Economics

‘กัลฟ์’ หนุนแพทย์ยุคดิจิทัล มอบ ‘Ultrasound’ แบบพกพา 12 ล้าน

“กัลฟ์” หนุนแพทย์ยุคดิจิทัล ส่งมอบเครื่อง “Ultrasound พกพาชนิดไร้สาย” ให้นักศึกษาแพทย์ รพ.รามาธิบดี มูลค่า 12 ล้านบาท ส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนการสอน และเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาพยาบาล 

FTG 0796
เป็นครั้งแรก! ในโรงเรียนแพทย์ที่ได้นำอุปกรณ์ “Ultrasound พกพาชนิดไร้สาย” (Portable Wireless Ultrasound) มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยรักษา และเพิ่มขีดความสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว ประเดิมด้วยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อเครื่อง จำนวน 200 เครื่อง มูลค่า 12 ล้านบาท จากบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

FTG 0783

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ในยุคดิจิทัล มาใช้อย่างไร ? ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ฯ มีพันธกิจหลักด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วย การทำวิจัยให้เกิดนวัตกรรมอย่างยั่งยืน และการศึกษาที่มีระบบการเรียนการสอนเป็นจุดเด่นเฉพาะให้แก่นักศึกษา

“ระบบการให้บริการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยปัจจุบัน ค่อนข้างรวดเร็ว และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น หากสามารถพัฒนาจากจุดบกพร่อง ที่เกิดขึ้นจริงในระหว่างการให้บริการรักษาพยาบาล ต่อยอดให้เกิดเป็นผลงานนวัตกรรม ที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ผู้ป่วยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น “

DSC 0243
นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวินิจฉัยรักษาในเบื้องต้น แก่ผู้ป่วยทางรังสีวินิจฉัย ด้วย “เครื่อง Ultrasound พกพาชนิดไร้สาย” สามารถเป็นเครื่องมือตอบโจทย์ปัญหาของเราได้ สามารถนำเครื่องนี้ติดตัวไปได้ทุกที่ เพื่อให้สามารถวินิจฉัยผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที ในด้านการเรียนการสอน สามารถนำเครื่อง Ultrasound พกพาชนิดไร้สาย มาใช้สอนแก่นักศึกษาแพทย์ในชั้นปรีคลินิก

ทั้งนี้เราได้รับการสนับสนุนจากบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 200 เครื่อง มูลค่า 12 ล้านบาท

5765A42B 0AEA 4AFC 9E2C D2924FF30F21

นายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ฯ กล่าวว่า ตนเอง และบริษัทฯ มีความตั้งใจจะช่วยเหลือสังคมในสองด้านหลักๆ ด้านการศึกษา และทางด้านเกี่ยวกับเครื่องมือทางการแพทย์  โดยที่ผ่านมาได้บริจาคเครื่องมือทางการแพทย์ ให้กับโรงพยาบาลรัฐหลากหลายโรงพยาบาลด้วยกัน และการบริจาคเครื่องมืออัลตร้าซาวด์ชนิดพกพา แบบไร้สายในครั้งนี้ ถือเป็นการผสมผสานระหว่างด้านการศึกษา และเรื่องการแพทย์อีกด้วย

ทำให้นักศึกษาแพทย์รุ่นใหม่ๆ ที่ได้รับเครื่องมือนี้ไปจะได้ฝึกฝน และทำให้มีความชำนาญ ในการใช้เครื่อง Ultrasound ตั้งแต่ในช่วงปรีคลินิก ซึ่งความชำนาญนี้ ก็จะไปช่วยรักษาคนไข้ในห้องฉุกเฉิน ให้มีโอกาสมีชีวิตรอดมากยิ่งขึ้นได้

รองศาสตราจารย์นายแพทย์สิทธิ์ พงษ์กิจการุณ หัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึง Ultrasound เพื่อการเรียนรู้ในชั้นปรีคลินิก ว่า ท่ามกลางยุคแห่ง Technology Disruption ที่หลายภาคส่วน ต้องเร่งปรับตัว เพื่อความอยู่รอด และเติบโต

สำหรับการดูแลสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงของระบบดิจิทัลแบบฉับพลันนี้ ได้ผลักดันให้เทคโนโลยีทางการแพทย์ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด การศึกษาเรียนรู้ทางการแพทย์ ก็มีความจำเป็น ต้องมีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้สอดคล้อง ตอบโจทย์ และเท่าทันต่อบริบทของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

