Business

เจาะ 4 หุ้นสายการบิน ในวันที่ธุรกิจติดลบถ้วนหน้า

ไม่น่าเชื่อว่า “สายการบิน” จากธุรกิจที่เคยหอมหวาน ติดลมบนอยู่นาน พอมาวันนี้กลับมีแต่ทรงกับทรุดลงไปเรื่อยๆ จนถูกมองว่าเป็น “ธุรกิจตะวันตกดิน” ด้วยตัวเลขผลประกอบการที่ติดลบกันถ้วนหน้า โดย 4 บริษัทสายการบินในตลาดหุ้นไทย ประกาศผลประกอบการในงวด 9 เดือนแรกของปี 2562 ออกมาดังนี้

Airline P0101 01

 

การบินไทย : บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI 

รายได้รวม 140,532 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 11,119 ล้านบาท

ไทยแอร์เอเชีย : บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV

รายได้รวม 31,219 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 401 ล้านบาท

บางกอกแอร์เวย์ส : บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA

รายได้รวม 21,162ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 131 ล้านบาท

นกแอร์ : บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NOK 

รายได้รวม 14,612 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 1,615 ล้านบาท

ซึ่งตัวเลขดังกล่าวคิดเป็นการขาดทุนรวมกันทั้งอุตสาหกรรมกว่า 13,000 ล้านบาท เรียกว่าขาดทุนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนกว่าเท่าตัว

เทรนด์ธุรกิจสายการบิน 4 ปีย้อนหลัง ซบเซาต่อเนื่อง

ปัญหาของสายการบินไม่ใช่เพิ่งมาเกิดในปีนี้ แต่หากลองไล่เรียงดูก็จะพบว่า จุดเริ่มต้นคือหลังช่วงปี 2558 เป็นต้นมา เนื่องจากสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบที่ดีดกลับมาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนกลายเป็นอุปสรรคในการทำกำไร เพราะอย่างที่ทราบกัน ต้นทุนกว่า 30% ของสายการบิน อยู่ที่ราคาน้ำมัน

ประกอบกับการแข่งขันอุตสาหกรรมที่รุนแรงขึ้นมาก ทั้งเรื่องราคา และการแข่งกันขยายเส้นทางบิน เมื่อรวมเข้ากับประเด็นค่าเงินบาทที่แข็งค่าไม่หยุดตลอดปีนี้ จึงไม่แปลกที่สายการบินในประเทศจะได้รับผลกระทบกันเต็มๆ ซึ่งถ้ามาดูตัวเลขกำไร-ขาดทุน หุ้นสายการบินในรอบ 4 ปีย้อนหลัง จะเห็นภาพชัดเจนขึ้น

เทียบกำไรขาดทุน 4 หุ้นสายการบิน ระหว่างปี 2558 – 2561 

Airline P02 01

 4 หุ้นสายการบิน ราคาร่วงกันถ้วนหน้า

Airline P03 01

ผลประกอบการที่ย่ำแย่ติดต่อกัน แน่นอนว่า ส่งผลโดยตรงไปถึงราคาหุ้นที่ทยอยร่วงลงอย่างหนัก ซึ่งจากข้อมูลเราจะพบว่าเมื่อเทียบกับ 5 ปีที่แล้ว 

หุ้น THAI ติดลบ 55.77%

หุ้น NOK ติดลบ 60.40%

หุ้น AAV ติดลบ 52.38% 

หุ้น BA ติดลบ 68.30% 

Airline P04 01

ต้องบอกว่าเป็นการติดลบที่สูงและน่าเป็นห่วงมาก เมื่อเทียบกับ SET Index ที่ลบเพียง 0.45% เท่านั้น แสดงว่าในตอนนี้ธุรกิจสายการบินทุกราย สร้างผลตอบแทนย่ำแย่กว่าภาพรวมดัชนีเข้าไปแล้ว แถมยังไม่มีทีท่าที่จะฟื้นกลับมาได้

คิดง่ายๆ ใครที่ลงทุนในอุตสาหกรรมการบินไทยเมื่อ 5 ปีก่อน แล้วยังถือจนถึงตอนนี้ เงินคุณจะหายไปไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง คือ ลงทุน 10,000 ขาดทุนแน่ๆ 5,000 บาท

สุดท้ายคงต้องมาลุ้นกันว่า เมื่อเข้าสู่ไตรมาส 4 ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นประจำปี จะช่วยพยุงรายได้และกำไรของธุรกิจสายการบินกลับมาได้แค่ไหน และแต่ละบริษัทจะงัดไม้ตายไหนออกมากอบกู้สถานการณ์ครั้งนี้ให้กับเหล่านักลงทุน

Avatar photo