Wellness

อย่าเดินเท้าเปล่า ! ‘โรคพยาธิไชผิว’ ถามหา

สถาบันโรคผิวหนัง เตือนโรคพยาธิไชผิว พบบ่อยในผู้ที่เดินเท้าเปล่า หรือเด็กที่นั่งเล่นบนพื้นดิน แนะสวมรองเท้าเวลาเดินเสมอ หลีกเลี่ยงการนั่ง หรือสัมผัสบนดินทราย ที่อาจปนเปื้อนมูลสัตว์ 

นยบ ตัด 2

นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า  “โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง” เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากพยาธิตัวกลมระยะตัวอ่อนที่ชอนไชเข้าสู่ผิวหนัง โดยมักเกิดจากพยาธิปากขอ ที่พบในสัตว์หลายชนิด ที่พบบ่อยที่สุดคือ จากแมว สุนัข วัว ควาย และพยาธิเส้นด้ายของสัตว์

สำหรับตัวจิ๊ดการเคลื่อนที่ตัวอ่อนของพยาธิ จะอยู่ในผิวหนังชั้นลึกกว่า จึงทำให้เกิดอาการบวมแดง อักเสบ และปวด ย้ายที่ไปมา ต่างกับกลุ่มพยาธิปากขอ เนื่องจากไม่ใช่ที่อยู่ของพยาธิเหล่านี้ ทำให้พยาธิไม่สามารถเติบโตเป็นตัวแก่ในคนได้ จึงไชอยู่ในผิวหนัง จนตายไปเอง หรือภูมิต้านทานของร่างกายมาจัดการหรือจากการรักษา

flip flop 2274146 640

ทางด้านพญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า พยาธิตัวอ่อนในระยะติดต่อพบในดินที่ชื้น แฉะที่ปนเปื้อนมูลสัตว์ และจะไชเข้าสู่ผิวหนังปกติ หรือผิวที่มีแผล ในคนที่เดินเท้าเปล่า หรือเด็กที่นั่งเล่นบนพื้นดิน และทรายบริเวณชายหาด

สำหรับอาการของผู้ที่ถูกพยาธิไชผิว คือ ผื่นบริเวณมือ เท้าหรือก้นที่สัมผัสกับดินทรายโดยตรง เห็นเป็นเส้นนูน แดง หรือตุ่มน้ำใส ขนาดประมาณ 3 มม. และอาจยาวถึง 20 ซม. คดเคี้ยวไปมาตามการไชของพยาธิ ซึ่งจะเคลื่อนที่ได้วันละ 2-3 มิลลิเมตร ถึงหลายเซนติเมตร มีอาการคันมาก อาการทางผิวหนังมักจะเกิดใน 1-5 วันหลังสัมผัส และคงอยู่ได้นาน 2-14 สัปดาห์ หรือนานเป็นปี อาการอื่นๆ ที่อาจพบในผู้ป่วยบางราย เช่น อาการทางปอด เช่น ไอ หรือ ผื่นลมพิษ

ทางด้านของการรักษาใช้ยาฆ่าพยาธิ ชนิด albendazole 400 มิลลิกรัมต่อวัน นาน 3 วัน หรือ ivermectin รับประทานครั้งเดียว เป็นการรักษาที่ได้ผลดี เนื่องจากในประเทศไทย พบอัตราการเป็นโรคพยาธิปากขอสูงในแมวและสุนัข จึงมีโอกาสที่พยาธิปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมมาก

การป้องกันที่ดีที่สุดคือ ไม่ให้พยาธิไชเข้าร่างกาย จะต้องสวมรองเท้าเวลาเดินเสมอ และหลีกเลี่ยงการนั่งหรือสัมผัสบนดินทราย ที่อาจปนเปื้อนมูลสัตว์ และควรถ่ายพยาธิให้แมว และสุนัข เพื่อไม่ให้มีการแพร่ปรสิตสู่ดิน

725277ตัด

Avatar photo