Technology

‘วิศวะมหิดล’ พัฒนา 3 นวัตกรรม รับมือ ‘ไวรัสโคโรนา – ภัยพิบัติ’

วิศวะมหิดล สร้างสรรค์ 3 นวัตกรรม หุ่นยนต์แพทย์อัจฉริยะ ถุงเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ระบบเอไอ คัดกรองข่าวปลอม รับมือไวรัสโคโรนาและภัยพิบัติ

รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้คิดค้น 3 นวัตกรรม เพื่อรับมือไวรัสโคโรนาและภัยพิบัติจากสารเคมี หรือกัมมันตรังสี ดังนี้

BB20CC32 734E 4061 A1DD D81730BCADFD

1. หุ่นยนต์แพทย์อัจฉริยะ Doctosight สำหรับการวินิจฉัยและรักษาผ่านระบบโทรเวช

สำหรับประเทศไทย นับเป็นหนึ่งในประเทศมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ จากการกระจายตัวบุคลากรด้านการแพทย์ในหลายพื้นที่ ทำให้อัตราส่วนจำนวนบุคลากรทางด้านการแพทย์ต่อประชากรทั้งหมดค่อนข้างต่ำ เฉลี่ย 0.393 คนต่อประชากร 1000 คน โดยเฉพาะในวิกฤติไวรัสโคโรน่า ย่อมต้องการนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาแบ่งเบาภาระแพทย์พยาบาล ตลอดจนมุ่งพัฒนายกระดับระบบสาธารณสุขของประเทศ

ทีมวิจัยคณะวิศวะมหิดลจึงมีแนวคิดในการพัฒนาหุ่นยนต์แพทย์อัจฉริยะ Doctosight สำหรับการวินิจฉัยและรักษาผ่านระบบโทรเวช (Telemedecine) จะช่วยให้แพทย์และบุคลากรไม่ต้องเข้าใกล้หรือสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

จุดเด่นของหุ่นยนต์นี้สามารถทำงานร่วมกันได้มากกว่าหนึ่งตัวเพื่อตอบสนองคำสั่ง ในการตรวจสอบข้อมูลการทำงานในเชิงดิจิทัลในรูปแบบของการทำงานหุ่นยนต์ เช่น เวลาการบังคับของผู้ใช้งาน การระบุตำแหน่งหุ่นยนต์ที่มากกว่าหนึ่งตัวในระบบควบคุม

ทั้งนี้ หุ่นยนต์ทั้งหมดในระบบนั้นจะมีหน้าที่ในการรับส่งของมูลระหว่างกันเพื่อทำการอัพเดตสถานะ การทำงานภายในโรงพยาบาลและสามารถควบคุมได้ผ่านแอพพลิเคชั่นควบคุมหุ่นยนต์ที่ถูกพัฒนาและออกแบบขึ้น

S 265732098

ขณะที่ระบบควบคุมจะประกอบไปด้วย

  • ระบบควบคุมหุ่นยนต์แบบสั่งการพิกัดตำแหน่งเป้าหมายสำหรับหุ่นยนต์มากกว่าหนึ่งตัวในระบบปฏิบัติการ และระบบนำทางอัตโนมัติของหุ่นยนต์แพทย์อัจฉริยะภายในสภาพแวดล้อมที่กำหนด
  • ระบบควบคุมหุ่นยนต์ทางไกลแบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับหุ่นยนต์มากกว่าหนึ่งตัวในระบบปฏิบัติการ
  • ระบบติดตามการทำงานของหุ่นยนต์มากกว่าหนึ่งจำนวนภายในระบบปฏิบัติการ
  • ระบบผสานงานข้อมูลพื้นฐานของหุ่นยนต์มากกว่าหนึ่งตัวในระบบปฏิบัติการ เช่น การอัพเดตสิ่งกีดขวางหรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

