Economics

‘ซีพีเอฟ’ ยึดหลักสวัสดิภาพสัตว์สากล มุ่งหน้าผลิตอาหารมั่นคง-ปลอดภัยยั่งยืน

ความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ไม่เพียงพุ่งเป้าไปที่ความรับผิดชอบตามหลักการสากลต่อมนุษย์ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเท่านั้น

สำหรับธุรกิจอาหารและเกษตรอุตสาหกรรมอาหารซึ่งความซับซ้อนมากกว่าอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าทั่วไป ที่มีการพิจารณารายละเอียดของการได้มาของวัตถุดิบจากสิ่งมีชีวิตทั้งที่เป็นพืชและสัตว์ จะต้องมาจากแหล่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม หากเป็นสัตว์จำเป็นต้องเลี้ยงดูตามหลักมนุษยธรรม หรือ สวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) เพื่อให้สัตว์ได้รับการปฏิบัติที่ดีปราศจากทารุณกรรม

cage free farm

ในฐานะบริษัทเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจรชั้นนำ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ พัฒนาการเลี้ยงสัตว์ ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ เช่น สุกร ไก่เนื้อ ไก่ไข่ กุ้งและปลา ตามมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศนโยบายสวัสดิภาพสัตว์ควบคู่ไปกับวิสัยทัศน์การใช้ยาต้านจุลชีพด้วยความรับผิดชอบ  เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อสัตว์ให้ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องตามธรรมชาติและหลักมนุษยธรรม ได้รับการรักษาตามอาการของโรคเมื่อเจ็บป่วย และได้รับปกป้องจากโรคภัยต่างๆ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่เคร่งครัดทั้งในประเทศไทยและกิจการในต่างประเทศ

ซีพีเอฟ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ “ครัวของโลก” โดยให้ความสำคัญกับอาหารปลอดภัยสูงสุด และตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต สอดคล้องกับทิศทางความรับผิดชอบอย่างยั่งยืนของบริษัทภายใต้ 3 เสาหลัก คือ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดิน น้ำ ป่า คงอยู่

การนำหลักสวัสดิภาพสัตว์มาบริหารจัดการฟาร์มปศุสัตว์เป็นการสนับสนุนความมั่นคงทางอาหาร และการผลิตอาหารคุณภาพดีอย่างยั่งยืน เน้นหลักอิสระ 5 ประการ (Five Freedoms)

  • อิสระจากความหิวและกระหาย
  • อิสระจากความรู้สึก ไม่สบาย
  • อิสระจากความเจ็บปวด บาดเจ็บและเป็นโรค
  • อิสระในการแสดงพฤติกรรมตามปกติ
  • อิสระจากความกลัวและตื่นตกใจ

น.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ ด้านมาตรฐานการผลิตสัตว์ปีก ในฐานะประธานคณะกรรมการสวัสดิภาพสัตว์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการเลี้ยงสัตว์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างมีจริยธรรม และผลิตอาหารด้วยความรับผิดชอบ (Responsible Farming and Food Production) เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพดี ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพของเนื้อสัตว์ สู่การผลิตอาหารปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคทั่วโลก

“การเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์สากลเป็นการยกระดับธุรกิจปศุสัตว์สู่มาตรฐานระดับโลก ซึ่ง ซีพีเอฟได้ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทฯก้าวข้ามไปอีกขั้นในการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิภาพสัตว์ปีก เพื่อต่อยอดองค์ความรู้และเผยแพร่แนวทางการปฏิบัติตามแนวทางสวัสดิภาพสัตว์ตามที่มาตรฐานสากลกำหนด” น.สพ.พยุงศักดิ์ กล่าว

ซีพีเอฟ มุ่งมั่นดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการยกระดับคุณภาพความปลอดภัยตลอดกระบวนการผลิต ภายใต้นโยบายสวัสดิภาพสัตว์ของบริษัทฯ กำหนดเป้าหมายระยะสั้นและระยะกลางไว้ชัดเจน ประกอบด้วย

  • การเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่สวัสดิภาพสัตว์ (Poultry Welfare Officer : PWO) ประจำฟาร์มไก่เนื้อในกิจการทุกประเทศ 100% ในปี 2563
  • ฟาร์มสุกรแม่พันธุ์อุ้มท้องสำหรับกิจการในประเทศเป็นการเลี้ยงแบบคอกขังรวม 100% ในปี 2568
  • ฟาร์มสุกรแม่พันธุ์อุ้มท้องสำหรับกิจการในต่างประเทศเป็นการเลี้ยงแบบคอกขังรวมในปี 2571
  • ฟาร์มไก่ไข่ ในประเทศไทยจะพัฒนาศึกษาไปสู่การเลี้ยงแบบปล่อยอิสระในโรงเรือน (Cage Free)

น.สพ.พยุงศักดิ์ กล่าวว่า บริษัทยังส่งเสริมให้เกษตรกรมีความเข้าใจเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ เช่น ฟาร์มไก่เนื้อ ฟาร์มสุกร และฟาร์มสัตว์น้ำ ให้ดำเนินการตามหลักสวัสดิภาพสัตว์สากล ด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ รวมถึงการฝึกอบรมให้เกษตรกรเข้าใจเพื่อนำความรู้ไปใช้ในฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะเดียวกัน ได้ขยายผลต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่บริษัทมีการลงทุน เช่น กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ให้ปฏิบัติด้วยหลักการเดียวกัน เพื่อให้ได้เนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพและความปลอดภัย

“สัตว์ที่ถูกเลี้ยงดูให้อยู่อิสระตามธรรมชาติ ในสภาพแวดล้อมสุขสบายภายใต้การป้องกันโรคที่ดีและได้รับอาหารเหมาะสมตามวัย จะทำให้สัตว์สุขภาพดี แข็งแรง ไม่ป่วย จึงไม่จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนหรือยาปฏิชีวนะเร่งเติบโต ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค”

CPF pen gestation

ทางด้านสพ.ญ.บุญญิตา รุจทิฆัมพร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ กล่าวว่า การประกาศวิสัยทัศน์การใช้ยาต้านจุลชีพด้วยความรับผิดชอบ ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นการใช้ยาเพื่อการรักษาสัตว์ด้วยความระมัดระวังตามลำดับความสำคัญทั้งสัตว์บก และสัตว์น้ำ

  • ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของสัตวแพทย์และใช้เพื่อการรักษาเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาต้านจุลชีพประเภทที่ใช้ในคนและใช้เมื่อจำเป็นอย่างระมัดระวัง โดยจะเลือกใช้ยาสำหรับสัตว์เป็นลำดับแรก
  • ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเพื่อหาแนวทางใหม่ๆในการดูแลสัตว์ตามหลักการสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพที่ดี ไม่เจ็บป่วย อันจะเป็นการลดความจำเป็นในการใช้ยาต้านจุลชีพ

“ซีพีเอฟ ใช้ยาต้านจุลชีพด้วยความรับผิดชอบโดยพิจารณาทุกปัจจัยอย่างรอบคอบเพื่อความมั่นใจของผู้บริโภค ไม่ให้เกิดการตกค้างของยา ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาตามมาได้ และมุ่งเน้นการป้องกันโรคมากกว่าให้เกิดการเจ็บป่วยแล้วจึงรักษาซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและรับผิดชอบ ตามมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด และสามารถการตรวจสอบย้อนกลับได้”

นอกจากหลักอิสระ 5 ประการแล้ว บริษัทยังมีแนวทางปฏิบัติที่สนับสนุนโครงการสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ขององค์การอนามัยโลก ทั้งสุขภาพคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม ทั้งยังสนับสนุนให้คู่ค้าธุรกิจ ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญของการนำหลักสวัสดิภาพสัตว์ไปเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างถูกต้อง เพื่อผลิตอาหารปลอดภัยตามมาตรฐานโลกที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต

Avatar photo