General

‘บาห์เรน-เยอรมนี’ ลงนามสนธิสัญญา ‘ไมตรี-ความร่วมมือ’ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของบาห์เรน-เยอรมนี ร่วมลงนามสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มพูนปฏิสัมพันธ์ระหว่างบาห์เรนกับอาเซียนในมิติต่าง ๆ ให้มีพัฒนาการมากยิ่งขึ้น

don

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย พร้อมด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียยน ร่วมลงนามสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับ เชคคาหลิด บิน อาเหม็ด บิน โมฮัมเหม็ด อัล คอลิฟะห์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศบาห์เรน และทูตเยอรมนีประจำอาเซียน ในฐานะผู้แทนรัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี

f409f3f03982b9b445a4a6a0404542b1

a1de69aaeb55f7bf46e7a5e6412470d6

การเข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกิดขึ้นเพื่อให้บาห์เรน และเยอรมนี มีปฏิสัมพันธืกับอาเซียนในมิติต่าง ๆ ให้มีพัฒนาการมากยิ่งขึ้น ซึ่งบาห์เรน ถือเป็นผู้นำในการหารือทางยุทธศาสตร์และส่งเสริมความมือระหว่างอาเซียนกับกลุ่มประเทศคณะมนตรีความร่วมมือแห่งอ่าวอาหรับ หรือ Gulf Cooperation Council (GCC)

6e3bb2dd7c7defb91a2022fa10b6c4ca

นายดอน กล่าวว่า สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นกลไกพื้นฐานสร้างสันติภาพ ความมั่นคง และความมั่นคั่งในภูมิภาค ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่สำคัญ ตั้งแต่เริ่มบังคับใช้ในปี 2519 ซึ่งบาห์เรนในฐานะที่เป็นสมาชิก GCC มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์ของสองภูมิภาค

1a

1058abae0dc372f4432cbea7fa123512 1

สนธิสัญญาไมตรี และความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ แท็ค จัดทำขึ้นโดยประเทศสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ทำหน้าที่กำหนดหลักการในการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาค 5 ประการ ได้แก่ การเคารพในอำนาจอธิปไตย ความเสมอภาคและบูรณภาพแห่งดินแดน การไม่แทรกแซงกิจการภายใน การแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี การไม่ใช้หรือขู่ว่าจะใช้กำลัง และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน รวมทั้งมีมาตรเกี่ยวกับแนวทางการยุติข้อพิพาทโดยสันติวิธีโดยอาศัยกลไกคณะอัครมนตรี เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจในภูมิภาค

Avatar photo