FTG 0973

โดยหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อาศัยโอกาสที่มี New (Disruptive) Technology ได้แก่ เครื่อง Ultrasound พกพาชนิดไร้สาย มาสร้างให้เกิด “นวัตกรรมในการเรียนการสอน” ให้แก่ “นักศึกษาแพทย์ยุคดิจิทัล” โดยได้นำ Ultrasound พกพาชนิดไร้สาย มาใช้ร่วมในการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิก

ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาด้านกายวิภาค สรีรวิทยา และพยาธิสภาพ รวมถึงกระตุ้นให้เกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาได้อย่างลึกซึ้ง และผสมผสาน สร้างแรงบันดาลใจ ในการต่อยอดการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้น

ทางด้านรองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ไชยพร ยุกเซ็น หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เสริมว่า ปัจจุบันห้องฉุกเฉินทุกโรงพยาบาล มีการใช้เครื่อง Ultrasound เพื่อช่วยในการวินิจฉัย

แต่ในปัจจุบันความก้าวหน้าของเวชศาสตร์ฉุกเฉินในประเทศไทย ได้พัฒนาไปถึงการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน และก่อนมาถึงโรงพยาบาล ให้เทียบเท่ากับการดูแลผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินด้วยบุคลากรกลุ่ม ที่เรียกว่า Paramedic นอกจากนี้เครื่อง Ultrasound ก็อาจเป็นเป็นเหมือนตาคู่ที่ 2 ของ Paramedic ที่จะนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตินอกโรงพยาบาลเช่นกัน

“เครื่อง Ultrasound พกพาชนิดไร้สาย สามารถนำมาใช้ได้ทั้งในห้องฉุกเฉิน และการดูแลผู้ป่วย ก่อนมาถึงโรงพยาบาล การนำเครื่องนี้มาใช้ในการเรียนการสอนของหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต และหลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์ เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการฝึกอบรม ด้านการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศ และจะเป็นต้นแบบการฝึกอบรมของสถาบันอื่นในประเทศไทยต่อไป “

FTG 0752

นายพรลภัส เชนวรรณกิจ นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 6 กล่าวถึงผลลัพธ์จากประสบการณ์การใช้เครื่อง Ultrasound พกพาชนิดไร้สาย ว่า นับเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย และเป็นนวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยรักษาผู้ป่วย

และจากประสบการณ์การใช้เครื่อง Ultrasound ชนิดพกพา มาแล้ว 1 เดือนในแผนกฉุกเฉิน ทำให้มีความสะดวกขึ้นมากในการวินิจฉัยอาการ โดยไม่ต้องรอคิวเข็นเตียงผู้ป่วย เพื่อใช้เครื่อง Ultrasound ขนาดใหญ่ที่มีใช้กันอยู่ และทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในขั้นตอนนี้เป็นเวลานาน

FTG 1001 resize

ดังนั้นผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุมา สามารถใช้ Ultrasound เพื่อหาสาเหตุต่างๆที่สงสัยได้รวดเร็ว เช่น ภาวะปอดรั่ว-แตก ภาวะน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ หากเราทำการวินิจฉัยได้รวดเร็ว และแม่นยำก็สามารถทำหัตถการช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ทันท่วงที

นอกจากนี้ประโยชน์จากการได้ใช้เครื่อง Ultrasound ชนิดพกพา ยังทำให้ได้ฝึกฝนการทำ Ultrasound ได้ มากขึ้น เนื่องจากมีเครื่องอยู่ในมือ สามารถทำในเวลาใดก็ได้ ค่อนข้างมีความสะดวก และจะเป็นประโยชน์อย่างมากเมื่อเรียนจบไปเป็นแพทย์อยู่ต่างจังหวัด ที่อาจไม่มีคนคอยดูแลตลอดเวลา

ทั้งยังช่วยเพิ่มความมั่นใจได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การใช้เครื่อง Ultrasound ชนิดพกพา ยังสามารถบันทึกเป็นวิดีโอ หรือรูปภาพไว้บนโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต ทำให้สามารถเรียกดูได้สะดวก เหมาะแก่การเรียนรู้ และฝึกฝน การนำนวัตกรรมดังกล่าวนี้มาใช้ในการเรียนการสอน ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก ในด้านการศึกษาของนักศึกษาแพทย์ ที่สามารถเพิ่มความรู้ความสามารถ และใช้ประโยชน์กับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี

Avatar photo