Business

ความเหมือนที่แตกต่าง BAM vs JMT

เร็วๆ นี้ เรากำลังจะมีหุ้นน้องใหม่ แต่ไซส์ธุรกิจขนาดใหญ่เข้าตลาดกันอีกแล้ว นั่นก็คือ BAM บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้เสนอขาย IPO จำนวน 1,535 ล้านหุ้น แบ่งหุ้นสามัญเพิ่มทุน 280 ล้านหุ้น หุ้นสามัญเดิม 1,255 ล้านหุ้น และอาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (Greenshoe) ไม่เกิน 230 ล้านหุ้น รวมทั้งสิ้น 1,765 ล้านหุ้น 

BAM ทำธุรกิจอะไร ? BAM คือ บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งโมเดลธุรกิจจะเป็นการเข้าซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ “NPLs” และสินทรัพย์รอการขาย “NPAs” แล้วนำมาบริหารจัดการ เพื่อขายทอดตลาดสร้างกำไรส่วนต่างอีกต่อหนึ่ง

BanVsJmt P01 01

สำหรับธุรกิจลักษณะแบบนี้ คล้ายคลึงกับหนึ่งในบริษัทหลักทรัพย์อย่าง JMT หรือ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) นั่นเอง

วันนี้เราเลยจะพามาเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดๆ กันว่าระหว่าง BAM กับ JMT มีความเหมือน หรือต่างกันอย่างไรบ้าง เพราะต้องยอมรับว่าในตลาดหุ้นไทยมีธุรกิจลักษณะนี้ให้เห็นไม่มากเท่าไหร่นัก

BanVsJmt P02 01

1. ขนาดธุรกิจ 

เริ่มแรกเมื่อเปรียบเทียบที่ส่วนแบ่งตลาดบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เราจะพบว่า BAM ถือเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรม โดยครองส่วนแบ่งสูงถึง 47.3% ขณะที่ JMT มีส่วนแบ่งเพียงแค่ 1.5% เท่านั้น 

เช่นเดียวกับขนาดสินทรัพย์ BAM มีสินทรัพย์รวม 1.08 แสนล้านบาท เทียบกับ JMT ที่มีสินทรัพย์รวม 9,400 ล้านบาท หรือคิดเป็นแค่ 8% ของสินทรัพย์ทั้งหมดในมือ BAM  

BanVsJmt P03 01

2. ฐานลูกค้า

แม้จะทำธุรกิจคล้ายกันในการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ แต่สิ่งที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดระหว่าง BAM กับ JMT นั่นคือ

BAM จะเน้นโฟกัสเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่มีหลักประกัน ซึ่งเป็นสัดส่วนกว่า 96% จากพอร์ตหนี้ทั้งหมด 4.6 แสนล้านบาท ตรงกันข้ามกับ JMT ที่เน้นลูกหนี้รายย่อยมากกว่า เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิต ทำให้มีลูกค้าที่มีหลักประกันไม่ถึง 5% จากพอร์ตหนี้ทั้งหมด 1.48 แสนล้านบาท

3. สรุปผลประกอบการปี 2561

BanVsJmt P04 01

4. ความเห็นนักวิเคราะห์

กรณีที่ BAM กำลังจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้น เรื่องนี้ฝ่ายวิจัยบล.โนมูระ พัฒนสิน คาดว่าจะเป็น Sentiment เชิงบวกต่อ JMT ในแง่ที่ตลาดจะให้ความสนใจและมีความเข้าใจหุ้นกลุ่มนี้มากขึ้น

ทั้งนี้ จากฐานลูกหนี้หลักของ BAM เป็นพอร์ตลูกหนี้ที่มีหลักประกันที่มีมูลหนี้ต่อสัญญามากกว่า 5 ล้านบาท ขณะที่ JMT มีฐานลูกหนี้หลักเป็นพอร์ตลูกหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน และเน้นหนี้ที่มีมูลหนี้ต่อสัญญาไม่สูงนัก ดังนั้น จึงไม่น่าจะมีผลกระทบต่อการแข่งขันในอุตสาหกรรม 

BanVsJmt P05 01

ด้านทีมวิเคราะห์หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ก็มองในประเด้นนี้คล้ายๆ กันว่าจะไม่เกิดการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น แต่จะเป็นการเกื้อหนุนให้คนหันมาสนใจในธุรกิจกลุ่มนี้มากกว่านั่นเอง

สุดท้ายถ้าจะถามว่าจุดเด่นของทั้ง BAM และ JMT คืออะไร ? คงพูดได้ว่าเป็น 2 บริษัทที่มีโมเดลธุรกิจทนทานกับทุกภาวะเศรษฐกิจได้จริงๆ ไม่ว่าตอนนั้นจะเป็น “ขาขึ้น” หรือ “ขาลง” โดยเฉพาะช่วงตลาดผันผวนแบบนี้ หุ้นกลุ่มนี้คงกลายเป็นดาวเด่นได้ไม่ยาก

Avatar photo