Sme

อีคอมเมิร์ซไทยยัง ‘เยาว์วัย’ โอกาสมหาศาล ‘เอสเอ็มอี’

Sea (Group) เผยอีคอมเมิร์ซไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งมีสัดส่วนของอีคอมเมิร์ซต่ออุตสาหกรรมค้าปลีกทั้งหมดสูงถึง 30% ในปี 2561 ขณะทีร่ประเทศไทยมีสัดส่วนเพียง 2% ชี้เป็นโอกาสมหาศาลสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย

02 ดร. สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist Sea Group
ดร. สันติธาร เสถียรไทย

ดร. สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist แห่ง Sea (Group) ผู้ให้บริการอินเตอร์เนตชั้นนำใน 7 ตลาดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน อาทิ การีนา ช้อปปี้  และแอร์เพย์ เปิดเผยว่า ในช่วงปี 2562 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซของประเทศไทย เติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง และพบว่ากลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยแบบดั้งเดิม หรือกลุ่มที่มีร้านค้าออฟไลน์และเข้าสู่ช่องทางออนไลน์ผ่านอีคอมเมิร์ซนั้น อีคอมเมิร์ซช่วยสร้างรายได้ และเพิ่มการเติบโตทางกำไรให้ผู้ขายถึง 133% หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยการเติบโตต่อปีถึง 51%

ทั้งนี้ Sea Insights หรือหน่วยงานวิจัยของ Sea ได้จัดทำการศึกษา “E-Commerce & SMEs Uncovering Thailand’s Hidden Assets” ซึ่งเป็นการสำรวจจากผู้ขายและร้านค้าบนช้อปปี้ราว 7,000 ราย โดยผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีอีคอมเมิร์ซสามารถมีบทบาทสำคัญในการช่วยความเจริญทางเศรษฐกิจสามช่องทางหลักๆ คือ การเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันให้เอสเอ็มอี การเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้คนนอกกรุงเทพ รวมทั้งยังเป็นการเปิดช่องทางคนที่อาจอยู่นอกตลาดแรงงาน เช่น นักเรียน แม่บ้าน ผู้สูงอายุ มีรายได้เสริม หรือกลุ่ม “Hidden Entrepreneurs” อีกด้วย

อีคอมเมิร์ซ

ขณะเดียวกัน ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้มากถึง 128% เพราะผู้ประกอบการรายย่อยสามารถใช้จำนวนแรงงานที่เท่าเดิมหรือน้อยลง ในการดำเนินงานผ่านอีคอมเมิร์ซ และยังสามารถเพิ่ม “ประสิทธิภาพ” หรือ รายได้ต่อลูกจ้าง ให้มากขึ้นอีกด้วย เนื่องด้วยภาวะขาดแคลนแรงงานในปัจจุบัน อีคอมเมิร์ซจึงกลายเป็นหนึ่งเครื่องมือเศรษฐกิจสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม รวมทั้งยังพบว่า 46% ผู้ประกอบการรายย่อยบนอีคอมเมิร์ซตัดสินใจใช้กำไรที่ได้ในการจ้างงานเป็นอันดับต้นๆ อีกด้วย

ในส่วนของกลุ่มผู้ขายที่อยู่นอกกรุงเทพฯ (Sellers outside Bangkok) อีคอมเมิร์ซสามารถช่วยให้กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย เข้าถึงตลาดใหม่ๆ ที่ไม่ได้กำจัดพื้นที่อยู่แค่ตลาดท้องถิ่นที่ผู้ประกอบการรายย่อยนั้นดำเนินการอยู่ เป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้ขายในการเข้าถึงกลุ่มตลาดใหม่ โดยผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าก่อนอีคอมเมิร์ซ มีเพียง 45% ของผู้ประกอบการรายย่อยที่สามารถส่งสินค้าออกไปขายนอกต่างจังหวัดตนเอง หลังการเข้ามาของอีคอมเมิร์ซ เปอร์เซ็นต์ดังกล่าวเพิ่มเป็น 81%

01 ผลสำรวจ ‘E Commerce

“โดยเฉพาะผู้ขายในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ หลังจากเริ่มใช้อีคอมเมิร์ซ ผู้ประกอบการรายย่อยในภาคเหนือถึง 92% สามารถส่งสินค้าออกนอกภูมิภาคของตนเองได้ จากเดิมมีเพียง 43% เท่านั้น”ดร. สันติธาร กล่าว

ขณะที่กลุ่ม “Hidden Entrepreneurs” ซึ่งประกอบไปด้วย 63% เป็นกลุ่มที่เรียกว่า “Full-time responsibilities” เช่น นักเรียนนักศึกษา แม่บ้าน ซึ่งจากกลุ่มคนเหล่านี้ มีจำนวนถึง 58% ที่ไม่ใช่ผู้ที่มีรายได้หลัก และ 75% เป็นเพศหญิง วัตถุประสงค์ในการใช้อีคอมเมิร์ซก็แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม โดยกลุ่มแม่บ้านมองเรื่อง “เวลากับครอบครัว” เป็นปัจจัยสำคัญ กลุ่มนักศึกษามองเรื่อง “ไอเดียทางธุรกิจ” ที่สามารถทดลองได้บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเป็นปัจจัยสำคัญ ในด้านของการใช้กำไรที่ได้จากอีคอมเมิร์ซ มีความแตกต่างในแต่ละกลุ่ม เช่น กลุ่มแม่บ้าน เลือกที่จะเก็บออมสำหรับดูแลครอบครัว ในขณะที่กลุ่มนักศึกษาเลือกใช้เพื่อการเรียน เป็นต้น

อีคอมเมิร์ซ2

อย่างไรก็ตาม อีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเปรียบเสมือนยังอยู่ใน “วัยเยาว์” ที่ไม่เพียงเติบโตอย่างรวดเร็วแต่มีการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการอยู่ตลอด ผลสำรวจ ‘e-Commerce & SMEs Uncovering Thailand’s Hidden Assets’ ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของอีคอมเมิร์ซสู่การเป็น ‘เพื่อนคู่คิดภาคดิจิทัล’ สำหรับผู้ขายอย่างเต็มรูปแบบ และเผยให้เห็นถึงบทบาทของอีคอมเมิร์ซที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในวงกว้าง ผ่านการสร้าง ‘การเติบโตแบบทั่วถึง’ (Inclusive Growth) ทั้งในเชิงรายได้ การจ้างงาน ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ลดข้อจำกัดด้านที่ตั้งของร้านค้าและผู้ประกอบการรายย่อย สำหรับสามกลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยแบบดั้งเดิม กลุ่มผู้ขายที่อยู่นอกกรุงเทพฯ และ กลุ่ม‘Hidden Entrepreneurs

Avatar photo