Opinions

AECS Weekly Strategy

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK
12

555

 

สัปดาห์ที่ผ่านมา : ดัชนี DJIA ปรับลงแรง 5.7%WoW จากความกังวลต่อปัญหาสงครามการค้าที่อาจลุกลามจนกลายเป็นปัญหาในระดับโลก หลังนายโดนัลด์ ทรัมป์ อนุมัติมาตรการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าด้านเทคโนโลยีจากจีน จำนวนกว่า 1,300 รายการ ต่อจากการตั้งภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมในสัปดาห์ก่อน เพื่อเดินหน้าลดการขาดดุลการค้าจากจีนซึ่งล่าสุดอยู่ที่ 3.75 แสนล้านดอลลาร์ อีกทั้งล่าสุดจีนได้เตรียมมาตรการตอบโต้สหรัฐฯ ขั้นต้นด้วยการเก็บภาษีนำเข้ากับสินค้าสหรัฐฯ กว่า 128 รายการ

ขณะที่ราคาน้ำมันดิบกลับปรับขึ้น 5.7%WoW หลังสถานการณ์ด้านอุปทานน้ำมันดิบจากสหรัฐฯ ผ่อนคลายลง หลัง EIA รายงานสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ สัปดาห์ที่ผ่านมาลดลงกว่า 2.6 ล้านบาร์เรล ส่วนดัชนี SET ปิดที่ 1,794.21 จุด ลดลง 0.97%WoW จากแรงกดดันประเด็นสถานการณ์ทางการเมืองและมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ถึงแม้เฟดจะมีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% ตามคาดและยังคงส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้

สัปดาห์นี้ : คาดตลาดหุ้นต่างประเทศเคลื่อนไหวเพียงทรงตัว เพื่อจับตาปัญหาสงครามการค้าโลก ซึ่งแม้ล่าสุดสถานการณ์จะผ่อนคลายลง หลังสหรัฐฯ เปิดเผยรายชื่อ 6 ประเทศ (ไม่รวมจีน) ที่ได้รับการยกเว้นเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม แต่เรามองว่าเป็นเพียงการแก้ปัญหาชั่วคราว ซึ่งหาก ณ วันที่ 1 พ.ค. สหรัฐฯ ไม่ได้รับข้อตกลงที่น่าพอใจ อาจทำให้ทรัมป์กลับมาข่มขู่คู่ค้าด้วยมาตรการการเพิ่มภาษีนำเข้าเช่นเดิม อีกทั้งช่วงที่ผ่านมาเริ่มเห็นท่าทีเชิงลบของผู้นำของกลุ่มประเทศหลักที่ออกมาประกาศมาตรการโต้กลับสหรัฐฯ อาทิ จีน และกลุ่ม EU ทำให้ในขั้นต้นเราประเมินผลกระทบกรณีที่สถานการณ์สงครามการค้าเลวร้ายลงได้ดังนี้

1) อัตราโตของ GDP โลกชะลอตัวลง จากการส่งออกรวมที่ลดลง กดดันตลาดหุ้นทั่วโลก 2) ราคาสินค้าทั่วไปในสหรัฐฯจะปรับสูงขึ้น นำไปสู่การดีดตัวของเงินเฟ้อ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เฟดขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้นจากเดิม และ 3) Dollar Index อ่อนค่าลง จากความกังวลต่อภาวะ ศก. ที่แย่ลงของนักลงทุนต่างชาติ ส่วนบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยคาดผันผวนหลังยังจับตามาตการกีดกันทางการค้าของสหรัฐอยู่เช่นกัน

กลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ "Selective Buy" โดยเน้นซื้อแนวรับ

ด้วยปัจจัยพื้นฐานของ ศก.ไทยที่ยังแข็งแกร่ง กลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “Selective Buy โดยเน้นซื้อแนวรับ” ในหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะ ดังนี้

1) หุ้นที่มีโอกาสเป็นเป้าหมายในการทำปิด Window Dressing สัปดาห์นี้ : PTT, PTTGC, PTTEP, CPN, ROBINS, CENTEL, MINT, ERW

2) หุ้นกลุ่มการเงินซึ่งคาดได้อานิสงส์จากกนง. ยังคงดอกเบี้ยไว้ที่ 1.5% : SAWAD, S11, TK, ASK

3) หุ้นได้ประโยชน์โครงการลงทุนภาครัฐและ EEC : CK, SEAFCO, SYNTEC, WHA, ROJNA

4) หุ้นที่จ่ายปันผลสูงซึ่งเดือน เม.ย.–พ.ค. นี้ จะขึ้น XD โดยให้ Div. Yield เกิน 3% : KKP, AIT, SC, AP, LH

สำหรับ Technical : เรามองภาพรวมตลาดกลับมาดูอ่อนแอลง หลังดัชนีเคลื่อนไหวปรับตัวลดลงกว่า 18 จุด เทียบกับราคาปิดของสัปดาห์ก่อนหน้า โดยดัชนีแกว่งตัวในกรอบ Sideway 1,795-1,812 จุดตลอดช่วงสี่วันแรกของสัปดาห์ ก่อนเจอแรงขายหนักวันสุดสัปดาห์ ส่งผลให้ดัชนี SET ลงทำจุดต่ำสุดที่ 1,779.73 จุด ก่อนกลับไปปิดที่ระดับดัชนี 1,794.21 จุด ในกราฟรายวัน สัญญาณเชิงลบทางเทคนิคยังคงกดดันดัชนี ทั้งจากสัญญาณ Bearish Divergence ยังคงอยู่ , RSI กลับชี้ลงในเขต Neutral Zone (RSI 50 ±10%) ขณะเดียวกัน MACD พลิกกลับมาต่ำกว่าเส้น Signal และแกว่งตัวบริเวณค่าศูนย์

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทางเทคนิคเหล่านี้ทำให้เรามองว่าสัปดาห์นี้ SET น่าจะแกว่งตัว Sideway โดยมองกรอบการแกว่งตัว 1,760-1,820 จุด ฉะนั้นกลยุทธ์ห์ที่เหมาะสม “ถือเงินสด รอสัญญาณการฟื้นตัวของดัชนีก่อน” ทั้งนี้มีจุดที่ต้องระมัดระวัง หากดัชนีหลุด 1,760 จุด มีโอกาสที่ดัชนีจะปรับตัวลงแรง สำหรับกลุ่มที่มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น หรือกลุ่มที่น่าจะ Outperform ตลาดได้ เราเลือกมาสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพาณิชย์ COMM( หุ้น : CPALL ) และกลุ่ม ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ PETRO ( หุ้น : IVL, PTTGC )