Branding

ซีอีโอ ‘พฤกษา’ เผยไต๋ 7 เทคนิค ออกแบบโลโก้ ‘ให้โลกจำ’

สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) โพสต์เฟซบุ๊ก ผ่านเพจ “Supattra Paopiamsap” เรื่อง จะออกแบบโลโก้ ให้โลกจำได้อย่างไร? โดยระบุว่า

“การสร้างแบรนด์นั้นเป็นหัวใจของการแข่งขันและสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน แบรนด์นั้นมีมูลค่า

เขียว

มาดูมูลค่าแบรนด์มากที่สุดในโลกนี้ในภาพกัน แอปเปิ้ล เป็นแบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ตามด้วย กูเกิล แล้วลองหาดูซิว่า มีแบรนด์สัญชาติเอเชียกี่แบรนด์ ? และแบรนด์สัญชาติไทยกี่แบรนด์ ?

อยากเห็นแบรนด์สัญชาติไทยอยู่บนโผเยอะๆ เลยค่ะ งั้นเรามาเริ่มต้นด้วยการออกแบบโลโก้กันเลย เพราะ โลโก้เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการสร้างแบรนด์ เราจะออกแบบโลโก้อย่างไรให้ติดตา ให้ติดใจ ให้โลกจำได้

โลโก้ คือเครื่องหมายหรือสัญญลักษณ์ (symbol) ที่เป็นเอกลักษณ์ให้กับสินค้าหรือบริษัทที่สือถึงภาพพจน์ (image) ที่เราต้องการสื่อให้กับสินค้าหรือบริษัท โลโก้ที่ดี จะมี impact และสื่อความหมายแทนคำพูดได้มหาศาล (A logo can say thousand words)

มูลค่าแบรนด์

หลักการของโลโก้ที่ดี มีดังนี้

1. Unique ต้องไม่เหมือนใคร ไม่คล้ายใคร โดดเด่น เป็นตัวเอง

2. Timeless ไม่เก่า ไม่เชย ตามกาลเวลา ต้องดูดีและทันยุคสมัย

3. Simple ต้องเป็นอะไรที่ง่าย ๆ ยิ่งเด็กวาดและเขียนได้ยิ่งดี สีที่ใช้ต้องชัดเจน ยิ่งน้อยยิ่งยิ่งดี ไม่ควรใช้หลายสี ไม่ควรเกิน 3 สีจะดี และที่สำคัญต้องใช้งานได้ในสีขาวดำ

4. Memorability เห็นปุ๊บ จำได้ปั๊บเลย เพียงเห็นแค่ส่วนเดียวก็รู้ได้ว่าเป็นแบรนด์อะไร

5. Has Hidden meanings โลโกที่ดีจะมีความหมายซ่อนอยู่เสมอ จะเป็น purpose ขององค์กร, จะเป็น concept ของแบรนด์, จะเป็น brand value เป็นต้น

6. Impact ต้องเห็นชัดในระยะไกล ข้อนี้มักจะผิดพลาดกันบ่อย ๆ เพราะเราทำงานกันบน power point หน้าจอ เลยตัดสินใจระยะแค่ 1 ฟุต เทคนิคง่ายๆ ก็ลองดูจากคอมพิวเตอร์ห่างสัก 2 เมตร 3 เมตร ถอยระยะไปเรื่อยๆ จะเห็นว่า โลโก้นี้ impact แค่ไหน

7. Scalability โลโก้ที่ดีจะสามรถใช้ได้กับสื่อทุกรูปแบบ และปรับใช้ได้ทุกขนาดของพื้นที่สื่อ โดยเฉพาะพื้นที่เล็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็นบนมือถือ, บนpackaging, บนเข็มกลัด เป็นต้น

โลโก้

ฉันภูมิใจที่ได้มีโอกาสปรับ โลโก้ใหม่ของพฤกษา โดยใช้หลักเกณฑ์ข้างบนนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำ rebranding โดยนำ purpose ขององค์กรสื่อผ่านแบรนด์และโลโก้ ลองดูภาพเปรียบเทียบแบบเก่าและปัจจุบันนะคะ

ใบไม้สีเขียว คือความสุข ความร่มเย็นในบ้านของพฤกษา

ตัว P คือ People of Pruksa คนและพนักงานของพฤกษา

สีเทาเข้ม คือ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี

ความหมายรวม: เมื่อเราเห็นแบรนด์นี้ พนักงานของพฤกษาทุกคนจะใส่ใจทำงาน จะมุ่งหาเทคโนโลยี นวตกรรม ในการสร้างและส่งมอบบ้านที่มีความสุขและร่มเย็นให้ลูกค้า

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าโลโก้ของแบรนด์เราดีหรือยัง?

โลโก้พฤกษา

เทคนิคง่าย ๆ มีดังนี้

1. ลองดูจากระยะไกล ว่าเห็นชัด โดดเด่นไหม

2. ลองทำด้วยสีขาวและดำ แล้วอัตตลักษณ์ยังดูเป็นแบรนด์เดียวกันไหม

3. ลองหัดวาดโลโก้เราเอง ว่ายากไหม วาดแล้วยังทายถูก ดูออกว่าเป็นแบรนด์เราไหม

3. ลอง crop ตัดโลโก้บางส่วนออก แล้วยังดูออก ทายออกว่าเป็นแบรนด์เราไหม ในภาพที่ตัดมาบางส่วนของแบรนด์ ลองทายซิว่าเป็นแบรนด์อะไร?

4. ลองถามพนักงานเราว่ารู้ความหมายของแบรนด์ไหม

ลองนำหลักการนี้ไปเช็คดูกับโลโก้ของแบรนด์เราว่าดีแค่ไหน แบรนด์ที่มีอายุนานๆ เป็น 100 ปี เขาก็จะทำการปรับโลโก้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ แต่การเปลี่ยนโลโก้ก็ไม่ควรเปลี่ยนบ่อยนะคะ อย่างน้อยก็น่าจะ 10-20ปีครั้ง เพราะการเปลี่ยนแต่ละครั้งนั้นยุ่งยากและมีต้นทุนทั้งเงินและเวลา และเวลาเปลี่ยนก็ต้องมีข้อระวังหลายเรื่อง คือต้องเก็บจุดแข็งที่ดี (brand cue) และปรับจุดอ่อน คือทำให้ดูใหม่แต่ยังเป็นคนเดิม อันนี้สำคัญเพราะเปลี่ยนจนคนจำเราไม่ได้ก็พังได้

ใครขายสินค้าที่ยังไม่มีแบรนด์ ก็รีบตั้งชื่อและสร้างโลโก้ ใครที่มีแบรนด์และโลโก้อยู่แล้วก็ลองเอาหลักการมาเช็คดูว่าเป็นอย่างไร แล้วก็พิจารณาว่าควรปรับไหม”

ขอบคุณข้อมูลจาก www.facebook.com/Supattra-Paopiamsap

Avatar photo