World News

จีนประสบความสำเร็จ ปล่อยดาวเทียมล่าสุดในระบบ ‘เป่ย์โต้ว’ ว่าที่คู่แข่ง ‘จีพีเอส’

จีนปล่อยดาวเทียมระบบบนำร่องเป่ย์โต้ว ดวงที่ 29 พร้อมเผยว่า ระบบนำร่องนี้ ที่ตั้งเป้าให้เป็นคู่แข่งกับจีพีเอสของสหรัฐ จะเสร็จสมบูรณ์ในปีหน้า ก่อนกำหนดถึง 6 เดือน

d72bbea6 0042 11ea ab68 c2fa11fa07a6 image hires 162308
ภาพ : ซินหัว

สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี ของจีนรายงานว่า จีนปล่อยจรวด Long March-IIIB จากศูนย์ปล่อยจรวดซี่ฉาง ทางตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อนำดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรของโลก โดยาาวเทียมดวงนี้เป็นดวงที่ 3 และเป็นส่วนสุดท้ายของเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วจีน และบริเวณโดยรอบ

ทางการจีนตั้งเป้าที่จะให้กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนนำระบบนำร่องเป่ย์โต้วเข้าไปใช้งานแทนที่ระบบระบุตำแหน่งโลก (จีพีเอส) ของกองทัพอากาศสหรัฐ และจะนำเป่ยโต้เข้าแข่งขันในตลาดนำร่องดาวเทียมของพลเรือนด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายกับกลยุทธ์ “โครงการริเริ่ม 1 แถบ 1 เส้นทาง” หรือเส้นทางสายไหมใหม่ ของรัฐบาลปักกิ่ง ที่ต้องการสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานข้ามทวีป

“เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ และเป็นการเติมเต็มทางกลยุทธ์สำหรับเส้นทางสายไหมใหม่” นายเฉิน จงกุ่ย ผู้ออกแบบดาวเทียม ระบุ

74561921 2761795450532451 6760457168773709824 n
ภาพ : xinhua

ทั้งนี้ เป่ย์โต้ว เป็นระบบดาวเทียมนำร่องที่จีนพัฒนาขึ้นมาด้วยตัวเอง โดยตั้งเป้าว่า การนำเข้าไปใช้ทั้งในด้านกองทัพ และพลเรือนนั้น จะตอบสนองต่อความจำเป็นในเรื่องความมั่นคงของประเทศ รวมถึงด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมด้วย

ระบบนำร่องนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถระบุตำแหน่งได้แบบเจาะจง มีความคลาดเคลื่อนในรัศมีไม่เกิน 10 เซนติเมตรสำหรับใช้ในทางทหาร เทียบกับระบบจีพีเอส ที่มีความคลาดเคลื่อนในรัศมี 30 เซนติเมตร

การปล่อยดาวเทียมครั้งล่าสุดนี้ ซึ่งจะเป็นดาวเทียมดวงที่ 46 ในระบบนำร่องเป่ย์โต้ว จะทำให้โครงข่ายดาวเทียมวงโคจรพ้องคาบโลกในการโคจรแบบเอียง (ไอจีเอสโอ) เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งวงโคจรนี้ จะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ เส้นลองจิจูด หรือเส้นแวง 118E ที่ครอบคลุมพื้นทั่วจีน และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งจะยิ่งทำให้มีความแม่นยำมากขึ้น

จีนยังมีแผนที่จะปล่อยดาวเทียมอีก 2 ดวงภายในสิ้นปีนี้ และปล่อยดาวเทียมที่เหลืออยู่ 4 ดวง ภายในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 ซึ่งจะทำให้การสร้างโครงข่ายระบบนำร่องเสร็จสมบูรณ์เร็วกว่ากำหนด 6 เดือน

เมื่อเทียบกับจีพีเอสแล้ว เป่ย์โต้วมีความสามารถที่มากกว่าจำนวนหนึ่ง อาทิ การส่งข้อความ และการใช้ติดตามตำแหน่งที่ตั้ง ผ่านบริการส่งข้อความสั้น

000 1DY6PW

ทั้งนี้ จีนเริ่มจัดส่งดาวเทียมสำหรับระบบนำร่องรุ่นที่ 3 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 และเริ่มให้บริการขั้นพื้นที่เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว โดยมีความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งทั่วโลกที่ราว 10 เมตร และในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ 5 เมตร ซึ่งเมื่อมีการเพิ่มดาวเทียมเข้าไปในระบบมากขึ้น ความแม่นยำก็จะพัฒนาขึ้น เหลือความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 1 เมตร สำหรับผู้ใช้งานทุกประเทศ

นอกจากจีนแล้ว รัสเซีย และสหภาพยุโรป (อียู) ก็อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบนำร่องผ่านดาวเทียมของตัวเองเช่นกัน โดยมีชื่อว่า โกลแนส และกาลิเลโอ ตามลำดับ แต่การพัฒนายังล้าหลังกว่าที่กำหนดไว้

Avatar photo