Marketing Trends

แรงงานยุคใหม่ต้องรู้ เตรียมรับมือระบบ ‘อัจฉริยะโลก’ สู่การผลิตยุคที่ 3

หากย้อนไปในแต่ละยุคสมัย งานด้านการผลิตของกลุ่มโรงงาน มีบทบาทแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะอุตสาหกรรมด้านสิ่งทอ อุตสาหกรรมด้านรถยนต์ อุตสาหกรรมด้านอุปโภคบริโภค ล้วนแต่เกิดจากงานด้านโรงงาน ระบบดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ การเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีใหม่มีผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรม มักก่อให้เกิดความต้องการทักษะใหม่ สร้างตำแหน่งงานใหม่ ๆ มากมาย

ดังนั้น การผลิตถือเป็นด่านแรกของการเปลี่ยนผ่าน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในความต้องการทักษะการทำงานใหม่ ลดบทบาทของทักษะไร้ประโยชน์ ผู้ผลิตมักขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะสูง ไม่สามารถค้นหาบุคลากรที่มีทั้งทักษะด้านเทคนิค ทักษะการประสานงานที่ผสานเข้ากันได้อย่างลงตัวเหมาะสมกับตำแหน่งงานใหม่การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี บุคลากร ให้เกิดทักษะที่ลงตัวตอบโจทย์สังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง การค้นหาทางออกที่เหมาะสม สำหรับการขาดแคลนทักษะที่เป็นที่ต้องการ ในกลุ่มภาคการผลิตถึง 2 ล้านตำแหน่ง เพื่อไม่ให้ขาดแคลนแรงงาน

teamwork 2016423 960 720

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ร่วมกับ เอ็มเอ็กซ์ดี พร้อมร่วมกับพันธมิตรทางวิชาการ รัฐบาล และอุตสาหกรรมกว่า 30 ราย รวมถึงซีเมนส์ ไมโครซอฟท์ แคทเธอร์พิลลาร์ และเจเนอรัล อิเล็กทริค ได้สำรวจภาคการผลิตดิจิทัลในอนาคต เพื่อวิเคราะห์ระบุถึงทักษะและหน้าที่ในอนาคต ถึงขีดความสามารถในเครื่องมือสนับสนุนองค์กรของภาคการผลิต เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนผ่านของภาคอุตสาหกรรมที่แน่นอน ต้องเข้าสู่สังคมแห่งดิจิทัลเต็มรูปในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

รีเบคก้า โควาลสลกี้ รองประทานบริษัท แมนพาวเวอร์ อเมริกาเหนือ เปิดเผยว่า เส้นทางของการผลิตให้สามารถเข้าถึงศักยภาพเหล่านี้ได้ด้วยทักษะใหม่ๆ ที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงมากมาย สู่ความล้ำสมัย ของสังคมแห่งดิจิทัลและการเชื่อมต่อ จากรุ่นที่ศูนย์จนถึงรุ่นที่สาม

ปัจจุบันนี้ โลกได้เข้าสู่การผลิตรุ่นที่สามอย่างสมบูรณ์ ปี 2563 รุ่นที่สามจะกลายเป็นกระแสหลัก เนื่องจากเทคโนโลยีมีความแพร่หลายมากขึ้น และเครื่องจักรมีความฉลาด สามารถสอนและเรียนรู้จากกันและกันได้ นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้บุคลากรรุ่นใหม่ที่มีหน้าที่จัดการระบบการเชื่อมต่อระหว่างองค์กรเหล่านี้ ต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

ทั้งนี้ รุ่นการผลิตมักสอดคล้องกับยุคสมัยต่าง ๆ ของเครื่องมือการผลิต เทคโนโลยี และงานแต่ละรุ่นมีดังนี้

  • รุ่นที่ศูนย์ คือ การผลิตแบบดั้งเดิมในช่วงทศวรรษที่เจ็ดสิบ และศตวรรษที่ 20 รุ่นที่หนึ่ง ใช้เวลา 35 ปี ตั้งแต่ปี 2513 ถึง 2548 ใช้ระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ในการผลิตผ่านระบบอัตโนมัติ
  • รุ่นที่สอง คือ การเปลี่ยนแปลงการพัฒนาซอฟต์แวร์ การผลิตที่ทันสมัย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในช่วงปลายของรุ่นที่สอง
  • รุ่นที่สาม นับจากปี 2563 เป็นยุคแห่งดิจิทัล จะก้าวอย่างรวดเร็ว ภาคการผลิต แรงงาน ต้องตามให้ทัน และคาดว่าจะเข้าสู่การผลิตรุ่นที่สามอย่างเต็มรูปแบบในไม่ช้า