การติดต่อสื่อสารของหุ่นยนต์กับตัวผู้ใช้งาน เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงการใช้งานของหุ่นยนต์ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยทำให้อยู่ในรูปแบบแอพลิเคชั่น ซึ่งสามารถดาวโหลด และเข้ารหัสกับตัวหุ่นยนต์และควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ผ่านระบบติดต่อไร้สาย ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัย และยังสามารถแสดงผลจากตัวหุ่นยนต์มาได้เสมือนอยู่ในสเตชั่นควบคุมหุ่นยนต์

2. ถุงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในการป้องกันเชื้อโรคและสารเคมี

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สร้างสรรค์นวัตกรรม ถุงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในการป้องกันเชื้อโรคและสารเคมี ซึ่งเป็นถุงสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติในการป้องกันไม่ให้อากาศด้านในไหลสู่ด้านนอกเพื่อเป็นการป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมีหรือสิ่งปนเปื้อนในถุงไปสู่ภายนอกถุง

S 3833874

หลักการของการป้องกันการไหลออกของอากาศภายในถุงคือการทำให้ความดัน (Pressure) นั้นมีน้อยกว่าภายด้านนอกถุง แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 1. ถุงเคลื่อนย้ายแบบ Negative Pressure Bag : NPB (ในรูปถุงสีใส) สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อ ป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อสู่ผู้อื่น โดยเก็บอากาศภายในเพื่อป้องกันอากาศออก และ 2. ถุงแบบ Positive Pressure Bag : PPB (ในรูปถุงสีเขียว) สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ไม่มีเชื้อในพื้นที่ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยถ่ายเทอากาศออกไปด้านนอก

3. ระบบเอไอ คัดกรองข่าวปลอมเรื่องการระบาดของไวรัสโคโรน่า

ด้าน ดร.สุเมธ ยืนยง อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการ กล่าวเพิ่มเติมว่า การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 สื่อต่างๆ โดยเฉพาะ โซเชียลเน็ตเวิร์ก (Social Network) ได้นำเสนอข่าว ส่งผลให้ประชาชนเกิดการตื่นกลัวและวิตกกันเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม บทความและข่าวสารบนโลกโซเชียลนั้นมีความหลากหลายในเรื่องของเนื้อหา สาระ และความถูกต้อง โดยจะมีเนื้อหาทั้งข้อเท็จจริง ความคิดเห็นส่วนตัว และข่าวปลอม (Fake News)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้คิดค้นนวัตกรรม ระบบเอไอ คัดกรองข่าวปลอมในเรื่องการระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 คาดจะแล้วเสร็จภายใน 1 เดือน

6E8C75C1 73A2 4EF7 BAFA E8D022D01C48

ระบบการทำงาน จะใช้เอไอตรวจจับข่าวปลอม ช่วยลดระยะเวลาการตรวจสอบข่าวสารที่แชร์บนโลกออนไลน์ และเผยแพร่ข่าวสารข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง โดยการทำงานคือ

  • ดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพื่อทำการประมวลผลข้อความที่ดึงมาได้ในแต่ละวันเวลา ทำการสกัด Name Entity ออกมา เพื่อหาคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การระบาดของโรค
  • เมื่อมีฐานข้อมูลแล้ว การทดสอบโพสในสื่อออนไลน์ ทำโดยการสกัด Name Entity จากข้อความ และทำการค้นหาโดยใช้คำเหล่านั้นเป็นฐานข้อมูล ในส่วนที่เป็นวันที่วันเดียวกันกับวันที่ของบทความ หากพบข้อความที่มีความหมายสอดคล้องกันในฐานข้อมูล ก็แสดงว่าบทความนั้นไม่ใช่ข่าวปลอม เพราะมีเนื้อความที่สอดคล้องกันกับฐานข้อมูล แต่หากไม่พบข้อความที่สอดคล้องกันเลย บทความดังกล่าวจะเป็นข่าวปลอม

Avatar photo