Wellness

‘กรรมพันธุ์มะเร็ง’ มรดกตระกูล ที่ป้องกันได้

“มะเร็ง” ภัยเงียบร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 1 มายาวนานกว่า 20 ปี หลายคนคิดว่าดูแลตัวเองดีแล้ว สุดท้ายกลับพบว่าป่วยเป็นมะเร็ง นั่นก็เพราะโรคมะเร็งมีความซับซ้อน และมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้เกิดโรค โดยผู้ป่วย 95% เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นเอง หรือถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก และอีก 5% เป็นโรคมะเร็งที่เกิดจากพันธุกรรม

คนส่วนใหญ่มักคิดว่าการมียีนมะเร็งทางพันธุกรรมเป็น “กรรม” ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ไม่สามารถแก้ไขหรือป้องกันได้ แต่ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ช่วยให้สามารถตรวจสอบยีนมะเร็งทางพันธุกรรม และโอกาสในการเกิดโรค เพื่อหาทางป้องกัน และลดความเสี่ยงให้กับตัวเอง และทายาทได้

asian grandfather granddaughter video call home senior chinese grandpa happy with young girl using mobile phone video call talking with her dad mom lying living room home 7861 1921

ผศ.ดร.นพ. โอบจุฬ ตราชู แพทย์อายุรศาสตร์และพันธุศาสตร์การแพทย์ โรงพยาบาลพญาไท 2 เปิดเผยว่า โรคมะเร็งทางพันธุกรรม เกิดจากการถ่ายทอดยีนที่มีการกลายพันธุ์จากรุ่นพ่อแม่ไปยังรุ่นลูก ซึ่งความผิดปกติของยีนนี้สามารถส่งต่อไปยังทายาทรุ่นต่อไปได้อย่างไม่สิ้นสุด ผู้ที่ได้รับยีนผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเหล่านี้มีแนวโน้มจะเกิดโรคมะเร็งเช่นเดียวกับคนในครอบครัวได้ตั้งแต่ 14-99% ซึ่งทางการแพทย์ถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูง

นอกจากนี้ยังส่งผลให้สามารถเกิดโรคมะเร็งได้ตั้งแต่อายุน้อย โดยปกติความเสี่ยงโรคมะเร็งจะเริ่มเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป แต่มะเร็งทางพันธุกรรมมีความเสี่ยงเกิดโรค ในช่วงอายุ 40 ปี หรือน้อยกว่า ดังนั้นหากมีญาติในสายใกล้ชิด เช่น ยาย แม่ พี่น้องของแม่ หรือพี่น้อง มีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็ง ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือมีญาติเป็นมะเร็งตั้งแต่อายุไม่ถึง 50 ปี แม้เพียงคนเดียว ให้สงสัยว่าอาจมียีนมะเร็งทางพันธุกรรม ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาความเสี่ยง

ผศ.ดร.นพ.โอบจุฬ ตราชู 1
ผศ.ดร.นพ. โอบจุฬ ตราชู

ทั้งนี้ โรคมะเร็งทางพันธุกรรม ไม่สามารถรู้ได้จนกว่าจะได้รับการตรวจ โดยแพทย์จะซักประวัติเพื่อนำไปคำนวณหาความเสี่ยง หากพบว่าคนไข้มีความเสี่ยงจากประวัติครอบครัว เพื่อตรวจเลือดหายีนมะเร็งทางพันธุกรรม

อย่างไรก็ตาม พบว่าคนไข้ส่วนใหญ่ไม่อยากตรวจเพราะกลัวเจอว่าตัวเองมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง ทั้งที่ความจริงแล้ว การตรวจหายีนมะเร็งทางพันธุกรรมมีข้อดีมากกว่าที่คิด เพราะแพทย์จะสามารถแนะนำให้คนไข้ปรับแนวทางการดูแลสุขภาพ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ รวมไปถึงเตือนคนในครอบครัวให้ระวังร่วมกัน ทั้งยังสามารถวางแผนชีวิตหลังแต่งงานได้ดีขึ้นด้วย

happy asian young family homeowners bought new house japanese mom dad daughter embracing looking forward future new home after moving relocation sitting sofa with boxes together 7861 2295

ความกังวลของผู้ที่มียีนมะเร็งทางพันธุกรรม นอกจากโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกับตัวเองแล้ว ยังกังวลว่าจะส่งต่อพันธุกรรมเหล่านี้ไปยังลูกหลาน การตรวจพันธุกรรมก่อนแต่งงานจึงมีประโยชน์มาก เพราะจะช่วยให้คนไข้สามารถวางแผนการใช้ชีวิตหลังแต่งงานและการมีบุตรได้ปลอดภัยกับลูกมากขึ้น โดยแพทย์จะแนะนำให้ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการเลือกเก็บไข่หรือเชื้อที่ไม่มียีนมะเร็งทางพันธุกรรมและโรคร้ายอื่น ๆ สำหรับทำเด็กหลอดแก้ว เป็นทางเลือกที่ช่วยลดความเสี่ยงที่จะส่งต่อกรรมพันธุ์มะเร็งไปถึงรุ่นลูกได้

Avatar photo