Finance

จับตา 18 หุ้นเด็ด!! ยิลด์ปันผลครึ่งปีเกิน 2%

ตลาดหุ้น23

เมื่อบริษัทจดทะเบียนประกาศผลประกอบการงวดครึ่งปีเรียบร้อยแล้ว จะมีการประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งแล้วแต่บริษัทจะกำหนดนโยบาย การจ่ายปันผลแบบไหน  บางแห่งกำหนดจ่ายปีละ 1 ครั้ง หรืออาจจะจ่ายปีละ 2 ครั้ง รวมทั้งมีบริษัทบางแห่งที่จ่ายปันผลคืนให้กับผู้ถือหุ้นได้ ทุกไตรมาส ซึ่งผู้ลงทุนที่สนใจลงทุนระยะยาวเพื่อต้องการผลตอบแทนจากเงินปันผลมากกว่า กำไรส่วนต่างราคาหุ้นนั้น ในช่วงนี้จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะเลือกซื้อหุ้นเพื่อรับเงินปันผลระหว่างกาลรอบปี 2561

กรภัทร วรเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน ให้ความเห็นว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ประเมินว่า ความสามารถในการจ่ายปันผลระหว่างกาลให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นปีนี้ น่าจะใกล้เคียงกับงวดเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเห็นสัญญาณที่ดีว่าความสามารถของบริษัทจดทะเบียนอยู่ในระดับที่มีศักยภาพ และผลประกอบการมีแนวโน้มที่ดี ขณะเดียวกันพบว่า กระแสเงินสดของบริษัทจดทะเบียนก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี ทำให้โดยรวม น่าจะสามารถจ่ายปันผลคืนให้กับผู้ถือหุ้นได้ ดังนั้น ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุน เพื่อรับเงินปันผลระหว่างกาล ควรจะเริ่มทยอยซื้อหุ้นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีได้แล้ว ในตอนนี้

“ระดับดัชนีหุ้นไทยที่ 1,670 จุด คาดว่าจะมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลอยู่ระดับ 3.1% โดยบริษัทจดทะเบียนที่คาดว่าให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลระหว่างกาลได้เกิน 3%ประกอบด้วย หุ้น TVO, LH, KKP ส่วนบริษัทที่ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยระดับ 2.5% เช่น หุ้นPTTGC, MAJOR, INTUCH, BCP

บล.บัวหลวง ได้คาดการณ์บริษัทจดทะเบียนที่จะประกาศจ่ายเงินปันผลงวดครึ่งแรกของปี 2561 โดยเลือกหุ้นที่คาดว่าจะจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลหลัง จากประกาศผลประกอบการงวดครึ่งปีแรก ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเลือกเป็นหุ้นที่ถือลงทุนได้ในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวน โดยคาดว่าหุ้น 25 บริษัท จะจ่ายผลตอบแทนเงินปันผลตั้งแต่ระดับ 1.8-4.7%  และมี 18 บริษัทที่สามารถให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลได้เกิน 2% ประกอบด้วย

18หุ้นที่คาดจ่ายปันผลกลางปีเกิน2v1Edit 01

หุ้น TVO จ่ายปันผลครึ่งปีอัตราหุ้นละ 1.30บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลประมาณ 4.7% JASIF จ่ายปันผลหน่วยละ 0.46 บาท อัตราผลตอบแทนประมาณ4.6%หุ้นSPRC จ่ายปันผลหุ้นละ0.61บาท อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล4.6%หุ้น AAV  จ่ายปันผลหุ้นละ 0.20 บาท อัตราผลตอบแทนประมาณ 4.3% หุ้น IRPC จ่ายปันผลหุ้นละ 0.27บาท อัตราผลตอบแทน 4.2% หุ้น LH จ่ายปันผลหุ้นละ 0.40บาทอัตราผลตอบแทน 3.5%หุ้นKKP จ่ายปันผลหุ้นละ2.19บาท อัตราผลตอบแทนประมาณ  3.1% หุ้นPSH จ่ายปันผลหุ้นละ 0.57บาท อัตราผลตอบแทนประมาณ  2.8%

หุ้น PCSGH จ่ายปันผลหุ้นละ 0.19 บาท อัตราผลตอบแทน 2.8% หุ้น PTTGC  จ่ายปันผลหุ้นละ 2 บาท อัตราผลตอบแทนประมาณ 2.6% หุ้น MAJOR จ่ายปันผลหุ้นละ 0.66 บาท อัตราผลตอบแทนประมาณ 2.6% หุ้น INTUCH จ่ายปันผลหุ้นละ 1.36บาท อัตราผลตอบแทนประมาณ  2.5% หุ้น BCP จ่ายปันผลหุ้นละ 0.80บาท อัตราผลตอบแทน 2.4% หุ้น BEAUTY จ่ายปันผลหุ้นละ 0.17 บาท อัตราผลตอบแทนประมาณ 2.4% หุ้น AH จ่ายปันผลหุ้นละ0.70บาท อัตราผลตอบแทน 2.2% หุ้น EGCO จ่ายปันผลหุ้นละ 4.90บาท อัตราผลตอบแทน 2.2% หุ้น QH จ่ายปันผลหุ้นละ 0.07บาท อัตราผลตอบแทน 2.1%

หุ้น TCAPจ่ายปันผลหุ้นละ 0.99บาท อัตราผลตอบแทนประมาณ 2.1% หุ้น TOP จ่ายปันผลหุ้นละ 1.50บาท อัตราผลตอบแทน 1.9% หุ้น ADVANC จ่ายปันผลหุ้นละ 3.82บาท อัตราผลตอบแทนประมาณ 1.9% หุ้น CPF จ่ายปันผลหุ้นละ 0.48 บาท อัตราผลตอบแทนประมาณ 1.9% หุ้น SPALI จ่ายปันผลหุ้นละ 0.43บาท อัตราผลตอบแทน 1.8 % หุ้น THREL จ่ายปันผลหุ้นละ 0.14 บาทอัตราผลตอบแทน 1.8% หุ้น SCC จ่ายปันผลหุ้นละ7 บาทอัตราผลตอบแทน1.6% และหุ้น SIRI จ่ายปันผลหุ้นละ 0.03บาทอัตราผลตอบแทนประมาณ 1.6%

18หุ้นที่คาดจ่ายปันผลกลางปีเกิน2v2Edit 01

บล.กรุงศรี ประเมินว่า หุ้นกลุ่มปันผลครึ่งปีเด่น ประกอบด้วย ADVANC, INTUCH, KKP, QH, LH และ SPALI

ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทขนาดใหญ่เริ่มประกาศผลประกอบการพร้อมกับการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในรอบปีนี้ โดยเริ่มจาก บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC รายงานผลประกอบการงวดไตรมาส 2 ปี 2561 มีกำไรสุทธิ 12,402 ล้านบาท ลดลง 6% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 13,252 ล้านบาท ส่วนงวด 6 เดือนแรก มีกำไรสุทธิ 24,808 ล้านบาท ลดลง 19% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 30,638 ล้านบาท

นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท อนุมัติให้บริษัทฯ จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลงวดครึ่งปีแรกของปี2561 ในอัตราหุ้นละ 8.50 บาท โดยกำหนดวันขึ้นเครื่องหมาย XD หรือวันที่ไม่มีสิทธิรับเงินปันผลในวันที่ 8 สิงหาคม 2561 มีกำหนดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในวันที่ 22 สิงหาคม 2561

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight