World News

จับตา ‘ประท้วงฮ่องกง’ ต้นเหตุเศรษฐกิจพัง?

การประท้วงฮ่องกงที่ยืดเยื้อมานานกว่า 5 เดือน กำลังส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นภาคการท่องเที่ยว ธุรกิจค้าปลีก ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า เศรษฐกิจของฮ่องกง ที่ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการเงินของโลกจะเป็นอย่างไร

3SJYZVGL4UI6TJHTYCA2CJW6OA

ข้อมูลที่ออกมา บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจฮ่องกงกำลังย่ำแย่หนัก โดยในไตรมาส 3 นี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) หดตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้านี้ถึง 3.2%  เป็นการติดลบเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน  ซึ่งหมายความว่า ฮ่องกงกำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิคอย่างเป็นทางการแล้ว ตามที่นางแคร์รี หลำ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหารเกาะฮ่องกง เคยออกมาเตือนไว้ก่อนหน้านี้ว่า เศรษฐกิจของเขตปกครองพิเศษแห่งนี้ จะเข้าสู่ภาวะตกต่ำ

นายซามูเอล เซียะ นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารดีบีเอส เตือนว่า ตัวเลขเศรษฐกิจต่อจากนี้จะแสดงให้เห็นว่า ฮ่องกงได้เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำแล้ว และจะแย่ลงไปอีก ทั้งยังไม่มีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว

8b488148 dab5 11e9 80eb 3aa57b6d2433 image hires 084737

ผลกระทบรุนแรง

การประท้วงยืดเยื้อ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากประเด็นร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน ยิ่งทำให้เศรษฐกิจที่ตึงเครียดอยู่แล้วยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ เพราะฮ่องกงก็ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอยู่แล้ว ค่าเงินหยวนที่อ่อนค่าส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยของชาวจีนที่เดินทางเข้ามาอีกด้วย

แม้ว่าจะมีการยกเลิกร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่การประท้วงก็ยังดำเนินต่อเพื่อเรียกร้องเสรีภาพที่มากขึ้น ความรุนแรงจากการปะทะกันระหว่างตำรวจและผู้ชุมนุมยิ่งทำให้นักท่องเที่ยวไม่อยากมา

000 1JX50R
ผู้โดยสารต้องใช้วิธีเดินเท้าเข้าไปยังสนามบิน หลังระบบขนส่งของสนามบิน และถนนไปยังสนามบินโดนปิดกั้น

เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา จำนวนผู้เดินทางเข้าฮ่องกงน้อยที่สุดนับตั้งแต่วิกฤติโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส) เมื่อปี 2546 และคาดว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวจะลดลงอีกเกือบ 50% ในเดือนตุลาคมเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว

ขณะสัดส่วนห้องพักในโรงแรมว่างอยู่ที่ราว 60% ทำให้โรงแรมบางแห่งต้องลดราคาห้องพักลงมา ในความพยายามที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยว และยังมีผู้ประกอบการโรงแรมบางรายต้องลดเวลาการทำงานของพนักงาน หรือให้พนักงานลาพักร้อน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย รับมือกับจำนวนแขกเข้าพักที่หดหายไป

000 1HP3OR

เช่นเดียวกับคาเธ่ย์ แปซิฟิค สายการบินหลักของฮ่องกง ที่เผชิญกับปัญหาไม่แตกต่างกันนัก จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลง หลังผู้ประท้วงบุกเข้าไปยังสนามบินนานาชาติฮ่องกง เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้สนามบินต้องปิดทำการ 1 วัน หลังจากนั้นยังต้องยกเลิกเที่ยวบินจำนวนมา  ขณะสายการบินอีกราย คือ แควนตัส ของออสเตรเลียระบุว่า การประท้วงที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของสายการบินในช่วงครึ่งแรกของปี คิดเป็นมูลค่าราว 25 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือราว 520 ล้านบาท

000 1KU4EA

นักช้อปหาย

เหตุประท้วงที่ทวีความรุนแรงขึ้น ยังทำให้ร้านค้ามีลูกค้าน้อยลง บางแห่งต้องลดเวลาทำการลง และพนักงานก็ห่วงเรื่องความปลอดภัยตัวเองด้วย แต่ที่ได้รับผลกระทบมากสุด คือ ธุรกิจจากจีน หรือที่แสดงท่าทีสนับสนุนรัฐบาลจีน อย่าง แบงก์ ออฟ ไชน่า  เสี่ยวหมี่  และสตาร์บัคส์  ขณะที่สถานีรถไฟใต้ดินหลายแห่งก็ถูกผู้ประท้วงบุกเข้าทำลายสร้างความเสียหายอย่างมาก

ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ยอดขายค้าปลีกในฮ่องกงร่วงลงถึง 23% แตะระดับย่ำแย่สุดเป็นประวัติการณ์  โดยบริษัทกว่า 20 แห่งรวมทั้งนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อย่างเฮนเดอร์สัน แลนด์ กลุ่มโรงแรมในเครือแชงกริลา เอเชีย  เอมเพอเรอร์ วอทช์ แอนด์ จิวเวลลี และห้างสรรพสินค้าไลฟ์สไตล์ อินเตอร์เนชั่นแนล ต่างมีปัญหารายได้ และผลกำไรลดลงถ้วนหน้า

000 1ly06c 1572742465

ความเชื่อมั่นนักลงทุนดิ่ง

สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนอย่างหนัก  ซึ่งนายเซียะ จากธนาคารดีบีเอส ระบุว่า สถานะการเป็นศูนย์กลางการเงินของฮ่องกงกำลังสั่นคลอนอย่างหนัก แม้คณะบริหารเกาะฮ่องกงจะอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจมากกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง เพื่อช่วยเหลือภาคขนส่ง การท่องเที่ยว และค้าปลีกแล้วก็ตาม

ที่มา : BBC

Avatar photo