAsia Big Sale ราคาตั๋วเที่ยวเดียวสำหรับสมาชิก BIG เริ่มต้นที่ 0 บาทและราคาบุคคลทั่วไป 43 บาท เพื่อกระตุ้นการเดินทาง

เครื่องบิน2

สำหรับสายการอื่นๆ แม้ไม่มีการประกาศมาตรการออกมาอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีอาการออกมาให้เห็น เช่น สายการบินนกแอร์เลิกจ้างนักบิน 4 คน ส่วนนกสกู๊ตก็เลิกจ้างพนักงาน 47 ตำแหน่ง แต่นกสกู๊ตปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นการลดขนาดของธุรกิจจากการประเมินเมื่อปลายปี 2562

สายการบินไทยเวียตเจ็ทยังไม่มีนโยบายปรับลดพนักงานที่มีอยู่ 800 คน หรือมาตรการใดๆ ที่มีผลกระทบกับพนักงาน แต่ก็มีนโยบายตัดลดค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ รวมถึงทำแคมเปญลดค่าโดยสารและร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อกระตุ้นยอดขาย

Avatar photo