Economics

120 วัน จาก ‘ศูนย์’ ถึง ‘การแบ่งปัน’ พลังงานสะอาด ที่ทุกคนเข้าถึง

กกพ. จับมือ 5 ภาคีเครือข่าย ตอกย้ำผล “120 วัน แห่งการแบ่งปันพลังงานสะอาด” สร้างการรับรู้ และแรงบันดาลใจครอบคลุมผู้ใช้ไฟทั่วประเทศ สอดรับคอนเซปต์ “พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้” 

DSC 07671

“Affordable And Clean Energy”  หรือ “พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้” เป้าหมายที่ 7 ในการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ที่ทั่วโลกใช้เป็นคัมภีร์ในการพัฒนายุคใหม่ และถูกนำมาเป็นภารกิจของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อมุ่งสู่การใช้พลังงานสะอาด มีความทันสมัยและยั่งยืน

กกพ.ปักหลักเริ่มต้นในปี 2562 โดยเลือกที่จะใช้กลยุทธ์การสื่อสารผ่าน SOFT POWER และคัดเลือก 5 ภาคีเครือข่าย ที่เชี่ยวชาญต่างสาขาต่างประสบการณ์มาทำงานร่วมกัน และเชื่อมร้อยการสื่อสารเข้าด้วยกัน ทั้งบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน), บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด, บริษัท เทลสกอร์ จำกัด, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ( CEA ) และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

yuiii

ผ่านมาเกือบครึ่งทาง นับจากวันตั้งต้นในเดือนสิงหาคม จนมาเดือนพฤศจิกายน ถือเป็น “120 วัน” ของการรวมพลังครั้งใหญ่ จุดกระแสความสนใจพลังงานสะอาด โดยเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่ผ่านมา กองทุนพัฒนาไฟฟ้า ร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้ง 5 องค์กร ได้พร้อมใจกันสรุปความก้าวหน้าของกิจกรรมการสื่อสารเป็น “120 วันแบ่งปันพลังงานสะอาด” ที่พวกเขาภาคภูมิใจจากการได้เข้ามาร่วมงานครั้งนี้

คุณเสมอใจ ศุขสุเมฆ
เสมอใจ ศุขสุเมฆ

เสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกกพ.ประเมินว่า โครงการ “พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้”  ที่สำนักงานกกพ.ดำเนินการผ่านกลไกของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ในปีงบประมาณ 2562 สร้างกระแสความตื่นตัว และตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาพลังงานสะอาด เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับภาคพลังงานของประเทศ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ไฟฟ้าทุกช่วงอายุ

“หัวใจ และเป้าหมายสำคัญที่สุด ของโครงการนี้ ต้องการสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืน ในภาคพลังงานของชาติ ภายใต้วิสัยทัศน์หลักของกกพ.ในการเป็นองค์กร กำกับ ดูแล กิจการพลังงานให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการยอมรับ และสนับสนุน จากกระบวนการมีส่วนร่วม อย่างสร้างสรรค์จากประชาชนผู้ใช้พลังงานของประเทศ ”

คุณบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ตัด
บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์

ขณะที่บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการกกพ. เล่าตั้งแต่ต้นทางของการทำงาน ว่า เราแบ่งการทำงานออกเป็น 3 หัวข้อใหญ่ คือ Inspiration ,Education และ Action ช่วงแรกต้องการกระตุ้นแรงบันดาลใจก่อน ตามมาด้วยการให้ความรู้ในเรื่องพลังงานสะอาด และการทำให้เกิดการลงมือใช้พลังงานสะอาดอย่างจริงจัง

โดยให้ภาคีเครือข่าย ทั้ง 5 แยกกันทำงานตามความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ ขณะเดียวกันก็บูรณาการทำงานระหว่างกันด้วย ทำให้เกิดการเชื่อมร้อย และส่งต่องานสื่อสารอย่างต่อเนื่อง

9349B763 ED6E 424C A4C7 7A3F72209734
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง

การรวมตัวของภาคีเครือข่ายในโอกาสครบรอบ “120 วันแบ่งปันพลังงานสะอาด” เมื่อวันที่ 18 ธันวาคมที่ผ่านมา จึงเป็นบรรยากาศของความอิ่มเอมใจ ผ่านการถ่ายทอดของผู้บริหารทั้ง 5 องค์กร ที่ผลัดกันเล่าด้วยรอยยิ้ม ถึงประสบการณ์ใหม่ที่เหล่าคนทำงานเองก็ได้รับ จากก้าวแรกที่ศูนย์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2562 จนมาถึงการหลอมใจเป็นหนึ่งเดียว ในการเดินหน้าผลักดันพลังงานสะอาด และส่งต่อความพยายามนี้ให้ผู้คน จนเกิดการตระหนักรู้ถึงพลังงานสะอาดที่ประชาชนทุกคนสามารถใชังานได้จริง

budd
บุษบา ดาวเรือง

วันนั้น ทั้ง 5 องค์กรส่งไม้ต่อเล่าถึง 5 ขั้นตอนในการทำงาน ตั้งแต่ ขั้นตอนแรก ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้น ที่ได้เลือกใช้ KOL : KEY OPINION LEADER เพื่อสร้างกระแส และจูงใจ ให้กลุ่มเป้าหมาย เกิดความสนใจคล้อยตาม โดยผู้นำทางความคิด ที่เป็นที่ยอมรับในสังคม คือ เบิร์ด – ธงไชย แมคอินไตย์ มาสื่อสารผ่านโครงการ “ไฟ จาก ฟ้า”  โดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) สร้างการรับรู้ แรงบันดาลใจ และความเข้าใจ สามารถเข้าถึงประชาชนทั่วประเทศ ผ่านวิดีโอต่างๆ ของโครงการ “พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้” กว่า 21 ล้านวิว รวมถึงยอดวิวของ MV “แสงของดวงตะวัน” ทุกเวอร์ชั่นสูงถึง 18 ล้านวิว

0D5F7804 E74C 44B6 9AFA BD4033A48F17

ขณะที่ ช่องวัน 31 ร่วมสื่อสารโครงการฯ ผ่านรายการพิเศษ เช่น รายการซีรีส์บันเทิง “ไฟ จาก ฟ้า” รายการข่าวเย็น (จั๊ด ซัดทุกความจริง) เนื้อหาเพลง “แสงของดวงตะวัน”  ผ่านเมนูเพจ รวมยอดผู้ชมทั้งหมดกว่า 32 ล้านคน

ขั้นตอนที่สอง ขยายผลด้วยการผลิตสื่อเพื่อสื่อสารองค์ความรู้ ได้แก่ รายการ “คนบันดาลไฟ” , “ภารกิจพิชิตตะวัน” , “มหา’ลัย ไฟ จาก ฟ้า”  โดยบริษัท ทีวีบูรพา จำกัด สู่กลุ่มชุมชน และเครือข่าย (COMMUNITY & NETWORKING)  ที่ทำงานครบ loop จนถึงระดับพื้นที่

โดยนำเสนอตัวอย่างของกลุ่มคนที่รัก และให้ความสนใจในการนำพลังงานสะอาดมาใช้ สร้างกระแสมีส่วนร่วมในชุมชนต่างๆระดับพื้นที่ กระตุ้นให้เกิดการนำไปใช้งานจริง และการรวมกลุ่มจิตอาสา เพื่อนำโซลาร์เซลล์ไปติดตั้งในพื้นที่ห่างไกล นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมช่างชุมชนทั่วประเทศ ให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว

0547C0CD 9B3D 43BC A3E6 30BA96C34F9D

ทั้งนี้ โครงการ “คนบันดาลไฟ” มีคนเข้าถึงทางสื่อโซเชียลมีเดีย 16,903 คนต่อวัน ขณะที่ “มหา’ลัยไฟจากฟ้า” ได้เผยแพร่คลิปความรู้ในการติดตั้ง และบำรุงรักษาโซลาร์เซลล์ มีผู้สนใจเข้าชมแล้วกว่า 3 แสนคน และกิจกรรมอบรม “คนบันดาลไฟ” ที่ให้ความรู้เรื่องโซลาร์เซลล์จาก “เทพโซลาร์” ตัวจริงที่มาอบรมให้กับประชาชน ใน 15 พื้นที่ทั่วประเทศ จำนวน 32 ครั้ง ไปสู่เป้าหมายหลักพลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้

