General

ผ่าแผนพัฒนาพื้นที่รอบ ‘สถานีศาลายา-ธรรมศาสตร์’ รับรถไฟฟ้า ‘สายสีแดง’

วิศวะมหิดล ร่วมกับ สวทช. และ ม.ธรรมศาสตร์ เจาะลึกเปิดแผนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ในเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) ตลิ่งชัน-ศาลายาและ รังสิต-ธรรมศาสตร์ มูลค่า 16,772 ล้านบาท พร้อมศึกษาแนวทางการพัฒนาพื้นที่และการเชื่อมต่อระบบคมนาคม พัฒนาเมืองเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและรองรับการขยายตัวของชุมชนเมืองเพื่อรองรับรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2566

โครงการในพื้นที่

ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า การพัฒนาโครงการคมนาคมด้านระบบรางในประเทศไทย ทำให้เกิดความต้องการผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรด้านระบบขนส่งทางรางเพิ่มอีกกว่า 20,000 คน ในระยะเวลา 4 ปี ข้างหน้า เมื่อระบบรถไฟรางคู่ รถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จ

นอกจากส่วนต่อขยายสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน – ศาลายาแล้ว ในอนาคตยังมีอีก 5 โครงการคมนาคมขนส่งด้วย ได้แก่ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ถนนวงแหวนรอบที่ 3 , โครงการรถไฟความเร็วสูง ลงสู่ภาคใต้ , โครงการนำร่อง คลองมหาสวัสดิ์ เชื่อม-ล้อ-ราง-เรือ ,โครงการต่อขยายถนนยกระดับบรมราชชนนี , โครงการถนนนครอินทร์ – ศาลายา เป็นต้น

ทั้งนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้วิจัยศึกษาการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีศาลายาและสถานีธรรมศาสตร์ หรือ Transit Oriented Development (TOD) โดยศึกษาถึงรูปแบบการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ เส้นทางการสัญจร ทั้งการเดินเท้า การเดินทางโดยใช้เครื่องยนต์และไม่ใช้เครื่องยนต์ มุ่งให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน ในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ยั่งยืน สอดคล้องกับวิถีชีวิตวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ตลอดจนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในบริบทโลก

ปัญหาศาลายา

ขณะเดียวกัน ยังเห็นว่าในอนาคตประเทศไทยควรเร่งผลักดัน พ.ร.บ.การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ให้สามารถออกเป็นกฎหมายได้ใน 1-2 ปีข้างหน้า เพื่อส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มทางรายได้และเสริมศักยภาพการพัฒนาเมืองในประเทศไทยอีกด้วย

ด้านนายนคร จันทศร ที่ปรึกษาผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า จากมติ ครม.เมือต้นปี 2562 เห็นชอบโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองส่วนต่อขยายสายสีแดง 2 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 16,772.58 ล้านบาท ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะเติมเต็มโครงข่ายของสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยจะเปิดให้บริการภายในเดือน ม.ค. 2564 ทำให้การเดินทางเชื่อมต่อในกลางกรุงเทพฯกับชานเมืองด้านทิศเหนือ ไปยังพื้นที่ จ.ปทุมธานี และตะวันตกไปยัง จ.นครปฐม สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมีสถานีกลางบางซื่อเป็นจุดเชื่อมต่อ

ศาลายา

ส่วนต่อขยายแยกเป็น สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท ประกอบด้วยการสร้างสถานีเพิ่ม 4 สถานี ได้แก่ สถานีฉิมพลี สถานีกาญจนาภิเษก สถานีศาลาธรรมสพน์ และสถานีศาลายา ส่วนสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท มีการก่อสร้างสถานีเพิ่ม 4 สถานี ได้แก่สถานีคลองหนึ่ง สถานีเชียงราก น้อย สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่สร้างเพิ่มใหม่ และสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ขณะที่ ผศ.ดร.วศพร เตชะพีรพานิช รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ผลการศึกษาและวิจัยพื้นที่รอบสถานีศาลายาเพื่อรองรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง พบว่า ในอนาคตตำบลศาลายามีแนวโน้มที่จะมีประชากรและผู้สัญจรเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกันด้านคมนาคม และการบูรณาการพื้นที่ให้เป็นประโยชน์

ระยะ2

การศึกษาแบ่งเป็น 3 โครงการ คือ โครงการที่ 1 การศึกษาแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน โดยศึกษาข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อมูลประชากรและพื้นที่ การออกแบบพื้นที่ตามเกณฑ์ TOD Standard 4 หมวด คือ การเดิน, จักรยาน, การเชื่อมต่อ และระบบขนส่งรอบสถานีขนส่งมวลชน โครงการที่ 2 แนวทางการพัฒนาการเดินทางในพื้นที่ชานเมืองโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะ และโครงการที่ 3 การศึกษาแนวทางการพัฒนาเส้นทางสัญจรปราศจากสิ่งกีดขวางสู่ระบบรางของชุมชน

รศ.ดร.ภาวิณี เอี่ยมตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการขนส่งเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การหาแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชนระบบรางในบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จึงได้มีการกำหนดกรอบของการดำเนินโครงการทั้งหมด 5 โครงการ ได้แก่ โครงการที่ 1 กรอบการวิเคราะห์นโยบายและการวางแผนการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนระบบรางที่เอื้อต่อการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

Untitled4

 

 

โครงการที่ 2 การวางแผนและออกแบบโครงข่ายคมนาคมขนส่งระบบรองและสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างที่ส่งเสริมการเชื่อมต่อการใช้ระบบขนส่งมวลชนระบบรางของคนทุกกลุ่ม โครงการที่ 3 กลยุทธ์การวางแผนเมืองและออกแบบสิ่งแวดล้อม เพื่อเอื้อต่อการพัฒนาบริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนระบบราง โครงการที่ 4 แนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีเพื่อสร้างความเป็นย่านศูนย์กลางธุรกิจและการค้าแห่งศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน และโครงการที่ 5 แนวทางการออกแบบวางผังที่อยู่อาศัยและพื้นที่สาธารณะบริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนระบบรางทีเอต่อการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ กรณีศึกษาพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

Avatar photo