PR News

ซีพีเอฟได้คะแนนสูงสุด ‘สิทธิมนุษยชน-บริหารห่วงโซ่อุปทานยั่งยืน’ ดัชนี SSI

บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ได้รับคะแนนสูงสุดในหมวดสิทธิมนุษยชน และการบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน และมีผลคะแนนรวมด้านความยั่งยืนเป็นอันดับ 3 จาก 30 บริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมอาหารทะเลทั่วโลก จากดัชนี Seafood Stewardship Index (SSI)

1571907482004

ดัชนี SSI จัดขึ้นโดยองค์กร World Benchmark Alliance (WBA) ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึง The United Nations Foundation มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยอาศัยตัวชี้วัดอ้างอิงจากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals) ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารทะเล ซึ่งซีพีเอฟ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประเมินในปีที่ผ่านมา และนับเป็นปีแรกของ WBA ที่มีการประเมิน SSI ดังกล่าว

รายงานการประเมิน SSI ชี้ว่า ซีพีเอฟ มีความโดดเด่นด้านความโปร่งใส มีนโยบายและการรายงานประเด็นด้านความยั่งยืน ที่มีเป้าหมายชัดเจน ครอบคลุมหลากหลายมิติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

sujin
น.สพ. สุจินต์ ธรรมศาสตร์

น.สพ. สุจินต์ ธรรมศาสตร์ ประธานคณะผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการซีพีเอฟ กล่าวว่า การถูกจัดอันดับให้เป็นผู้นำของอุตสาหกรรมในด้านสิทธิมนุษยชน และการบริหารห่วงโซ่อุปทาน สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการผลิตอาหารที่มีคุณภาพดี จากแหล่งวัตถุดิบ และขั้นตอนการผลิตที่ยั่งยืน และปลอดแรงงานทาสตลอดห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ บริษัทยังกำหนดนโยบายด้านความยั่งยืนต่างๆ ขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานของบริษัททั่วโลก เป็นไปในมาตรฐาน และทิศทางเดียวกัน เช่น นโยบายสิทธิมนุษยชน นโยบายการจ้างงาน และการบริหารแรงงาน นโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืน และแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจ รวมถึงการออกแถลงการต่อต้านการใช้แรงงานทาส และการค้ามนุษย์ เพื่อแจ้งผลการดำเนินงานด้านการดูแลแรงงาน ทั้งในกิจการของบริษัท และในห่วงโซ่อุปทาน ให้สาธารณชน และผู้มีส่วนได้เสียรายอื่นๆของบริษัททราบ

1571907487583

ซีพีเอฟได้รับการประเมินเป็นอันดับหนึ่งของอุตสาหกรรมอาหารทะเลในด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน เป็นผลจากการพัฒนาการดำเนินงานที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ การจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังได้คะแนนสูงสุดด้านสิทธิมนุษยชน และสภาพการทำงาน ซึ่งรายงาน SSI ระบุว่าบริษัทได้เปิดโอกาสให้แรงงานทั้งไทย และต่างชาติร้องเรียน และปรึกษาปัญหา ผ่านสายด่วน Labour Voices ซึ่งให้บริการทั้งภาษาไทย พม่า และกัมพูชา
น.สพ. สุจินต์กล่าวต่อไปว่า ปลาป่นทั้งหมดที่บริษัทใช้ในประเทศไทยได้รับการรับรองมาตรฐาน IFFO RS ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ถึงความโปร่งใส ตรวจสอบได้ของแหล่งที่มาปลาป่น ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ว่าอาหารของซีพีเอฟ มาจากแหล่งวัตถุดิบที่ยั่งยืน และปลอดแรงงานทาส

ทั้งนี้ บริษัทได้ต่อยอดความสำเร็จจากประเทศไทย ไปยังกิจการสัตว์น้ำในต่างประเทศ เช่น เวียดนาม อินเดีย และฟิลิปปินส์ รวมถึงทำงานร่วมกับคณะพัฒนาระบบการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงไทย (TSFR) ผ่านสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ในการร่วมมือกับ IFFO RS เพื่อพัฒนาหลักเกณฑ์การประเมินการบริหารจัดการประมงที่เหมาะสมกับลักษณะการประมงในภูมิภาค

1571907494253

“ถึงแม้ซีพีเอฟจะไม่ได้ทำธุรกิจเรือประมง แต่บริษัทซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตกุ้งรายใหญ่ของโลก มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมประมงให้เกิดความยั่งยืน ลดผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเล ต่อต้านการประมงที่ผิดกฎหมาย และป้องกันปัญหาแรงงานทาส แรงงานบังคับ อย่างยั่งยืน”

การดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืน ซีพีเอฟจึงได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกกลุ่มดัชนีความยั่งยืนของดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices) ประเภทตลาดเกิดใหม่ประจำปี 2562 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน รวมถึงดัชนี FTSE 4 Good Emerging Index เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน

Avatar photo