Business

‘จ้างงาน’ สูงกว่า ‘ว่างงาน’ สายไอทียังปัง แนะองค์กร ดูดคนเก่งร่วมงาน

โรเบิร์ต วอลเทอร์ส เผยผลสำรวจแนวโน้มอัตราเงินเดือนประจำปี 2563 ของบุคลากรในไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สายอาชีพไอทีเงินเดือนพุ่งต่อ ตามความต้องการของตลาดยุคเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล แนะองค์กรวางกลยุทธ์ช่วงชิงคนเก่ง ต้องเข้าใจความคาดหวังของพนักงาน

นางสาวปุณยนุช ศิริสวัสดิ์วัฒนา ผู้จัดการโรเบิร์ต วอลเทอร์ส ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจแนวโน้มอัตราเงินเดือนประจำปี 2563 ที่จัดทำโดย โรเบิร์ต วอลเทอร์ส พบว่า จากจำนวนนิติบุคคลเปิดใหม่ในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2562 ที่มีถึง 38,222 ราย โดยสามอุตสาหกรรมที่เปิดตัวมากที่สุดคือ กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง, อสังหาริมทรัพย์ และร้านอาหาร

Sakary cover 01

นอกจากนี้ยังพบว่า อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนในประเทศไทยช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2562 สูงสุดยังเป็นอุตสาหกรรมดิจิทัล ที่มีการลงทุนถึง 143 โครงการ คิดเป็นการลงทุนเพิ่มขึ้น 10% จากช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่มีการลงทุนรวม 130 โครงการ แม้ว่าเงินลงทุนโดยรวมจะลดลงจาก 12,020 ล้านบาทในปี 2561 เหลือ 6,460 ล้านบาทในปีนี้ แต่เป็นเพราะในปี 2561 ที่ผ่านมา มีการลงทุนจำนวนมากเนื่องจากมีความตื่นตัวในเรื่องของ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นในปีนี้จึงเป็นการลงทุนเพิ่มเติมและลงทุนต่อเนื่องเท่านั้น

ตัวเลขดังกล่าว สะท้อนว่า แม้จะมีข่าวการปิดกิจการจำนวนมากในปีนี้ แต่ก็มีบริษัทที่เปิดดำเนินกิจการใหม่จำนวนมากเช่นกัน และสายงานด้านไอที ยังคงเป็นกลุ่มที่ตลาดแรงงานมีความต้องการสูง จากการขยับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล และการปรับตัวขององค์กรเพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคหรือลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากเทคโนโลยี

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ การลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 14,620 ล้านบาท ในปีนี้ เพิ่มขึ้นถึง 137% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการลงทุนรวม 6,290 ล้านบาท เป็นตัวสะท้อนได้ดีถึงความต้องการจ้างงานในสายงานนี้ที่จะเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน

“ปัจจุบัน สถานการณ์การจ้างงานในประเทศไทย ตลาดการจ้างงานยังมีความต้องการผู้สมัครงานสูงกว่าผู้หางาน ซึ่งสวนทางกับข่าวปิดกิจการจนเกิดการตกงาน เนื่องจากการปิดกิจการจะกระทบกับแรงงานในส่วนของภาคผลิต ขณะที่กลุ่มแรงงานระดับผู้จัดการขึ้นไป ยังมีความต้องการสูงในตลาดจ้างงาน”นางสาวปุณยนุช กล่าว

Sakary P01 01

เมื่อเจาะลึกถึงผลสำรวจเงินเดือนและแนวโน้มการจ้างงานของไทย พบว่า การที่ประเทศไทยเข้าสู่ยุคโมบายล์ เฟิร์ส ทำให้องค์กรต้องปรับกลยุทธ์ตาม และเกิดความต้องการจ้างงานบุคลากรในสายงานดิจิทัลเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราเงินเดือนสำหรับคนที่เปลี่ยนสถานที่ทำงานใหม่ในปี 2563 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 20-30%

ในส่วนของโบนัสในปี 2563 นั้น 75% ของพนักงานคาดว่าจะได้โบนัสประมาณ 15% ขึ้นไปของเงินเดือน ซึ่งสิ่งที่จูงใจพนักงานและสร้างความพึงพอใจในการทำงาน ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับ วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี อีกทั้งยังพบว่า 29% ของพนักงานให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าในอาชีพเป็นแรงตูงใจหลักในการเปลี่ยนงานใหม่

จากภาพรวมดังกล่าว สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า นายจ้างต้องเร่งปรับตัวเพื่อดึงดูดพนักงานที่มีความสามารถ ตั้งแต่การสรรหาที่เปิดกว้าง ให้โอกาสในการอบรมพนักงานเพื่อสร้างการเติบโตในสายอาชีพและพัฒนาบุคลากรเพื่อให้การบริหารจัดการพนักงานเกิดความยั่งยืน ซึ่งจะทำให้การลาออกลงดลง ซึ่งเป็นการลดต้นทุนขององค์กรในการเปิดรับและอบรมพนักงานใหม่อีกด้วย และสิ่งสำคัญคือ ต้องไม่ลืมการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ผลตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม

Robert Walters Thailand Salary Survey 2020 3.3
ที่มา : โรเบิร์ต วอลเทอร์ส

ทั้งนี้ หากแยกตามกลุ่มอุตสาหกรรมจากผลสำรวจเงินเดือนประจำปี 2563 พบว่า

บัญชีและการเงิน ทักษะการบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Management) ทักษะทางด้านโปรแกรมที่ช่วยจัดการสายงานทุกสายงานของธุรกิจให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ (SAP/ system implementation) ยังมีความต้องการสูง ขณะที่ 49% ของบุคลากรในสายงานนี้คาดว่าจะได้รับการปรับขึ้นเงินเดือน 7-15% ส่วนบุคลากรที่มีการย้ายงานจะได้รับเงินเดือนปรับขึ้นเฉลี่ย 15-25% โดยปัจจุบัน 21% ของพนักงานในสายงานนี้มีอายุงานเฉลี่ยน้อยกว่า 2 ปี

• การบริการทางการเงินและการธนาคาร ตำแหน่งที่เป็นที่ต้องการอย่างมาก คือ ผู้จัดการสัมพันธ์ฝ่ายการลงทุนต่างประเทศ ที่ปรึกษาด้านการวางแผนทางการเงิน และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฏระเบียบ โดย 30% ของพนักงานในสายงานนี้มีอายุงานเฉลี่ยน้อยกว่า 2 ปี สำหรับผู้ที่มีการย้ายงาน คาดว่าจะได้รับเงินเดือนเฉลี่ยปรับขึ้น 20-25%

วิศวกรรมและการผลิต ตำแหน่งงานยอดนิยม ได้แก่ ผู้บริหารฝ่ายควบคุมคุณภาพ วิศวกรรมโครงการและปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งแรงจูงใจสำคัญในการย้ายงานคือ การได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการที่มากขึ้น สำหรับผู้ที่มีการย้ายงาน คาดว่าจะได้รับเงินเดือนเฉลี่ยที่ปรับขึ้นประมาณ 15-30%

Sakary P02 01

ทรัพยากรบุคคล หนึ่งในสี่แรงจูงใจในการย้ายงานอันดับแรก คือ ความก้าวหน้าในอาชีพซึ่งคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 36% ในขณะที่ทักษะสำคัญในสายงานที่เป็นที่ต้องการ ประกอบไปด้วยบทบาทการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ความคิดเชิงตรรกะและกลยุทธ์ รวมถึงการคิดเชิงวิเคราะห์

กฏหมาย ทักษะภาษาอังกฤษที่ยอดเยี่ยม ความคิดเชิงพาณิชย์และความเชี่ยวชาญรอบด้าน เป็นทักษะสำคัญในสายงาน ซึ่ง 61%  ของบุคลากรที่ย้ายงานให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการเป็นอันดับแรก ขณะที่ 56% คาดว่าจะได้รับการปรับขึ้นเงินเดือน 7-15% และพนักงาน 27% คาดหวังว่าจะได้รับการขึ้นเงินเดือน 15% ขึ้นไป

ฝ่ายขายและการตลาด เป็นสายงานที่มีอัตราการลาออกสูง ซึ่ง 36% ของพนักงานมีอายุงานน้อยกว่า 2 ปี และ 34% ของพนักงานให้ปัจจัยความก้าวหน้าในอาชีพเป็นแรงจูงใจหลักในการเปลี่ยนงาน มีการคาดการ์ณว่าการปรับขึ้นของเงินเดือนพนักงานที่ย้ายงานใหม่จะอยู่ระหว่าง 15-30% ทักษะยอดนิยมที่เป็นที่ต้องการในสายงานนี้ ประกอบไปด้วย การขายระดับภูมิภาค การบริหารฐานลูกค้าและผู้จัดการฝ่ายการตลาดดิจิทัล

Robert Walters Thailand Salary Survey 2020 4.4
ที่มา : โรเบิร์ต วอลเทอร์ส

ซัพพลายเชนและจัดซื้อ พบว่า 62% ของพนักงานจะได้รับเงินเดือนปรับขึ้นเฉลี่ย 7-15% ซึ่งปัจจัยสำคัญในการย้ายงาน คือ ความก้าวหน้าในอาชีพ ตามด้วยความต้องการค่าตอบแทนและสวัสดิการที่สูงขึ้น และโอกาสในการทำงานในต่างประเทศ ซึ่งตำแหน่งงานยอดนิยม คือ การจัดซื้อจัดจ้าง การวางแผนด้านซัพพลายเชน การบริหารการขนส่ง

เทคโนโลยีและการเปลี่ยนผ่าน ความก้าวหน้าทางอาชีพ ค่าตอบแทนและสวัสดิการ เป็นปัจจัยสำคัญในการย้ายงาน และ 32% ของพนักงานในสายงานนี้มีอายุงานเฉลี่ยน้อยกว่า 2 ปี ตำแหน่งงานยอดนิยม คือ นักพัฒนาโมบายล์แอปพลิเคชั่น(full stack / mobile developers) นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (data scientists) และวิศวกรด้าน UI/UX

Avatar photo