Environmental Sustainability

GC ผนึก 11 ดีไซน์เนอร์แถวหน้าของไทย ปั้น Upcycling Upstyling ต่อยอด ECO-Design

GC ผนึก 11 ดีไซน์เนอร์ระดับโลกของไทย ใน 6 สาขา เดินหน้าโครงการ Upcycling Upstyling นำขยะพลาสติก ต่อ ยอดสู่ผลิตภัณฑ์ ECO-Design หนุนใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

IMG 20200203 154505

วันนี้ (3 ก.พ.) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เปิดโครงการ “Upcycling Upstyling” ต่อยอดการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในรูปแบบ ECO-Design จากพลาสติกแบบดั้งเดิม พลาสติกรีไซเคิล (Recycled Plastic) และพลาสติกชีวภาพ (Bio Plastic) ผ่านการจับคู่ดีไซน์เนอร์ชั้นนำของไทย ที่มีผลงานระดับโลก (Expert of Style) จำนวน 11 คนใน 6 สาขา กับ ผู้ประกอบการ (Converters)  และเจ้าของแบรนด์ (Brand Owners)  เพื่อออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ Upcycle ขยายโอกาส ทางธุรกิจ พร้อมส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตอกย้ำแนวคิด Circular Living

IMG 20200203 151125
ปฏิภาณ สุคนธมาน

นายปฏิภาณ สุคนธมาน ผู้จัดการใหญ่  GC กล่าวว่า เราให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)มาโดยตลอด โดยเริ่มต้นทำโครงการ Upcycling the Oceans , Thailand เมื่อ 4-5 ปีก่อน จากนั้นเป็นต้นมา GC ก็ดำเนินโครงการต่างๆเกี่ยวกับ Upcycling พลาสติก เพื่อยกระดับสินค้าที่ทำจากขยะพลาสติกให้มีมูลค่าสูงขึ้น

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา เรายังไม่ได้ทำงานกับดีไซเนอร์เลย เป็นที่มาของโครงการ “Upcycling Upstyling” ในครั้งนี้ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากขยะพลาสติกให้หลากหลาย ผ่านงานออกแบบ โดยได้เชิญนักออกแบบคนไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลก 6 กลุ่ม จับมือผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ 19 บริษัท ที่อยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ ผลิตสินค้าจากขยะพลาสติก สามารถใช้งานในชีวิตประจำวัน ภายใต้แนวคิด “Up Waste to Value with WOW! Style” 

ปลายทางของโครงการของเรา มุ่งเน้นการสร้างความตระหนัก เรียนรู้ และรับรู้ว่า พลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย และขยะพลาสติก รวมถึงขยะอื่นๆ สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ ให้คุณค่า และราคาที่สูงขึ้น สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างดี

ขณะเดียวกันโครงการนี้ จะช่วยยกระดับกลุ่มลูกค้า และคู่ค้าของ GC ทั้งผู้ประกอบการ และ เจ้าของแบรนด์ ผ่านการออกแบบ นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ และสามารถรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมพลาสติกโลก 

IMG 20200203 153519

ทั้งนี้โครงการ Upcycling Upstyling จะให้ดีไซเนอร์ที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ดูแลกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 19 บริษัท จากหลากหลายอุตสาหกรรม พัฒนาสินค้าจากขยะพลาสติก ทั้งด้านบรรจุภัณฑ์, อุตสาหกรรมประมง (แห อวน), สถานประกอบการทางการแพทย์ (โรงพยาบาล) เป็นต้น

IMG 20200203 152835

สำหรับดีไซเนอร์เชี่ยวชาญ ทั้งหมด 6 สาขา ที่ร่วมโครงการ ประกอบด้วย

1. ผู้เชี่ยวชาญในหมวด Industrial Design (THINKK STUDIO และ QUALY)
2. ผู้เชี่ยวชาญในหมวด Craft & Wood Design (KORAKOT และ jird)
3. ผู้เชี่ยวชาญในหมวด Fashion Design (The ReMaker และ O&B)
4. ผู้เชี่ยวชาญในหมวด Material & Jewelry Design (Ek Thongprasert และ SARRAN)
5. ผู้เชี่ยวชาญในหมวด Packaging Design (Prompt Design)
6. ผู้เชี่ยวชาญในหมวด Architecture Design (Openbox)

