Economics

เตือน!! ปีหน้ามือถือเวอร์ชั่นล้าสมัย จะใช้โมบายแบงกิ้งไม่ได้

“ธนาคารแห่งประเทศไทย” เตือน พ.ค.63 มือถือที่เจลเบรค – ระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นล้าสมัย จะใช้โมบายแบงกิ้งไม่ได้

นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 มือถือที่ผ่านการแก้ไขระบบปฏิบัติการ หรือเจลเบรค (Jailbreak) และมือถือที่ไม่สามารถอัพเดทซอฟต์แวร์ให้สามารถใช้แอปพลิเคชั่นของสถาบันการเงิน มีระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นล้าสมัย คือ ระบบ IOS ต่ำกว่าเวอร์ชั่น 8 ระบบแอนดรอยด์ ต่ำกว่าเวอร์ชั่น 4 จะไม่สามารถใช้งานโมบายแบงก์กิ้งได้ ซึ่งปัจจุบันธนาคารพาณิชย์หลายแห่งไม่อนุญาตให้ลูกค้าใช้เครื่องลักษณะดังกล่าวเข้าใช้งานแล้ว เพื่อดูแลความปลอดภัย จากภัยไซเบอร์ที่กำลังคุกคามอยู่ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งการปล่อยมัลแวร์ การแฮ็กข้อมูล การใช้แอปพลิเคชั่นปลอมมาหลอกลวงผู้ใช้บริการ

สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา202621

อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้ย้ำไปยังสถาบันการเงินให้สื่อสารและทำความเข้าใจกับลูกค้า โดยขอให้ลูกค้าอัพเดทระบบปฏิบัติการเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด ซึ่งมาตรการที่แต่ละธนาคารจะทำ จะเป็นแบบขั้นบันไดโดยให้เวลาปรับตัวประมาณ 4 เดือน คือ ตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน 2563 ก่อนที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ จากการที่ธนาคารพาณิชย์ได้ทำการสำรวจพบว่า มือถือที่ผ่านการเจลเบรคในประเทศไทยมีประมาณ 10,000 เครื่อง ส่วนมือถือที่ไม่สามารถอัพเดตซอฟต์แวร์ตามเกณฑ์ใหม่มีประมาณ 1% ซึ่งถือว่ามีจำนวนไม่มาก ดังนั้นผลกระทบจึงมีค่อนข้างจำกัด

นางสาวสิริธิดา กล่าวอีกว่า ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2563 บัตรแถบแม่เหล็กจะไม่สามารถใช้กดเงินสด และทำธุรกรรมใด ๆ ได้ ดังนั้น จึงขอให้ประชาชนนำบัตรแถบแม่เหล็กมาเปลี่ยนเป็นบัตรชิปการ์ดภายในวันที่ 15 มกราคม 2563 โดยจะฟรีค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนบัตร แต่หากมาเปลี่ยนหลังจากนั้นจะต้องเสียค่าธรรมเนียม

78471043 1000637176952376 2369664814482980864 o

นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถระบุประเภทบัตรที่ต้องการได้ หากพบว่าเจ้าหน้าที่แบงก์อ้างว่า บัตรมาตรฐานหมดหรือมีเหตุใด ๆ ที่ไม่สามารถทำบัตรตามที่ลูกค้าต้องการได้ให้โทรแจ้งศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน 1213 ขณะนี้บัตรแถบแม่เหล็กคงเหลือ 12.1 ล้านใบ ลดลงจากเดือนกันยายนที่ผ่านมาที่มีจำนวน 16.6 ล้านใบ โดยเป็นบัตรที่มีการใช้ประจำ 7.1 ล้านใบ และใช้ไม่ประจำ 5 ล้านใบ และพบว่า บัตรแถบแม่เหล็กที่คงค้างอยู่ในกรุงเทพมหานคร อุดรธานี ขอนแก่น เชียงใหม่ เชียงราย มากที่สุด ดังนั้น จึงขอให้ประชาชนรีบมาเปลี่ยนเป็นบัตรชิปการ์ด โดยคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะลดจำนวนบัตรแถบแม่เหล็กลงได้อีก 1 ล้านใบ

ที่มา : สำนักข่าวไทย

Avatar photo