Marketing Trends

รู้มั้ย!! ขยะจาก ‘ฟู้ดเดลิเวอรี่’ ปีละ 560 ล้านชิ้น ‘ฟู้ดแพชชั่น ‘ชูส่งอาหารรักษ์โลก

การเติบโตของธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ จนมีมูลค่าพุ่งขึ้นไปถึง 35,000 ล้านบาท ตามความนิยมของผู้บริโภคที่ต้องการความรวดเร็ว สะดวกสบาย แต่ในขณะเดียวกันก็นำมาซึ่งปริมาณขยะพลาสติกที่เพิ่มสูงขึ้นตามปริมาณการสั่งอาหารเช่นกัน

ทั้งนี้ มีการประเมินว่า ตัวเลขขยะจากธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ในปี 2562 อาจมีจำนวนสูงถึง 560 ล้านชิ้น โดยคาดการณ์จากจำนวนเงินเฉลี่ยต่อการสั่ง 1 ครั้ง เท่ากับ 250 บาท จะทำให้มีจำนวนการสั่งเดลิเวอรี่ที่จำนวนประมาณ 140 ล้านครั้ง และหากว่าในการสั่งเดลิเวอรี่ต่อ 1 ครั้ง สร้างขยะอย่างน้อย 4 ชิ้น คือ จากภาชนะบรรจุภัณฑ์ 1 ชิ้น ถุงใส่น้ำจิ้ม 1 ชิ้น ถุงพลาสติก 1 ชิ้น และช้อนส้อมอีก 1 ชิ้น ก็จะทำให้เกิดเป็นตัวเลขประเมินขยะจากธุรกิจเดลิเวอรี่ที่สูงถึง 560 ล้านชิ้นได้เลยทีเดียว

คุณชาตยา สุพรรณพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริห

ชาตยา สุพรรณพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด เจ้าของแบรนด์บาร์บีคิวพลาซ่า, จุ่มแซ่บฮัท, ฌานา (Charna), สเปซคิว (Space Q) และเรดซัน (Red Sun) เปิดเผยว่า ฟู้ดแพชชั่นในฐานะที่เป็นหนึ่งในธุรกิจร้านอาหารที่มีหลากหลายแบรนด์ในเครือ และดำเนินธุรกิจจัดส่งอาหารหรือเดลิเวอรี่เช่นกัน จึงเห็นถึงความสำคัญของการร่วมแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยการพัฒนาโมเดลบริการจัดส่งอาหารในเครือฟู้ดแพชชั่น ภายใต้แนวคิด “Wasteless Delivery” ลดขยะ Single-use plastics

ที่ผ่านมา ฟู้ดแพชชั่นทำธุรกิจบนพื้นฐานความเชื่อในเรื่องวงจรแห่งความสุขที่ไม่เพียงแค่ต้องการที่จะบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังต้องมีส่วนสำคัญในการช่วยสานต่อสังคมที่ยั่งยืนควบคู่กันไปด้วย
เมื่อขยายธุรกิจของเราสู่บริการเดลิเวอรี่ จึงนำเอาแนวคิดเรื่องการทำธุรกิจเพื่อสังคมที่ยั่งยืน มาใช้ในการพัฒนาโมเดลธุรกิจบริการเดลิเวอรี่ โดยมองว่าการเข้ามาในตลาดเดลิเวอรี่ของเรานั้นจะต้องมีส่วนในการช่วยลดปัญหาเรื่องขยะ Single-use plastics ซึ่งเป็นปัญหาที่กำลังเป็นวิกฤติการณ์ และกำลังเป็นประเด็นสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศและโลกในระยะยาว

30250

การขยายธุรกิจบริการเดลิเวอรี่ของ ฟู้ดแพชชั่นในครั้งนี้ นอกเหนือจากจะช่วยลดปริมาณขยะ Single-use plastics ในระบบบริการเดลิเวอรี่แล้ว ยังตอบโจทย์ธุรกิจและผู้บริโภคด้วยเมนูอาหารสุดสร้างสรรค์เพื่อรักษาจุดเด่นของแต่ละแบรนด์เสมือนมานั่งรับประทานที่ร้าน โดยชู คอนเซ็ปต์ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลาย

สำหรับโครงการ “Wasteless Delivery” ลดขยะ Single-use plastics ที่จะพลิกโฉมบริการฟู้ดเดลิเวอรี่ในครั้งนี้ ดำเนินการภายใต้แนวคิดของการช่วยลดขยะใน 2 แง่มุม แง่มุมแรก คือ ลดปริมาณขยะพลาสติกคงค้างโดยการเปลี่ยนมาใช้ภาชนะที่ย่อยสลายได้ และในอีกแง่มุม คือ หากต้องมีการใช้พลาสติกจะต้องมีการส่งเสริมให้นำกลับมาใช้ซ้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ดังนั้นเป้าหมายการลดปริมาณการใช้พลาสติกแบบ Single-Use Plastics ในฟู้ดเดลิเวอรี่จะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งผู้ให้บริการเดลิเวอรี่, ผู้ประกอบการร้านอาหาร อีกทั้งยังต้องมีโซลูชั่นของบรรจุภัณฑ์ที่จะสามารถนำมาทดแทนพลาสติกได้ โดยทางฟู้ดแพชชั่นได้มองหาจิ๊กซอว์ที่มีความเชื่อในสิ่งเดียวกันคือต้องการลดขยะSingle-use plastics ประกอบด้วย Duni, โครงการวน, และ GrabFood โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ ผลักดันการสร้างมาตรฐานใหม่ของฟู้ดเดลิเวอรี่ที่ไม่สร้างภาระให้กับโลก จึงเป็นที่มาให้โครงการนี้เกิดขึ้นได้เป็นผลสำเร็จ

infogarphic delivery ตัวเลขปริมาณขยะ

ด้าน Duni หนึ่งในพันธมิตรสำคัญครั้งนี้ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์รักษ์โลกมาตรฐานยุโรป (BRCCerficate) ได้ผลิตและออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากชานอ้อย สามารถย่อยสลายได้เองในเวลาเพียง 45 วันเท่านั้น และยังมีผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดการใช้ Single-Use Plastics ด้วยการใช้พอลิแลคติคแอซิด (PLA) หรือ พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) ที่สามารถย่อยสลายได้ในระยะเวลาไม่ถึงปี มาทดแทนการใช้พลาสติกทั่วไป ที่ใช้เวลาย่อยสลายถึง 100 ปี

อีกหนึ่งพันธมิตรสำคัญ ได้แก่ บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ เจ้าของโครงการวน (Won) ที่เข้ามาช่วยออกแบบและพัฒนาถุงพลาสติกคุณภาพสูงพิเศษที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล มีความหนาถึง 5 เท่า ในบริการจัดส่งอาหารทุกออเดอร์ เพื่อให้ผู้บริโภคนำถุงพลาสติกกลับมาใช้หมุนเวียนได้ใหม่ ซึ่งเป็นการใช้พลาสติกให้เกิดประโยชน์สูงสุด

infogarphic delivery เป้าหมายด้านต่าง ๆ

สุดท้าย คือ แกร็บฟู้ด ผู้นำด้านแพลตฟอร์มการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งมีนโยบายในการดำเนินธุรกิจที่ร่วมส่งเสริมความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับฟู้ดแพชชั่น โดยก่อนหน้านี้ แกร็บฟู้ด GrabFood ได้ริเริ่มแนวคิดต่างๆ ที่จะช่วยลดขยะ Single-Use Plastics ในธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ อาทิ การมีฟีเจอร์ที่ให้ลูกค้าสามารถกดเลือกรับหรือไม่รับช้อน-ส้อม และมีดพลาสติกเมื่อสั่งอาหาร รวมถึงการจับมือกับพันธมิตรเพื่อส่งเสริมให้ลูกค้าหันมาใช้ถุงกระดาษเพื่อทดแทน การใช้ถุงพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นที่ชักชวนให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจกับประเด็นดังกล่าว

สำหรับการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรสำคัญกับฟู้ดแพชชั่นในครั้งนี้ นอกจากการนำเสนอทางเลือกให้กับลูกค้าในการไม่รับช้อน-ส้อมพลาสติกแล้ว แกร็บฟู้ด ยังสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นผู้บริโภคให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการมอบโค้ดส่วนลดค่าส่งมูลค่า 10 บาท จำนวนทั้งสิ้น 50,000 โค้ด เมื่อสั่งชุดอาหารที่ร่วมรายการจากร้านในเครือฟู้ดแพชชั่น ตั้งแต่วันที่ 28 พ.ย. – 31 ธ.ค. 62

30249

“อีกจิ๊กซอว์สำคัญที่จะทำให้แนวคิด “Wasteless Delivery” ลดขยะ Single-use plastics ของฟู้ดแพชชั่นสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมได้นั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้บริโภค ที่ยอมรับและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลด Single-Use Plastics หรือ ใช้พลาสติกให้เกิดประโยชน์สูงสุด” ชาตยา กล่าวเสริม

ทั้งนี้ ฟู้ดแพชชั่นได้วางเป้าหมายในการลดขยะ Single-Use Plastics จากบริการเดลิเวอรี่ของฟู้ดแพชชั่นไว้สูงถึง 1.2 ล้านชิ้น ควบคู่ไปกับเป้าหมายในเชิงของยอดขาย โดยตั้งเป้าหมายในการสร้างสัดส่วนยอดขายเดลิเวอรี่ ในปี 2563 ให้ได้ 10% ของยอดขายรวมในสาขาที่เป็นฮับเดลิเวอรี่

Avatar photo