Technology

ธุรกิจเผชิญความท้าทาย การนำ ‘เอไอ’ มาใช้งานจริง

การ์ทเนอร์ เผยรายงานการสำรวจ Gartner 2020 CIO Agenda Survey เรื่อง ความต้องการของผู้บริหารระดับสูงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปี 2563 พบว่าองค์กรธุรกิจชั้นนำต่างคาดว่าจำนวนโครงการด้าน เอไอ จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในปีหน้า และกว่า 40% วางแผนจะนำโซลูชั่นเอไอ มาปรับใช้อย่างจริงจังภายในสิ้นปี 2563 นี้

แต่ในความเป็นจริงแล้ว องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ยังต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายในการนำเอไอมาปรับใช้ในองค์กร เนื่องจากดึงศักยภาพที่แท้จริงของเทคโนโลยีเอไอมาสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจยังอยู่ในวงจำกัด

artificial intelligence 3382507 1280

ชิรัค เดเคด ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูลของการ์ทเนอร์ เปิดเผยว่า การเปิดทดลองใช้งานเอไอ ดูเหมือนนจะเป็นเรื่องง่าย แต่การใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพจริงนั้นกลับเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก เพราะผู้นำด้านไอทีที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเทคโนโลยีเอไอ จะพบ ‘”ความย้อนแย้ง” ในการเริ่มนำเอไอมาใช้ในองค์กร หรือที่เรียกว่า “AI pilot paradox”

ดังนั้น ผู้นำไอทีที่รับผิดชอบเรื่องเอไอ ต้องคอยช่วยพัฒนากลยุทธ์ด้านโครงสร้างพื้นฐานควบคู่ไปด้วย เพื่อช่วยให้เกิดความก้าวหน้าในการใช้เอไอ สามารถยืดหยุ่นได้ตามความต้องการ และที่สำคัญคือต้องตระหนักถึงคุณค่าของการนำเอไอ มาใช้

ทั้งนี้ การ์ทเนอร์ได้คาดการณ์อนาคตของเทคโนโลยีเอไอ ไว้ 5 ประการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็วของการใช้เครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ ของ เอไอ ตลอดจนความสำเร็จในการผลิตต้นแบบเอไอ ที่ผู้บริหารไอทีควรพิจารณามีดังต่อไปนี้

  • เอไอ จะเป็นตัวแปรสำคัญของการตัดสินใจด้านโครงสร้างพื้นฐาน

เอไอ จะยังเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจด้านการวางโครงสร้างพื้นฐานและขับเคลื่อนงานในองค์กรต่อเนื่องไปจนถึงปี 2566 การนำ เอไอ มาปรับใช้เพื่อเร่งกระบวนการผลิตจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เฉพาะเจาะจง โดยต้องสามารถเติบโตและพัฒนาควบคู่ไปกับเทคโนโลยีได้พร้อม ๆ กัน

board 1364652 1280

รูปแบบของการนำเอไอมาใช้นั้น จะต้องได้รับการปรับแต่งโดยทีมงานไอทีขององค์กรเป็นระยะ เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีโอกาสประสบความสำเร็จระดับสูง ซึ่งอาจรวมถึงงานด้านการออกแบบหรือดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลมาตรฐาน หรือการผสานรูปแบบการทำงานของระบบแมชชีน เลิร์นนิ่ง (ML) เข้ากับแหล่งข้อมูลสตรีมมิ่งเพื่อการคาดการณ์แบบเรียลไทม์

 

  • การจัดการความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของเทคนิคการปรับใช้ เอไอ ผ่านการทำงานร่วมกัน

หนึ่งในความท้าทายลำดับต้น ๆ ของการนำเทคนิคในเทคโนโลยีเอไอ เช่น ML หรือ Deep Neural Network (DNN) มาปรับใช้ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของ edge และ IoT (Internet of Things) ที่มีความซับซ้อนของข้อมูลและการวิเคราะห์อยู่มากมาย ซึ่งการที่องค์กรจะประสบความสำเร็จในสภาพแวดล้อมดังกล่าวได้นั้น จะต้องมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดของทั้งฝ่ายธุรกิจและฝ่ายไอที โดยต้องวางแผนและให้บริการโซลูชั่นเชิงรุกเมื่อมีความต้องการสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น

  • บางครั้งที่เทคนิค ML แบบธรรมดา ก็มอบผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

องค์กรธุรกิจมากกว่า 75% จะใช้ DNNs กับการใช้งานที่สามารถใช้เทคนิค ML แบบดั้งเดิมได้ไปจนถึงปี 2566 ผู้ที่นำ เอไอ มาปรับใช้ในธุรกิจรายแรก ๆ และประสบความสำเร็จนั้น ล้วนเกิดจากการใช้ประโยชน์จากโซลูชั่น ML ในทางปฏิบัติเพื่อนำเสนอคุณค่าทางธุรกิจ โปรเจกต์ช่วงแรก ๆ กลุ่มนี้ใช้การเรียนรู้ด้วย ML แบบดั้งเดิม แต่เมื่อองค์กรธุรกิจมีการพัฒนามากขึ้น ก็มีการใช้เทคนิคขั้นสูงกว่าด้วยการเรียนรู้อย่างถ่องแท้ในการใช้ประโยชน์จาก เอไอ ให้ได้มากขึ้น

display dummy 915135 1280

  • ทำให้ผู้ให้บริการระบบคลาวด์กลายเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ของคุณ

การใช้เทคโนโลยีคลาวด์เชิงกลยุทธ์ เช่น Cognitive Application Programming Interface หรือ Cognitive API เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล, หรือเทคนิคการจัดการแพ็กเกจซอฟต์แวร์หรือ คอนเทนเนอร์และการประมวลผลแบบไร้เซิร์ฟเวอร์ จะสามารถช่วยลดความซับซ้อนของกระบวนการปรับใช้เอไอได้ โดยภายในปี 2566 จำนวนเอไอบนคลาวด์ (cloud-based AI) จะเพิ่มขึ้นอีกถึง 5 เท่าจากตัวเลขในปี 2562 และ เอไอ จะกลายเป็นหนึ่งในบริการคลาวด์ชั้นนำ คอนเทนเนอร์และการประมวลผลแบบไม่พึ่งพาเซิร์ฟเวอร์จะช่วยให้รูปแบบของระบบ ML ทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระ ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • การใช้ระบบ AI augmented automation อย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ

เนื่องจากปริมาณข้อมูลที่องค์กรธุรกิจจะต้องจัดการเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น การแจ้งเตือนเมื่อระบบเกิดความผิดพลาดและการขาดประสิทธิภาพในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาก็จะมากตามไปด้วย ดังนั้น จึงเป็นเรื่องปกติที่เมื่อพูดถึง เอไอ ฝ่ายไอทีและฝ่ายธุรกิจมักจะพูดกันคนละภาษา

การผนวกระบบ AI augmented automation เข้ามาในการทำงาน จะช่วยให้ทีมไอทีสามารถเรียนรู้ทักษะของ เอไอ และรู้ตำแหน่งในการทำงานได้ถูกต้อง ทำให้สามารถทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Avatar photo