General

โพลชี้คนกังวล ‘ขัดแย้งการเมือง’ ทำเศรษฐกิจแย่ กลัวซ้ำรอยอดีต

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่หลังการเลือกตั้ง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 – 25 ตุลาคม 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,253 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่หลังการเลือกตั้ง

456

ความคาดหวังของประชาชนต่อความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยหลังการเลือกตั้ง

  • ร้อยละ 35.44 ระบุว่า ความขัดแย้งทางการเมืองจะเพิ่มขึ้น
  • ร้อยละ 31.36 ระบุว่า ความขัดแย้งทางการเมืองจะเท่าเดิม
  • ร้อยละ 23.94 ระบุว่า ความขัดแย้งทางการเมืองจะลดลง
  • ร้อยละ 7.18 ระบุว่า จะไม่มีความขัดแย้งทางการเมืองอีกแล้ว
  • ร้อยละ 2.08 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ความคิดเห็นของประชาชนต่อความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยหลังการเลือกตั้งที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน

  • ร้อยละ 44.85 ระบุว่า ความขัดแย้งทางการเมืองเพิ่มขึ้น
  • ร้อยละ 36.71 ระบุว่า ความขัดแย้งทางการเมืองเท่าเดิม
  • ร้อยละ 14.53 ระบุว่า ความขัดแย้งทางการเมืองลดลง
  • ร้อยละ 3.35 ระบุว่า ไม่มีความขัดแย้งทางการเมืองอีกแล้ว
  • ร้อยละ 0.56 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

123 4

สาเหตุของความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่หลังการเลือกตั้งที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ในความคิดของผู้ที่ตอบว่า มีความขัดแย้งทางการเมือง เพิ่มขึ้น เท่าเดิม และลดลง

  • ร้อยละ 48.34 ระบุว่า การแย่งชิงอำนาจทางการเมือง
  • ร้อยละ 42.19 ระบุว่า ผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัว
  • ร้อยละ 32.64 ระบุว่า อุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน
  • ร้อยละ 14.04 ระบุว่า ความเป็นฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล
  • ร้อยละ 12.87 ระบุว่า ความขัดแย้งส่วนบุคคล
  • ร้อยละ 7.23 ระบุว่า ความต้องการปกป้องเกียรติยศและศักดิ์ศรีของฝ่ายตนเอง
  • ร้อยละ 1.74 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่หลังการเลือกตั้งที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ของผู้ที่ตอบมีความขัดแย้งทางการเมือง เพิ่มขึ้น เท่าเดิม และลดลง

  • ร้อยละ 21.43 ระบุว่า มีความกังวลมาก เพราะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนแย่ลงกว่าเดิม นักลงทุนต่างชาติก็ไม่กล้าเข้ามาลงทุน ขณะที่บางส่วนระบุว่า กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบในอดีตที่ผ่านมา
  • ร้อยละ 33.14 ระบุว่า ค่อนข้างมีความกังวล เพราะกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน และกลัวว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะแย่กว่านี้
  • ร้อยละ 20.51 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความกังวล เพราะ เป็นเรื่องของการเมืองไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง รัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ไม่น่ามีความรุนแรง ขณะที่บางส่วนระบุว่า รู้สึกเฉย ๆ ไม่ได้สนใจอะไรกับเรื่องนี้
  • ร้อยละ 24.09 ระบุว่า ไม่มีความกังวลเลย เพราะความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่ก่อน และหลังการเลือกตั้งยังเหมือนเดิมไม่ถึงขั้นรุนแรงหรือน่ากังวล และเชื่อมั่นในรัฐบาลว่าจะสามารถควบคุมทุกอย่างได้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า มองเป็นเรื่องปกติของการเมือง และรู้สึกเฉย ๆ ไม่ได้สนใจอะไรกับเรื่องนี้
  • ร้อยละ 0.83 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

Avatar photo