COLUMNISTS

7 ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ!!

Avatar photo
Longevity Inspirationist ผู้เชี่ยวชาญสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการรักสุขภาพ
3022

ถือเป็นหนึ่งในภัยเงียบที่คร่าชีวิตไปอย่างเฉียบพลัน และเมื่อปีนี้เอง 2562 สมาพันธ์หัวใจโลก ได้กำหนดคำขวัญในการรณรงค์อย่างน่ารักว่า “Be A Heart Hero – Make A Heart Promise” ซึ่งถือเป็นสโลแกนรณรงค์และเป็นพันธะสัญญากับตัวเอง ในการดื่ม กิน อย่างชาญฉลาด ลดการบริโภคน้ำตาล น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน เว้นการทานอาหารแปรรูปและผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป ที่ล้วนแต่มีเกลือ น้ำตาล ไขมันสูงด้วย ฯลฯ หัวใจเราต้องการออกซิเจน เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นในร่างกาย เพื่อที่จะสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำเลือดที่เต็มไปด้วยออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ โรคร้ายที่เกี่ยวกับหัวใจมีด้วยกันหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดโดยเฉียบพลัน เป็นต้น

จากสถิติกระทรวงสาธารณสุข ปี 2559 พบว่าในประเทศไทยมีสถิติผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินอยู่ที่ 458 คนต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยเข้ารับการบริการในห้องฉุกเฉินเป็นจำนวนมากถึง 35 ล้านครั้งต่อปี และมีผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินถึงร้อยละ 60% และมีอัตราการเสียชีวิตมากถึง 20,855 คนต่อปี ซึ่งถือเป็นอัตราที่น่าเป็นห่วงและเป็นภัยเงียบที่เราสามารถป้องกันได้ ถ้าเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต การเลือกทานอาหารต่าง ๆ เป็นต้น

โรคหัวใจ1912

สาเหตุของโรคหัวใจ

โรคหัวใจแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกันไป เนื่องจาก หัวใจเรา ประกอบด้วยการทำงานของหลายส่วนร่วมกัน ดังนั้น ในส่วนของโรคหัวใจ จึงสามารถแบ่งย่อยออกมาหลายชนิด เช่น

  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้ อาจมีโอกาสเสี่ยงโรคหัวใจเต้นผิดปกติตามมา เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจ และคนที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่เป็นประจำ ฯลฯ ดังนั้น ผู้ที่มีสุขภาพดี และหัวใจทำงานเป็นปกติ จึงมีโอกาสน้อยกว่าที่จะพัฒนาไปเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ ถือเป็นโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจทั้ง 3 ชนิด นั่นคือ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และลิ้นหัวใจอักเสบ อันมีสาเหตุมาจากสิ่งก่อความระคายเคือง และที่พบบ่อยคือ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย และนั่นคือสาเหตุของการติดเชื้อในที่สุด
  • โรคลิ้นหัวใจ สามารถเกิดได้หลายปัจจัย เช่น ขนาดของลิ้นผิดปกติ ใบลิ้นทำงานผิดปกติ หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดตามมาจากโรคอื่น เช่น โรครูมาติก โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า ? แน่นอน โดยทั่วไปแล้ว มักจะไม่มีสัญญาณเตือนว่าเรากำลังป่วยเป็นโรคหัวใจ แต่เราสามารถไปเช็คร่างกาย ทดสอบสมรรถภาพของหัวใจได้ ดังนี้

  • เช็คร่างกายตรวจประจำปี ดีที่สุด คือการตรวจร่างกายประจำปี เพื่อน ๆ หลายคน แจ๊คพ๊อค เจอโรคที่ไม่คาดคิด ก็ช่วงไปตรวจร่างกายประจำปีนี่ล่ะค่ะ การตรวจร่างกายโดยละเอียด จะช่วยระบุได้ว่า เราเป็นโรคหัวใจ หรือไม่ หรือ กำลังเริ่มจะเป็นโรคหัวใจ แถมประวัติสุขภาพของเรา ก็เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นเช่นเดียวกัน แพทย์อาจทำการซักถาม ประวัติการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ (หนักไหม) และความถี่ในการออกกำลังกาย
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG or ECG) ECG (Electrocardiogram) คือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจรูปแบบของจังหวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แผ่นนำไฟฟ้าจะถูกวางบนหน้าอก เพื่อจับสัญญาณกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะพิมพ์ออกมาเป็นกระดาษกราฟ วิธีนี้ถือเป็นการตรวจที่ไม่ซับซ้อน และสามารถรับการตรวจได้ทั่วไป
  • การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test) วิธีนี้ ถือเป็นวิธีคล้ายกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จะมีแผ่นตะกั่วแปะที่หน้าอก มีการบันทึกขณะที่เราออกกำลังกาย เช่นการเดิน วิ่ง บนสายพาน หรือ การขี่จักรยานอยู่กับที่ การออกกำลังกายนี้ จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเต้นขึ้น และความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น การทดสอบนี้ ใช้วัดค่าการตอบสนองของหัวใจต่อความเครียดทางร่างกายด้วย
  • การตรวจหาเอนไซม์ในเลือด (Blood Enzyme tests) การตรวจเลือดด้วยวิธีการนี้ จะช่วยให้เห็นถึงระดับเอนไซม์ที่เพิ่มขึ้น หากเรามีภาวะหัวใจวาย