” GC หวังว่า ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคน จะได้รับประสบการณ์ ที่ดีในการทำงานร่วมกับดีไซเนอร์ชั้นนำระดับแนวหน้า ของประเทศไทย สามารถนำเอาประสบการณ์ การออกแบบ เข้ามาผนวกรวมกับการดำเนินงานในธุรกิจ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า และผู้บริโภคในหลากหลายมิติ เพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน พร้อมกับความตระหนักรู้ และความเข้าใจถึงการเลือกใช้งานพลาสติก แต่ละประเภททั้งพลาสติกแบบดั้งเดิม พลาสติกรีไซเคิล และพลาสติกชีวภาพ ซึ่งมีคุณสมบัติที่หลากหลายและมีคุณประโยชน์ รวมไปถึงการใช้วัสดุทางเลือกอย่างเหมาะสม “

สำหรับ 11 ดีไซเนอร์ จาก 6 สาขาที่เข้าร่วมงานกับ GC ครั้งนี้ต่างต้องการมีส่วนร่วมในการลดขยะของประเทศ ด้วยการออกแบบขยะพลาสติกให้เป็นผลิตภัณฑ์มีมูลค่า นับเป็นความท้าทายของพวกเขา

IMG 20200203 155834 1
สมชนะ กังวารจิตต์

นายสมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์จาก Prompt Design ซึ่งได้รับรางวัลระดับโลกมากกว่า 62 รางวัล และถูกจัดอันดับ 4 ของตัวแทนบริษัทออกแบบแบรนด์โลก โดย World Brand Design Society 2019/20 ระบุว่า ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ผู้ เริ่มมองเห็นชัดเจนมาตามลำดับ ว่า เราในฐานะผู้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ถือเป็นต้นตอของขยะที่เกิดขึ้น

ที่ผ่านมานอกจากการออกแบบแพคเกจจิ้งแล้ว จึงได้นำเสนอเจ้าของแบรนด์ต่างๆ ให้ใช้วัสดุผลิตบรรจุภัณฑ์ ที่ย่อยสลายได้ แต่ผู้ประกอบการไม่ยอมรับ เพราะต้นทุนสูง แต่มาในระยะ 1-2 ปีหลัง กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาแรงมากในไทย ผู้ประกอบการก็ให้ความสำคัญมากขึ้น จึงให้ความร่วมมือผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น บรรจุภัณฑ์ใส่น้ำตาลที่ทำจากกระดาษ หรือทำจากไบโอพลาสติก เป็นต้น แต่ทำในปริมาณจำกัดคู่กับการใช้บรรจุภัณฑ์ทั่วๆไป เพื่อให้มีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะ

“การร่วมงานกับ GC ครั้งนี้ถือเป็นความท้าทายมาก ที่จะต้องคิด และออกแบบการนำขยะจากโรงพยาบาล มาทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ “

IMG 20200203 182900
รติวัฒน์ สุวรรณไตรย์

นายรติวัฒน์ สุวรรณไตรย์ เป็นอีกคนที่ร่วมโครงการนี้ เขา เป็นสถาปนิก ที่คว้ารางวัล German design Award 2018 สาขา Residence จากผลงานการออกแบบบ้าน Marble House โดยบอกว่า เขาอยู่ในแวดวงดีไซน์โครงการพลังงานทดแทนให้สวยงาม เพื่อสร้างการรับรู้สู่สาธารณะ เพราะปัจจุบันเจ้าของโครงการ ต่างต้องการให้ประชาชนรับรู้ว่า เขาเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตพลังงานสะอาด จึงต้องการดีไซน์ออกมาให้โดดเด่น รวมถึงมีประสบการณ์ออกแบบอาคาร ให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การร่วมงานกับ GC ถือเป็นการแชร์ความรู้ต่อกัน และไม่ยากที่จะออกแบบ ให้มีการนำวัสดุจากพลาสติกรีไซเคิล มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของอาคาร เพียงแต่ต้องทำการศึกษา โดย GC มีความพร้อมที่จะสนับสนุนในเรื่องนี้อยู่แล้ว

“การออกแบบผลิตภัณฑ์ หรืออาคารสถานที่ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล หากให้โดดเด่น จะสามารถสร้างการรับรู้สู่สาธารณะได้อย่างดี ให้ทั่วโลกได้รู้ว่า เราไม่ได้เป็นแค่ผู้ผลิตขยะ แต่นำขยะมาใช้ประโยชน์อย่างเข้มข้นเช่นเดียวกัน ”      

 

Avatar photo