Digital Economy

รวมสถิติออนไลน์เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ “ปฏิบัติการพาหมูป่ากลับบ้าน”

36975132 1647692418687484 6113498745964331008 n
ขอบคุณภาพจากเพจ Thai Navy SEAL

จบลงแล้วอย่างน่าประทับใจสำหรับการระดมกำลังเพื่อช่วยเหลือทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิตออกจากถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงรายของคณะทำงานทั้งไทยและต่างประเทศ โดยในเหตุการณ์ครั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่างทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊กนั้นมีอิทธิพลอย่างมากในการระดมสรรพกำลังจากทั่วโลกจนมารวมตัวกัน นอกจากนั้นยังเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข่าวสารด้วย

ด้วยเหตุนี้ ทีมงาน The Bangkok Insight จึงมีสถิติน่าสนใจจากบริษัท Thoth Zocial OBVOC มาฝากกัน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวพบว่า ในระยะเวลาระหว่าง 20 มิถุนายน – 11 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดของการปฏิบัติการนั้น มีข้อความที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการดังกล่าวทั้งสิ้น 833,012 ข้อความ หรือคิดเป็นข้อความเกี่ยวกับการช่วยเหลือต่อวันที่ 37,864 ครั้ง

สำหรับการมีส่วนร่วม หรือ Engagement บนข้อความเหล่านั้นพบว่ามีมากถึง 238,309,331 Engagement หรือเฉลี่ยต่อวันที่ 10,832,242 Engagement

โดยช่องทางที่พบว่ามีการสื่อสารมากที่สุด 4 อันดับแรกได้แก่

  1. ทวิตเตอร์ 420,700 ข้อความ Engagement : 45,890,8618 ครั้ง
  2. เฟซบุ๊ก 254,010 ข้อความ Engagement : 154,976,981 ครั้ง (เฟซบุ๊กเป็นช่องทางที่ได้รับ Engagement สูงที่สุด)
  3. อินสตาแกรม 114,487 ข้อความ Engagement : 34,837,797 ครั้ง
  4. ยูทูบ 27,293 ข้อความ Engagement : 2,563,744 ครั้ง (ไม่รวมยอด View)

4 ช่วงเวลาที่คนออนไลน์ติดตามหมูป่าสูงสุด

ไม่เฉพาะตัวเลข Engagement ที่สูงเป็นประวัติการณ์แล้ว จากการพิจารณาไทม์ไลน์ของเหตุการณ์ ยังพบว่ามี 4 ช่วงเวลาที่คนบนโลกออนไลน์ให้การติดตามเหตุการณ์ของทีมหมูป่าสูงที่สุดด้วย โดย 4 เหตุการณ์ดังกล่าวได้แก่

