Business

‘บินไทย’ ลั่นปีหน้าเลิกอัดโปรฯ หั่นค่าตั๋ว ตัดสินใจไม่เพิ่มทุน ‘ไทยสมายล์’

ปีหน้า “บินไทย” เลิกหั่นค่าตั๋ว หันใช้กลยุทธ์สร้างมูลค่าเพิ่ม พร้อมรับโบอิ้ง 777-300ER เข้าฝูง 3 ลำ ส่วนปีนี้รับรู้ผลขาดทุน “ไทยสมายล์” ลดลง 1,400-1,700 ล้านบาท แต่ตัดสินใจไม่เพิ่มทุนบริษัทลูก หันใช้วิธีอื่นรับมือมาตรฐานการเงินใหม่

ไทยสมายล์28262

นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (DD) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปี 2562 บริษัท สายการบินไทยสมายล์ จำกัด บริษัทลูกของการบินไทยและผู้ให้บริการสายการบินไทยสมายล์ มีอัตราการใช้เครื่องบินเพิ่มขึ้นจาก 8 ชั่วโมง 15 นาทีในช่วงต้นปี เป็น 10 ชั่วโมง 30 นาทีในปัจจุบัน และการบินไทยได้ช่วยทำการตลาด ส่งผลให้ตัวเลขต่างๆ และกำไรต่อหน่วย (Yield) ปรับตัวดีขึ้น ไทยสมายล์จึงจะมี “กำไรบางๆ” ในช่วงสิ้นปีนี้

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้การบินไทยยังรับรู้ผลขาดทุนจากไทยสมายล์อยู่ แต่รับรู้ในอัตราที่ลดลง โดยปี 2561 การบินไทยจะรับรู้ผลขาดทุนจากไทยสมายล์อยู่ที่ 3,600-3,700 ล้านบาท แต่ในปี 2562 จะรับรู้ผลขาดทุนลดลง 1,400-1,7000 ล้านบาท เหลือประมาณ 2,000-2,200 ล้านบาท

45540
สุเมธ ดำรงชัยธรรม

สำหรับกรณีที่สายการบินไทยสมายล์จะต้องปรับโครงสร้างทางการเงินครั้งใหญ่ภายในปีนี้ เพื่อรองรับการบังคับใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ IFRS9 ในปี 2563 นั้น นายสุเมธกล่าวว่าการบินไทยจะไม่ใช้วิธีเพิ่มทุนให้ไทยสมายล์ “พร้อมขยิบตา

ด้านปี 2563 สายการบินไทยสมายล์จะมีอัตราการใช้เครื่องบิน 10 ชั่วโมง 30 นาทีแบบเต็มปี และจะเชื่อมต่อกับเครือสตาร์อัลไลแอนซ์ได้เต็มรูปแบบในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งทำให้มีการส่งต่อผู้โดยสารมาให้ไทยสมายล์อย่างต่อเนื่อง จึงมั่นใจว่า “ไทยสมายล์จะหยุดขาดทุนจริงๆ” ในปีหน้า

ด้านสายการบินนกแอร์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่การบินไทยถือหุ้นอยู่ 15.94% นั้น เบื้องต้นการบินไทยยังไม่มีนโยบายลดการถือหุ้นนกแอร์ เพราะแม้นกแอร์จะมีผลประกอบการขาดทุน แต่บริษัทถือหุ้นนกแอร์ไม่ถึง 20% จึงไม่ส่งผลต่อผลประกอบการของบริษัทมากนัก โดยการบินไทยและนกแอร์ยังคงเดินหน้าความร่วมมือด้านต่างๆ เพื่อช่วยเหลือกันต่อไป

014 Check in Royal Silk Class

ปีหน้าเลิกหั่นค่าตั๋ว

นายสุเมธกล่าวถึงสถานการณ์ของการบินไทยว่า ปีนี้การบินไทยได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่า การแข่งขันที่รุนแรง และจำนวนเครื่องบินที่น้อยเกินไป ส่งผลให้บริษัทต้องแข่งขันด้านราคาและ Yield ปรับตัวลดลงจากปี 2561 แต่อัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) อยู่ในระดับเกือบ 80% ซึ่งไม่ได้แย่ถ้าหากเทียบกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 บริษัทจะใช้กลยุทธ์สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ (Value Added) เพื่อยุติกลยุทธ์ด้านราคาที่ใช้อย่างมากในปีนี้ ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถกำหนดราคาตั๋ว “ที่เหมาะสม” และมี Yield ที่ดีขึ้น พร้อมตั้งเป้าว่า Cabin Factor ต้องไม่ต่ำกว่า 80%

หนึ่งในแผนการสำคัญและจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างมูลค่าเพิ่ม คือ การเพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิกรอยัล ออร์คิด พลัส (ROP) อย่างชัดเจน เช่น สามารถนำไมล์สะสม 13,000 คะแนนมาแลกตั๋วเส้นทางยุโรป และจ่ายค่าโดยสารเพิ่มเพียง 13,000 บาท เป็นต้น โดยตั้งเป้าหมายจะเพิ่มสมาชิก ROP ที่ปัจจุบันมีอยู่แล้ว 3 ล้านคน ขณะเดียวกันก็จะเพิ่มสมาชิกที่มีความเคลื่อนไหว (Active) จาก 6-8 แสนคน เป็น 1.2-1.6 ล้านคน

TG127 THAI Increases Preferred Seats Selection on All International Flights 2

ปรับวิธีบริหารฝูงบิน

นายสุเมธกล่าวถึงการบริหารจัดการฝูงบินว่า ในไตรมาสที่ 4 ปีหน้า การบินไทยจะรับมอบเครื่องบินโบอิ้ง 777-300ER ที่บริษัทเช่าซื้อไว้ก่อนหน้านี้จำนวน 3 ลำ โดยบริษัทจะนำเครื่องบิน 777-300ER บางลำไปในเส้นทางยุโรป เพื่อทดแทนเครื่องบินเก่าบางลำที่ไม่สามารถบินเข้ายุโรปได้แล้ว จากนั้นจะนำเครื่องบินเดิมมาบินในเส้นทางที่มีระยะสั้นมากขึ้น

นอกจากนี้ จะให้ไทยสมายล์มาบินในเส้นทางระยะสั้นทั้งหมด แล้วนำเครื่องการบินไทยไปใช้ในเส้นทางระยะกลางถึงไกล เพื่อบริหารจัดการฝูงบินที่มีจำกัด ให้มีประสิทธิภาพการมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การบินไทยมีอัตราการใช้เครื่องบินเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 12 ชั่วโมงต่อวัน เป็น 12 ชั่วโมง 15 นาทีต่อวัน และ ASK จะเพิ่มขึ้นจากปีนี้อย่างน้อย 2%

สำหรับปัจจุบันการบินไทยมีฝูงบินรวม 102 ลำ แบ่งเป็นเครื่องบินของไทยสมายล์ 20 ลำและการบินไทย 82 ลำ ซึ่งการบินไทยตั้งเป้าหมายว่าบริษัทจะต้องรักษาจำนวนเครื่องบินที่ใช้งานได้ให้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 74 ลำตลอดทั้งปี

สนามบินสุวรรณภูมิ

เล็งเปิดจุดบิน “แมนเชสเตอร์”

นายสุเมธกล่าวต่อว่า ขณะนี้การบินไทยระหว่างพูดคุยกับพันธมิตรเพื่อเปิดเส้นทางไปยังเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษในปีหน้า รวมถึงยังคงร่วมมือกับไทยสมายล์และนกแอร์ตามกลยุทธ์ “ไทยกรุ๊ป” อย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้ร่วมมือกับบางกอกแอร์เวย์ส ซึ่งเป็นสายการบินไทยอีกแห่งด้วย เนื่องจากกลยุทธ์การบินแบบจุดต่อจุดไม่ได้ผลอีกต่อไป ต้องใช้กลยุทธ์การบินแบบเครือข่ายแทน ซึ่งจะเริ่มเห็นภาพในปีหน้าเช่นกัน

ด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซนั้น การบินไทยยอมรับว่าการเปิดตัวช้ากว่าเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากติดปัญหาทางเทคนิค แต่ยืนยันว่าเดินหน้าธุรกิจนี้ต่อแน่นอน พร้อมจะทำโปรโมชั่นเปิดตัวครั้งใหญ่ “โปรใจเด็ด จนลูกน้องมองหน้า”

S 86720527

ร่วมมือ “ททท.”

นายสุเมธกล่าวต่อว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และการบินไทยยังได้สร้างความร่วมมือครั้งยิ่งใหญ่ ระหว่าง 2 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ที่เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจการบินของไทย พร้อมมอบของขวัญให้กับประเทศไทย ในวาระที่ 2 หน่วยงานครบ 60 ปี พร้อมกันในปี 2563

โดยการบินไทยได้เตรียมของขวัญพิเศษสำหรับผู้โดยสารการบินไทยและนักท่องเที่ยวที่เข้ามาประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นแพ็กเกจท่องเที่ยวจาก รอยัล ออร์คิด ฮอล์ลิเดย์ (ROH) ที่จัดแพ็กเกจต่างๆ ครอบคลุมนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มเป้าหมาย อาทิ แพ็กเกจ 60 Days Countdown Hot Offer มอบของขวัญให้ลูกค้าการบินไทยและนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเข้าประเทศไทยระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 1 พฤษภาคม 2563 จะได้รับแพ็กเกจท่องเที่ยวในราคาพิเศษ

รวมถึงแพ็กเกจ Explore the Unexplore Thailand โดยการบินไทยร่วมกับไทยสมายล์ จัดการเดินทางท่องเที่ยวแบบไร้รอยต่อ เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้นักท่องเที่ยวอย่างสะดวกสบายและไร้กังวล และแพ็คเกจ Customize Tour Experience ที่เน้นการปรับแต่งทริปพิเศษให้เฉพาะลูกค้าแต่ละคน เป็นต้น

Avatar photo