Finance

‘ดอกเบี้ยไทย’ ต่ำสุดในประวัติศาตร์ หุ้นไหนได้ หุ้นไหนเสีย

การประกาศ ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เหลือ 1.00% ต่อปี เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา นับว่าเป็น จุดต่ำสุดในประวัติศาสตร์ไทย เลยทีเดียว ซึ่งเป็น ครั้งแรกที่ดอกเบี้ยนโยบายไทยต่ำจนแตะระดับ 1% เพราะ ในอดีต ดอกเบี้ยนโยบายไทยเคยต่ำสุดที่ 1.25% เมื่อปี 2546 หรือกว่า 17 ปีมาแล้ว

P04 P01 01

เหตุผลของ กนง. ระบุว่า เศรษฐกิจไทยปี 2563 มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ จาก การระบาดของไวรัสโคโรนา ภัยแล้ง และความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี ดังนั้น จึงเห็นว่าควรใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อลดผลกระทบจากปัจจัยลบ รวมทั้งสนับสนุนสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจ และครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ทั้งนั้น การที่เรากำลังอยู่ใน ยุคดอกเบี้ยต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ ครั้งนี้ หมายความว่าต้องมีทั้งคนที่ ได้ผลประโยชน์ และเสียผลประโยชน์ การลงทุนในตลาดหุ้นก็เช่นเดียวกัน

P04 P02 01
หุ้นได้ประโยชน์ ยุคดอกเบี้ยต่ำ

1. กลุ่มเช่าซื้อ-สินเชื่อ

P04 P04 01

เห็นได้ชัดว่ากลุ่มที่ได้รับประโยชน์สูงสุด คงเป็น ธุรกิจที่มีต้นทุนหลักเป็นดอกเบี้ย อย่างธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล, สินเชื่อรถยนต์ เป็นต้น เนื่องจากมีโอกาสที่ต้นทุนลดลง และมาร์จิ้นกว้างขึ้น ซึ่งเมื่อสำรวจไปที่พอร์ตหนี้สินต่อภาระดอกเบี้ยทั้งหมดที่จะครบกำหดชำระในปี 2563 พบว่า ตัวเลขออกมาเป็น ดังนี้

P04 P03 01

2. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์
อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงส่งผลให้ อัตราการผ่อนชำระต่องวด ของผู้กู้ที่อยู่อาศัยลดลงตามไปด้วย จึงเป็นผลดีใน การกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภค ในระยะนี้ได้

P04 P05 01

3. กลุ่มหุ้นปันผล
การปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลโดยตรงต่อ ผลตอบแทนจากตราสารหนี้ ที่ลดลง แม้ปัจจุบัน Bond yield ในไทยจะต่ำมากแล้วก็ตาม แต่ก็น่าจะเป็น sentiment ให้คน โยกย้ายเงินลงทุนจากตราสารหนี้มาไว้ในหุ้นปันผล มากขึ้น เพราะถือว่าเป็น Defensive Stock ที่ปลอดภัยระดับหนึ่ง

P04 P06 01

หุ้นเสียประโยชน์ ยุคดอกเบี้ยต่ำ

จากข้อมูลระบุว่า ทุกๆ 0.25% ที่ดอกเบี้ย MLR ปรับลดลง จะทำให้กำไรธนาคารพาณิชย์หายไป 7% เพราะฉะนั้น หุ้นกลุ่มที่เสียประโยชน์แน่ๆ คงหนีไม่พ้นธนาคารพาณิชย์ ขนาดใหญ่ เนื่องจากเมื่อมีการประกาศลดดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารจะต้องปรับลดลดดอกเบี้ยเงินกู้ตามมา ส่งผลต่อ NIM (ส่วนต่างกำไรจากดอกเบี้ย) ที่อาจลดลงด้วย

สอดคล้องกับบทวิเคราะห์ บล.เอเชียพลัส ได้ปรับประมาณการณ์กำไร หุ้นธนาคารพาณิชย์ ลง โดยแนะนำให้เลี่ยงลงทุน SCB และ BBL มากที่สุด

เช่นเดียวกับ บล.กสิกรไทย แนะนำให้ หลีกเลี่ยงการลงทุนในกลุ่มหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ เนื่องจากจะได้รับผลกระทบของการลดดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าธนาคารขนาดเล็ก จากจำนวนลูกค้าที่ขอกู้เงินมากกว่า

สุดท้ายแล้วคงต้องจับตาดูกันว่าทิศทางของ ตลาดหุ้นไทย จะออกมาเป็นแบบไหนในระยะยาว หุ้นกลุ่มธนาคาร จะมีโอกาสฟื้นตัวได้เมื่อไร เพราะถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีผลต่อ ดัชนี SET Index อยู่พอสมควร

Avatar photo