  1. วันที่ 25-27 มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงแรกที่มีการค้นหาเด็กๆ และเป็นช่วงวันที่มีการวางแผนและขอความร่วมมือจากฝ่ายต่างๆ ในการวางแผนเข้าถ้ำหลวงเพื่อช่วยทั้ง 13 ชีวิต เป็นช่วงแรกที่นักดำน้ำต่างประเทศเข้ามาช่วย จึงทำให้ในโลกออนไลน์มีการให้กำลังใจ ทั้งเจ้าหน้าที่ หน่วยซีล, นักดำน้ำต่างประเทศ, และผู้ว่าราชการจังหวัดฯ รวมถึงทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิต คิดเป็นข้อความทั้งสิ้น 158,527 ข้อความ และ Engagement : 53,723,779 ครั้ง
  2. วันที่ 2 – 3 กรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงที่พบเด็กและโค้ช โดยประเภทของข้อความนั้น ในวันที่ 2 กรกฎาคมส่วนใหญ่มาจากสำนักข่าวต่างๆ ที่มีการนำเสนอข่าวว่าทีมหมูป่าแล้ว ซึ่งการนำเสนอข้อมูลมีสูงมากในช่วงเวลาประมาณ 22:30 น. ส่วนในวันที่ 3 นั้นเป็นการโพสข้อความ จากบุคคลทั่วไป ทั้งในทวิตเตอร์ และการแสดงความคิดเห็นในเพจข่าว เพื่อแสดงความดีใจและโล่งใจ ที่พบทั้ง 13 ชีวิตและยังคงปลอดภัย ตามมาด้วย hashtag #13ชีวิตรอดแล้ว (ช่วงนี้เป็นช่วงที่คนสนใจมากที่สุด) คิดเป็นข้อความทั้งสิ้น 192,831 ข้อความ และ Engagement : 51,162,217 ครั้ง
  3. วันที่ 8 กรกฎาคม ช่วงที่ปฏิบัติการพาทีมหมูป่าออกจากถ้ำได้สำเร็จ (ชุดแรก) ซึ่งในวันนี้พบว่าหลายสำนักข่าวมีการ Live หน้าโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และเป็นช่วงที่ Voiceและ Engagement drop ลงมาก โดยมีข้อความเกิดขึ้นในวันนี้ทั้งสิ้น 62,718 ข้อความ และสร้าง Engagement : 14,510,179 ครั้ง
  4. วันที่ 10 กรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ทั้ง 13 ชีวิตออกมาจากถ้ำครบ โดยในวันนี้เป็นวันที่โลกออนไลน์มีการโพสต์ขอบคุณเจ้าหน้าที่ นักดำนำ ทั้งไทยและต่างประเทศ ที่ร่วมมือกันทำภารกิจจนสำเร็จ พร้อมไว้อาลัยและขอบคุณ จ่าแซม นายทหารหน่วยซีลที่เสียชีวิตขณะปฎิบัติหน้าที่ พร้อมติด #วีรบุรุษถ้ำหลวง และในการลำเลียงน้ำทั้ง13 ชีวิต ออกมานั้น โค้ชเอก เป็นคนสุดท้ายที่ได้ออกมา จึงทำให้บนโลกออนไล ชื่นชมและให้กำลังใจโค้ชเอกเป็นจำนวนมาก จำนวนข้อความในวันนี้เท่ากับ 62,233 ข้อความ เกิด Engagement : 15,379,983 ครั้ง
Untitled
กราฟสถิติจาก Thoth Zocial OBVOC

เปิดแฮชแท็กท็อปเทน “ปฏิบัติการช่วยทีมหมูป่า”

แน่นอนว่าเมื่อเป็นโลกโซเชียล การติดแฮชแท็กเป็นอีกหนึ่งข้อมูลที่น่าติดตาม โดย Thoth Zocial OBVOC พบว่า แฮชแท็กที่มีการใช้งานมากที่สุดในปฏิบัติการครั้งนี้ได้แก่

#ถ้ำหลวง : 320,654 ข้อความ
#ทีมหมูป่า : 76,445 ข้อความ
#13ชีวิตต้องรอด : 53,089 ข้อความ
#พาทีมหมูป่ากลับบ้าน : 34,564 ข้อความ
#13ชีวิตรอดแล้ว : 30,123 ข้อความ
#ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน : 18,916 ข้อความ
#thamluang : 16,665 ข้อความ
#thaicaverescue : 14,956 ข้อความ
#ส่งใจไปถ้ำหลวง : 14,104 ข้อความ

นอกจากนี้ จากการที่ทีมงานได้มอนิเตอร์สื่อยักษ์ใหญ่ต่างชาติ เมื่อช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้น พบว่ามีอย่างน้อย 12 สำนักข่าวยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่นำเสนอข่าวของปฏิบัติการพาหมูป่ากลับบ้านอยู่ในหน้าแรกของเว็บไซต์  ประกอบด้วย รอยเตอร์, บีบีซี, เดอะ การ์เดียน, นิวยอร์กไทม์, ลอสแองเจลิสไทม์, อินดิเพนเดนท์, อัลจาซีรา, เอเชียไทม์, วอชิงตันโพสต์, ไทม์, ไทม์ ออฟ อิสราเอล และซีเอ็นเอ็น

asiatimes
เว็บไซต์ เอเชียไทม์

 

aljazeera
เว็บไซต์อัลจาซีรา

 

bbc 1
เว็บไซต์บีบีซี
cnn 1
เว็บไซต์ซีเอ็นเอ็น
independent
เว็บไซต์ดิอินดิเพนเดนท์
latimes
เว็บไซต์ลอสแองเจลลิสไทม์
nytimes
เว็บไซต์นิวยอร์กไทม์
reuters
เว็บไซต์รอยเตอร์
theguardian
เว็บไซต์เดอะการ์เดียน
time of israel
เว็บไซต์ไทม์ออฟอิสราเอล
times
เว็บไซต์ไทม์
washingonpost
เว็บไซต์วอชิงตันโพสต์

Avatar photo