นอกจากนี้ยังทำควบคู่กับโครงการ “SOLAR VENGERS”  โดย CEA จัดทำ WORK SHOP DESIGN THINKING และการแข่งขันเพื่อพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ในอนาคต โดยมีผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจำนวน 12 ชิ้นงาน พร้อมเตรียมนำโชว์เคสไปแสดงในงาน BANGKOK DESIGN WEEK ปี 2563 โดยจะมีการคัดเลือก 3 ผลงาน เพื่อนำไปสร้างเป็นต้นแบบ ก่อนนำไปขยายผลต่อ

ขั้นตอนที่สาม การสร้างกระแสอย่างต่อเนื่อง โดยขยายฐานการรับรู้ผ่าน INFLUENCER ผู้นำทางความคิด หลากหลายสาขาวิชาชีพ ในทุกช่องทางสังคมออนไลน์ที่มีผู้ติดตามรวม 27 ล้านคน เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายกว่า 25 ล้านคน สร้างการมีส่วนร่วม 57.84 % ผ่านโครงการ “POWER OF ME, POWER OF WE” โดย บริษัท เทลสกอร์ จำกัด ซึ่งถือเป็นสถิติตัวเลขที่อยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์

12.BACC

ขั้นตอนที่สี่ การขยายผล โดยใช้สื่อศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จากโครงการ “จรัส แสงสร้างสรรค์”  โดยหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ที่ระดมศิลปินหลากหลายสาขา สร้างสรรค์ผลงานศิลปะแขนงต่างๆกับภารกิจสร้างแรงบันดาลใจ ผ่าน ART PLATFORM เช่น จรัส LAB , จรัส KIDS ที่ปลูกฝังเรื่องพลังงานสะอาดให้กับเด็กๆ และครอบครัว รวมไปถึงการอบรมครูในโรงเรียนต้นแบบ 20 แห่ง เพื่อกระจายความรู้ด้านพลังงานสะอาดออกไปอย่างกว้างขวาง

นอกจากนี้ยังมี จรัส THEATER, จรัส FORUM โดยมี จรัส LIGHT FEST เป็นกิจกรรมนำร่อง สาธิตการออกแบบงานศิลปะ ที่สร้างแรงบันดาลใจ จากการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมีกำหนดจัดงานตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2562 ถึง วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ลานด้านหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ

” การทำโครงการนี้ เรานึกถึงเป้าหมายใหญ่เสมอ ที่ต้องทำให้เกิด Big Impact และเชื่อมั่นใน SOFT POWER ผ่านกระบวนการสื่อสารในรูปแบบที่หลากหลาย มีความสร้างสรรค์ บนเครื่องมือ ช่องทางการสื่อสาร ที่ลงตัวจากความเชี่ยวชาญ ในแต่ละด้านของภาคีเครือข่ายทั้ง 5 ถือว่า 120 วันที่ผ่านมา ได้สร้างความตื่นตัว และเกิดกระแสการรับรู้อย่างต่อเนื่อง และเราจะทำต่อไปในปี 2563 ” บัณฑูร ย้ำ 

และการพลิกโฉมสื่อสารขององค์กรรัฐ ผ่าน SOFT POWER โดยใช้ศิลปะทุกแขนงนี้เอง สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการครีเอทีฟ และสื่อสารไม่น้อย ทำให้กกพ.ได้รับรางวัล 2 สาขา “Best Game Changer in Influencer Marketing” และ รางวัล “Best Influencer Campaign of The Year” จากงาน “Thailand Influencer Awards 2019 “ นับเป็นต้นแบบของการบูรณาการทุกเครือข่าย และทุกช่องทางการสื่อสาร ให้เข้าถึงประชาชนทุกเพศทุกวัย จึงเป็น “120 วัน” ที่เริ่มเห็นผลสำเร็จ และกำลังเดินหน้าต่อไป เพื่อสร้างการตระหนักรู้ให้ผู้คนรู้ว่า “พลังงานสะอาด ทุกคนเข้าถึงได้ “

สำหรับผู้ที่สนใจกิจกรรมสร้างสรรค์ดีๆ ของโครงการ “พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้” สามารถติดตามได้ที่ช่องทางออนไลน์ของภาคีเครือข่าย  #พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้

Avatar photo