World News

‘จีน-สหรัฐ’ ตัวการหลักดัน ‘หนี้โลก’ ทะลุ 250 ล้านล้านดอลล์

สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ไอไอเอฟ) เผยรายงานฉบับล่าสุดชี้ ยอดหนี้โลกพุ่งเป็นประวัติการณ์ ทะลุ 250 ล้านล้านดอลลาร์ แรงหนุนจากการกู้ยืมใน “สหรัฐ-จีน” 2 ชาติเศรษฐกิจใหญ่สุดของโลก ทำให้เกิดภาระหนี้จำนวนมหาศาล ที่อาจบั่นทอนความพยายามในการจำกัดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก

flying 2891745 960 720

ไอไอเอฟ ซึ่งเป็นสมาคมของอุตสาหกรรมการเงินโลก คาดการณ์ว่า ภายในสิ้นปี 2562 โลกจะมีปริมาณหนี้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 255 ล้านล้านดอลลาร์ และทำให้สัดส่วนหนี้ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 320% ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และทำให้เกิดข้อจำกัดในการที่จะทำให้หนี้กลายเป็นแรงหนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งสหรัฐ และจีน มีปริมาณหนี้รวมกันมากกว่า 60% ของมูลค่าหนี้ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว

“การคาดการณ์ว่า มากกว่า 60% ของประเทศทั่วโลก จะขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพ ทำให้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางประเทศต่างๆ เกิดทางให้ทั้งภาครัฐ และเอกชน ดำเนินการกู้เงิน และรีไฟแนนซ์ ด้วยอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ”

ความต้องการของนักลงทุนในการระดมทุนแก่ภาคธุรกิจในประเทศที่มีหนี้สินสูงนั้นอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของความเชื่อมั่นในความเสี่ยงทั่วโลก ถ้าความอยากอาหารลดน้อยลงมันอาจส่งผลต่อการลงทุนและการสร้างงานใหม่”

“ยิ่งไปกว่านั้น การที่นักลงทุนเข้าลงทุนในภาคธุรกิจในประเทศต่างๆ ที่มีปริมาณหนี้สูงนั้น ยังมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงในความเสี่ยงของโลก ซึ่งหากการลงทุนเหล่านี้ลดลง ก็จะสร้างแรงกดดันต่อตลาด และการสร้างงานใหม่”

รายงาน ระบุด้วยว่า สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีของจีนขยายตัวขึ้นอย่างมาก จากระดับประมาณ 130% เมื่อปี 2542 และราว 200% ในปี 2552 มาอยู่ที่ 306% ในปัจจุบัน ในทางกลับกันหนี้ของผู้กู้ยืมนอกภาคการเงินของจีน กลับลดลงเหลือประมาณ 4% ของจีดีพี จากที่เคยแตะระดับสูงสุดที่มากกว่า 7% เมื่อปี 2557

สาเหตุหลักที่ทำให้ปริมาณหนี้โลกเพิ่มสูงขึ้น คือ ตลาดพันธบัตรโลก ที่เติบโตขึ้นไปถึง 115 ล้านล้านดอลลาร์ ในช่วงกลางปี 2562 จากระดับ 87 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งมูลค่าที่เพิ่มขึ้นนี้มาจากรัฐบาลเป็นหลัก โดยภาครัฐมีส่วนแบ่งในตลาดพันธบัตรอยู่ที่ 47% จากระดับ 40% ในปี 2552

นอกจากนี้ ตลาดพันธบัตรในตลาดเกิดใหม่ยังขยายตัวเร็วสุด มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 17 ล้านล้านดอลลาร์ แตะระดับเกือบ 28 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และในปัจจุบันพันธบัตรคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 47% ของปริมาณหนี้ในตลาดเกิดใหม่ จากระดับ 43% เมื่อปี 2552

อย่างไรก็ดี รายงานชี้ว่า กระแสเงินในการเงินเพื่อสภาพแวดล้อมโลกยังอยู่ล้าหลังระดับที่จะเป็นสำหรับการเปลี่ยนถ่ายไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปริมาณหลักทรัพย์ และหนี้เพื่อความยั่งยืนโลกนับถึงปัจจุบันมีมูลสูงกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

Avatar photo