World News

‘เรือสำราญโลก’ ผวา ปรับเส้นทาง ‘เอเชีย’ หนี ‘โควิด-19 ‘

บรรดาผู้ดำเนินธุรกิจเรือสำราญรายใหญ่ๆ ต่างต้องปรับเปลี่ยนแผนการทำธุรกิจในเอเชีย เพื่อเลี่ยงการเข้าเทียบท่าตามท่าเรือขนาดใหญ่ อย่าง เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง และสิงคโปร์ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19

GettyImages 139825806 1

นอกจากนี้ ยังได้ออกกฎข้อบังคับใหม่เกี่ยวกับผู้โดยสาร และเพิ่มการตรวจสุขภาพ รวมถึง ขั้นตอนการทำความสะอาด เพื่อบรรเทาความกังวลในเรื่องการระบาดของเชื้อไวรัส

“คูนาร์ด” ผู้ให้บริการเรือสำราญสัญชาติอังกฤษ-อเมริกัน เปิดเผยว่า ในเดือนนี้ “ควีน แมรี 2” เรือสำราญลำหนึ่งของบริษัท ได้ยกเลิกแผนที่จะเข้าเทียบท่าในสิงคโปร์ และได้เสนอทางเลือกให้กับผู้โดยสารที่จะเดินทางไปสิงคโปร์ถึงการขึ้นเรือจากเมืองฟรีแมนเทิล ออสเตรเลีย และล่องเรือในออสเตรเลียแทน

เช่นเดียวกับ เรือสำราญ รอยัล แคริบเบียน และ เซเลบริตี ครูซ ที่มีรายงานว่า ได้ยกเลิกการล่องเรือไปยังสิงคโปร์ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าแล้ว

นับถึงช่วงเช้าวันนี้ (17 ก.พ.) สิงคโปร์ยืนยันพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) แล้ว 75 คน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้ยกระดับเตือนภัยการตอบสนองต่อโรคระบาด (DORSCON) ขึ้นมาอยู่ที่สีส้ม

ไม่เพียงแต่สิงคโปร์เท่านั้น ฮ่องกง ก็เป็นอีกแห่งหนึ่ง ที่โดนตัดออกจากเส้นทางการเดินเรือสำราญ โดย “รีเจนท์ เซเว่น ซีส์ ครูซ” ประกาศว่า เรือสำราญ เซเว่น ซีส์ โวยาเจอร์ ได้ถอดฮ่องกงออกจากตารางเข้าเทียบท่า ในกำหนดการล่องเรือ วันที่ 1 และ 13 มีนาคมนี้

พรินเซส ครูซ ไลน์ ผู้ให้บริการเรือสำราญชั้นนำอีกรายหนึ่ง ก็ได้ปรับเส้นทางเดินเรือ สำหรับเรือสำราญของบริษัทอย่างน้อย 2 ลำ คือ แซฟไฟร์ พรินเซส และ ซัน พรินเซส

สำหรับ แซฟไฟร์ พรินเซส นั้น มีกำหนดที่จะออกเดินทางในวันที่ 16 เมษายน 2 และ 8 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ ซึ่งทางบริษัทได้ปรับเส้นทางเข้าเทียบท่าที่กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น แทนนครเซี่ยงไฮ้ ของจีน

ส่วน ซัน พรินเซส ก็ได้ยกเลิกกำหนดการเดินทางที่จะออกเดินทางจากฮ่องกงในวันที่ 28 เมษายน และ 14 กรกฎาคม พร้อมยกเลิกการออกจากนครเซี่ยงไฮ้ ในวันที่ 1 พฤษภาคม และ 17 กรกฎาคม โดยจะเปลี่ยนไปออกจากกรุงโซล และเมืองเชจู ในเกาหลีใต้แทน

dimon

การเปลี่ยนแปลงข้างต้น เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ อุตสาหกรรมเรือสำราญโลก กังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากระบาดของไวรัสโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น หลัง “ไดมอนด์ พรินเซส” หนึ่งในเรือสำราญของพรินเซส ครูซ โดนกักโรคไว้ที่ท่าเรือโยโกฮามา ของญี่ปุ่น และเป็นแหล่งที่มีการพบผู้ติดเชื้อไวรัสมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากจีน ด้วยการตรวจพบผู้ติดเชื้อบนเรือลำนี้มากกว่า 350 คน

ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีกรณีของเรือสำราญ เวสเตอร์ดัม ซึ่งออกเดินทางพร้อมผู้โดยสาร 1,455 คน และลูกเรือ 802 คน ที่เข้าเทียบท่าในจังหวัดสีหนุวิลล์ หลังจากต้องใช้เวลาช่วง 2 สัปดาห์สุดท้าย ขณะลอยอยู่ในทะเล

สถานการณ์ต่างๆ ข้างต้น ทำให้บรรดาผู้บริหารเดินเรือสำราญ ต้องนำมาตรการมาใช้เพิ่มเติม เพื่อเลี่ยงไม่ให้เกิดการระบาดขึ้นบนเรือ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของบริษัท รวมถึงรายได้ด้วย

คุมเข้มผู้โดยสาร

บรรดาผู้ให้บริการเรือสำราญยังดำเนินการฆ่าเชื้อบนเรือทั้งหมด นอกเหนือไปจากการทำความสะอาด และขั้นตอนสุขอนามัยต่างๆ ที่ทำกันอยู่เป็นประจำ

โฆษกพรินเซส ครูซ เปิดเผยว่า ทั้งเรือ และลูกเรือของบริษัท ต่างมีความพร้อมที่ตะป้องกัน และควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงโควิด-19 ซึ่งมาตรกา

เหล่านี้ รวมถึง การยกระดับการคัดกรองผู้โดยสาร และลูกเรือ ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายของคนที่มีอาการไข้ หรืออาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

สำหรับผู้โดยสารที่แสดงอาการต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อไวรัส ขณะอยู่บนเรือนั้น รีเจนท์ เซเว่น ซี ครูซ กล่าวว่า จะต้องดำเนินการตรวจสอบหาการติดเชื้อ และการโดนกักโรค หรือให้ลงเรือ

13 72823734c3959

ปิดท่าเทียบเรือสำราญ

ไม่ใช่เพียงแค่เรือสำราญเท่านั้น ที่ต้องปรับตัวรับการระบาดของเชื้อไวรัส แต่ในบางประเทศ หรือดินแดน ก็สั่งปิดท่าเทียบเรือสำราญไปแล้ว นอกเหนือจากการเพิ่มมาตรการคัดกรองผู้โดยสาร

ในจำนวนนี้ รวมถึง ฮ่องกง ที่สั่งปิดท่าเทียบเรือสำราญ 2 แห่งคือ ไคตั๊ก และโอเชียน ส่วนที่ศูนย์ โบสตีด ครูซ ในพอร์ท กลาง ของมาเลเซีย ได้มีการติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหูมิร่างกาย และเจ้าหน้าที่จะคอยตรวจสอบอาการของผู้โดยสาร ก่อนที่จะอนุญาตให้ผู้โดยสาร เรือสำราญ ขึ้นฝั่งได้

Avatar photo