โรคหัวใจ19113

เมื่อเราทราบถึงสาเหตุของโรคหัวใจ และการรู้ทันก่อนเป็นโรคหัวใจ ทีนี้ เรามาดูกันว่า แล้วปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ มีอะไรบ้าง เราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านั้นหรือไม่

  • มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ ครอบครัวใดที่มีสมาชิกป่วยเป็นโรคหัวใจ จะค่อนข้างมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะถ้าคุณพ่อ คุณแม่ หรือญาติที่ป่วยเป็นโรคหัวใจเต้นเร็วเกินควร
  • อายุมากขึ้น แน่นอน อายุที่มากขึ้น เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจตีบ ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น และแถมยังเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลงด้วย
  • เพศชาย ถือว่าเพศชายมีโอกาสเกิดโรคหัวใจได้มากกว่าเพศหญิง แต่ก็อย่าชะล่าใจ เพศหญิงมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากขึ้น ช่วงวัยหมดประจำเดือน
  • ระดับคอเลสเตอรอลสูง อันนี้ชัดเจนมาก ระดับไขมันในเลือดสูง หรือ คอเลสเตอรอลสูง เป็นการเพิ่มโอกาสให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือด และจะส่งผลให้เกิดการอุดตันเลือดที่ส่งไปเลี้ยงหัวใจ
  • ระดับน้ำตาลสูง อันนี้ชัดเจนเช่นกัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ย่อมมีความเสี่ยงต่อความผิดปกติของหลอดเลือดทั่วร่างกาย โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจ ที่มีโอกาสตีบตัน (เห็นภาพชัดเลย)
  • โรคอ้วน น้ำหนักตัวที่มากเกินมาตรฐาน ก็ยิ่งเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่าคนปกติ และแถมไม่ออกกำลังกายอีก ก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น
  • การรับประทานอาหาร ถ้าชินกับการรับประทานอาหารที่เต็มไปด้วยไขมัน เกลือ น้ำตาล หรือคอเลสเตอรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์ กะทิ อาหารทอดต่าง ๆ หากรับประทานบ่อย ๆ เป็นประจำ ย่อมเสี่ยงต่อโรคหัวใจในที่สุด

เพราะขณะที่เราพักผ่อน หัวใจจะอัตราการเต้นประมาณ 60 – 100 ครั้งต่อนาที การเต้นหรือการบีบตัวแต่ละครั้ง เกิดจากการกระตุ้นทางกระแสไฟฟ้า ซึ่งถูกกระตุ้นโดยเซลล์ที่มีชื่อว่า SA Node โดยกระแสไฟฟ้าที่ถูกกระตุ้นนี้ จะเดินทางผ่านชุแส้นใยนำไฟฟ้าที่อยู่ทั่วทั้งหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุของการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ฉะนั้น หัวใจ นั้นสำคัญไฉน เราต้องหมั่นดูแลหัวใจเราเองนะคะ ตรวจสุขภาพประจำปีนั้นเป็นเรื่องพื้นฐาน และที่ใกล้ตัวสุดและทำได้ทุกวันคือ เลือกรับประทานที่มีประโยชน์ เพราะถ้าไขมันในเลือดสูง (คอเลสเตอรอลสูง) เมื่อนั้น นำพามาหลายโรคเชียวค่ะ ช่วงนี้อากาศเย็นลง ดูแลสุขภาพกันนะคะ พบกันใหม่ ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ

(เครดิต : ข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข 2562, www.capitalcardiologycom)

#KINN_Biopharma
www.kinn.co.th