Info รุ่นของการผลิต

สำหรับประเทศไทยในปี 2563 และในอนาคต ต้องเผชิญกับความล้ำหน้าโลกของเชื่อมต่อแบบไร้พรมแดน ด้วยอินเทอร์เน็ตในภาคอุตสาหกรรม ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ การพิมพ์สามมิติ ยุคแห่งดิจิทัล การผลักดันให้เกิดโรงงานแห่งอนาคต นับจากวันนี้ ถึง 5 ปีข้างหน้าการเปลี่ยนผ่านทางอุตสาหกรรมจะเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มตัว ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ ภาพรวมของประเทศ

ขณะเดียวกัน การเปิดโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี จะเป็นจุดสำคัญในการก้าว โรงงานแห่งอนาคตของประเทศ เทคโนโลยีที่ทันสมัยจะช่วยให้ภาคการผลิตและระบบการผลิตเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอีกห้าถึงสิบปีข้างหน้า

การเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลนี้เป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ที่จะทำให้ทั่วโลกเชื่อมต่อกันอย่างไร้ขีดจำกัด ทำให้เกิดความต้องการทักษะใหม่ และเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้แก่ธุรกิจเพื่อสร้างความเติบโตและมูลค่าของตนเอง

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป พบว่า ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงต่อองค์กรภาคการผลิตเกือบครึ่งของหน้าที่ทั้งหมดในภาคการผลิต หรือ 49% ต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายในสามถึงห้าปีข้างหน้า เนื่องจากมีการเปลี่ยนผ่านทางอุตสาหกรรมเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ

จากการวิเคราะห์กำลังคนของแมนพาวเวอร์กรุ๊ป พบตำแหน่งหน้าที่ใหม่ 165 ตำแหน่งใน 7 สาขาความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ได้แก่ การผลิตดิจิทัล, เครือข่ายดิจิทัล, บริษัทดิจิทัล, ผลิตภัณฑ์ดิจิทัล, การออกแบบดิจิทัล, เครือข่ายการจัดหา และการผสมผสาน

Info ขอบเขตของภาคการผลิตในอนาคต 01

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การเพิ่มทักษะให้แก่บุคลากรสายงานผลิตในอนาคตทั้งในแง่ความเร็วและความกว้างขวาง จำเป็นต้องใช้วิธีฝึกอบรมรูปแบบใหม่ โดยการพัฒนาทักษะที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดจะได้รับจากหลักสูตรการรับรองที่มีระยะเวลาสั้นประมาณหกเดือนหรือน้อยกว่า ผู้ได้รับการฝึกจะสามารถรักษาทักษะไว้ได้มากยิ่งขึ้นหากทำการฝึกควบคู่ไปกับการฝึกงานจริง

การเป็นโรงงานแห่งอนาคต ไม่ได้เป็นเพียงการพัฒนา ปรับเปลี่ยนภายในองค์กรเพียงอย่างเดียว หากแต่จะเป็นการปลดล็อคของประเทศให้ก้าวสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาด้านภาคอุตสาหกรรมการผลิต การพัฒนาด้านแรงงาน ให้เป็นแรงงานที่มีทักษะคุณภาพตรงตามความต้องการ ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในเชิงเศรษฐกิจ หากแต่วันนี้ต้องขับเคลื่อนเดินหน้าไปด้วยกัน ทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนภาคการศึกษาที่ต้องมองแผนการพัฒนาในระยะยาว

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป สรุปประเด็นสำคัญที่ภาคธุรกิจต้องปรับตัวรับกับการผลิตยุคดิจิทัล ได้แก่

  • พัฒนากลยุทธ์เชื่อมโยงแรงงาน แรงงานที่มีทักษะ ที่เหมาะสม สร้างแรงงานคุณภาพเหมาะสำหรับภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และมีการวางแผนต่อยอด
  • ระบุทักษะที่จะมีความสำคัญในระยะสั้น, กลาง และยาว สร้างแผนผังตำแหน่งขอบเขตที่ชัดเจน เหมาะสมกับตำแหน่งงาน สามารถใช้ข้อมูลในการระบุทักษะตามความต้องการ
  • ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจถึงผลกระทบที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการทำงานในอนาคต ทั้งในด้านของภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ ด้านแรงงาน และเศรษฐกิจของประเทศ

Avatar photo